หลังจากประเทศไทยผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศมากขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยยกเลิกระบบ Test&Go ให้ผู้ที่มีประวัติฉีดวัคซีนโควิด 19 และประกันสุขภาพสามารถเข้าประเทศได้ โดยตรวจ ATK ด้วยตนเองและรายงานผลผ่านคิวอาร์โคดใน Thailand Pass แต่หากไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน ต้องมีผลตรวจ RT-PCR เป็นลบถายใน 72 ชั่วโมงหรือหากไม่มีผลตรวจ RT-PCR ต้องเข้ารับการกักตัว 5 วัน ซึ่งผ่านมา 2 วัน พบว่าสถานการณ์เป็นไปด้วยดี ได้รับข้อมูลจาก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ว่าขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้าประเทศไทยผ่าน Thailand Pass และทยอยเข้าประเทศจำนวนมาก เมื่อมาถึงแล้วสามารถเดินทางออกจากสนามบินได้โดยไม่มีข้อติดขัดใดๆ [2 พ.ค. 2565]
ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของประเทศไทยเริ่มคลี่คลายมากขึ้น กทม. เป็นจังหวัดหนึ่งที่สถานการณ์ดีขึ้นเช่นกัน ผู้ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาที่บ้าน (Home Isolation) และแบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” ขณะที่การฉีดวัคซีนมีความครอบคลุมสูง คือ เข็ม 1 และเข็ม 2 ได้เกิน 100% ส่วนเข็มกระตุ้นหรือเข็ม 3 มีความครอบคลุมมากกว่า 60% สามารถเดินหน้าเข้าสู่การเป็นจังหวัดที่บริหารจัดการโรคโควิด 19 แบบโรคประจำถิ่น (Endemic Sandbox) ได้แนะนำให้มุ่งเน้นการจัดการในพื้นที่สำคัญ เช่น สวนสาธารณะ ที่มีคนจำนวนมาก กิจการที่มีความเสี่ยง เช่น ผับ บาร์ รวมถึงขนส่งสาธารณะต่าง ๆ โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับการผ่อนคลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ประชาชนค่อยๆ ปรับตัว และการเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น [2 พ.ค. 2565]
สถานการณ์การติดเชื้อ ป่วยหนักและเสียชีวิต ยังเป็นไปตามคาดการณ์ ส่วนผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจจะลดลงตามผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยปอดอักเสบหรือไม่ ยังต้องติดตามอีก 2-4 สัปดาห์ ขณะนี้จึงยังคงแจ้งเตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ ขอให้หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มและสถานที่เสี่ยง เพราะบางจังหวัดยังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคอีสานส่วน 40 กว่าจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยลดลง และมีแนวโน้มคงตัว ได้ให้จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมพร้อมเข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่น เพื่อมั่นใจว่าหากมีเชื้อกลายพันธุ์ที่ระบาดง่ายรุนแรงมากขึ้นจะสามารถรับมือได้ โดยต้องมีวัคซีนและแพทย์เพียงพอให้การดูแลรักษาป้องกันได้ตามมาตรฐาน [2 พ.ค. 2565]
"เดือน พ.ค. นี่เราคงได้พักรบกับโควิดชั่วคราว แม้ว่าเราไม่รู้ว่าสถานการณ์ติดเชื้อจริงของประเทศเป็นอย่างไรเพราะติด ceiling อยู่ แต่เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน การติดในประเทศเรา (เชื้อ BA.1 ควบ BA.2) ก็น่าจะเป็นขาลงเช่นเดียวกัน จนกว่าเชื้อกลายพันธุ์ใหม่ เช่น BA.4, BA.5 หรือ BA.2.12.1 มา" [1 พ.ค. 2565]
"บางประเทศเช่นสเปน ที่ให้ประชาชนถอดหน้ากากในอาคารได้ พบว่ามีผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น ใส่ไว้ก่อนดีกว่านะครับ ในอาคาร ในที่คนเยอะ ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ขายของกิน อาหารและเครื่องดื่ม ยังสามารถมีโอกาสกระจายเชื้อติดเชื้อได้มากครับ" [2 พ.ค. 2565]
"ประเทศอื่นคือแจก atk ฟรี แทบจะกราบให้ ปชช. ช่วยตรวจบ่อย ๆ ส่วน atk ฟรีของไทย ปชช. แทบจะต้องกราบว่ากุมีความเสี่ยง ให้ atk กุเถอะ แล้วต้องเดินทางไปรับเองด้วยนะ คนไหนบ้านไกลก็เรื่องของมึง (แล้วมีอาการไปรับ atk จะแพร่เชื้อให้คนอื่นระหว่างทางก็เรื่องของมึงเหมือนกัน)" [2 พ.ค. 2565]
"ลาวเปิดประเทศ 1 พ.ค. 2565 ฉีดวัคซีนครบโดส ตรวจโควิดผลเป็นลบ ไปเที่ยวได้เลย โดยไม่ต้องกักตัว" [28 เม.ย. 2565]
เผยทำมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 คาดกระจายทั่วประเทศแล้ว
พ่อแม่ผู้ปกครองที่ยังลังเลใจ ลองดูข้อมูลประกอบการพิจารณา
หากติดเชื้อโควิดขึ้นมา ทำไมผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ถึงมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป
ส่วนเข็มกระตุ้น อธิบายแล้วต้องฉีดยังไงบ้าง
ไฟเซอร์ (Pfizer) วัคซีนโควิดชนิด mRNA ที่หลายคนรอมานาน พอได้ฉีดแล้วต้องระวังผลข้างเคียงอะไรบ้าง มาดูกัน
ได้ไปเลยคนละ 2 ชุด
เพราะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้รวดเร็วใน 3 สัปดาห์
วิธีการจองทำอย่างไรบ้างดูเลย