1. ไวรัสโคโรนา คืออะไร
จนกระทั่งในปลายปี 2019 ก็เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้พบว่าเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบการระบาดมาก่อน จึงมีการเรียกชื่อไวรัสตัวนี้ว่า ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยภายหลังก็ได้มีการเรียกชื่อไวรัสตัวนี้ใหม่อย่างเป็นทางการ ว่า SARS-CoV-2 หรือ 2019-nCoV และทาง WHO ก็ได้ประกาศชื่อโรคอย่างเป็นทางการ ว่า COVID-19 ซึ่งย่อมาจาก CO : Corona, VI : Virus, D : Disease และ 19 ซึ่งก็คือปี 2019 ปีที่เริ่มต้นระบาดนั่นเอง
2. COVID-19 ต่างจาก โรคซาร์ส และโรคเมอร์ส อย่างไร
จริง ๆ แล้ว ทั้ง 3 โรคเกิดจากไวรัสโคโรนาเหมือนกัน อาการจึงจะเกิดในระบบทางเดินหายใจคล้าย ๆ กัน แต่ถึงแม้จะเป็นไวรัสตัวเดียวกัน ทว่าก็เป็นไวรัสคนละสายพันธุ์ ดังนั้น ความรุนแรงของโรคก็จะต่างกัน
โดยความรุนแรงของโรคซาร์สทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 10% โรคเมอร์ส อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 30% ส่วนโรค COVID-19 เป็นโรคใหม่ที่ยังควบคุมไม่ได้ในตอนนี้ จึงยังไม่ทราบข้อมูลความรุนแรงของโรคที่แน่ชัด แต่จากสถิติผู้เสียชีวิตจนถึงเดือนธันวาคม 2020 ก็พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 2-3% โดยประมาณ
3. COVID-19 ระบาดมาจากไหน
4. ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ติดต่อทางไหน แพร่จากคนสู่คนได้อย่างไร
เกิดจากการสูดดมเอาละอองฝอยในอากาศที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป กล่าวคือ หากร่างกายสูดดมเอาละอองฝอยจากการไอ จาม ของผู้ติดเชื้อก็จะสามารถรับเชื้อไวรัสโคโรนาเข้าสู่ร่างกายได้ เช่นเดียวกันกับการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ อุจจาระ หรือไปสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้ออยู่ แล้วเอามือมาจับของกินเข้าปาก ถูหน้า ขยี้ตา ก็อาจจะติดเชื้อไวรัสก่อโรค COVID 19 ได้เหมือนกัน
ทั้งนี้ อัตราการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ พบว่า ผู้ติดเชื้อ 1 ราย สามารถแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้อีก 2-6 ราย โดยเฉลี่ย
5. COVID-19 รับเชื้อแล้วป่วยทันทีเลยไหม
6. COVID-19 อาการเป็นอย่างไร
อาการโคโรนาไวรัสจะคล้าย ๆ กับไข้หวัดทั่วไป โดยจะมีไข้สูง ไอ จาม มีน้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย สูญเสียการได้กลิ่นและรับรสชั่วคราว แต่หากเป็นมากก็อาจมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ท้องเสีย อาเจียน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างอาการปอดอักเสบ (Pneumonia) ซึ่งความรุนแรงของอาการก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย เช่น ความแข็งแรงของภูมิต้านทานโรค จำนวนเชื้อที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย รวมไปถึงระยะเวลาที่ได้รับเชื้อไวรัส
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 อาจทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการชัดเจนเลยก็ได้ ซึ่งในเคสนี้ก็ถือว่าเป็นพาหะของโรค ฉะนั้นหากคนที่เป็นพาหะไปไอ จาม หรือละอองฝอยจากน้ำลายกระเด็นไปติดตามวัตถุต่าง ๆ เช่น ที่จับประตู ปุ่มกดลิฟต์ หรือพื้นผิวอื่น ๆ ที่ง่ายต่อการสัมผัสต่อ ก็อาจส่งเชื้อให้คนอื่น ๆ ได้
7. ติดเชื้อไวรัสโคโรนา จำเป็นต้องมีไข้เสมอไปหรือไม่ ?
8. COVID-19 อันตรายแค่ไหน ป่วยแล้วเสียชีวิตไหม
9. ติดเชื้อแล้วเป็นอันตรายต่อปอดแค่ไหน ?
ส่วนผู้ป่วยที่มีเชื้อลงปอด จะมีประมาณ 20% แต่เมื่อลงปอดไปแล้วจะก่อความรุนแรงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานร่างกายของแต่ละคนด้วย ไม่ใช่ทุกคนที่เชื้อลงปอดแล้วจะมีอาการหนัก โดยจากข้อมูลผู้ป่วยทั่วโลกพบว่า มีผู้ป่วยเพียง 5% เท่านั้นที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรง แพทย์อาจต้องใช้เครื่อง ECMO หรือเครื่องหัวใจ-ปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย มาทำงานแทนหัวใจและปอดของผู้ป่วย เพื่อรักษาชีวิต
10. COVID-19 มียารักษาไหม
11. ผู้ป่วยโรค COVID-19 รักษาหายแล้วจะกลับมาเป็นซ้ำได้ไหม
12. มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 หรือยัง
จากข้อมูลเดือนธันวาคม 2563 มีวัคซีนป้องกันโรคของ 4 บริษัทที่อยู่ในการทดลองขั้นที่ 3 และเริ่มฉีดให้กับประชาชนบางส่วนแล้ว ได้แก่
1. วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ร่วมกับไบออนเทค ประสิทธิภาพประมาณ 95%
มีฐานการผลิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และเยอรมนี เป็นวัคซีนชนิด RNA ซึ่งผลิตจากชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส ถือเป็นวัคซีน RNA ชนิดแรกที่นำมาใช้ป้องกันโควิด 19 ในมนุษย์ โดยต้องฉีด 2 โดส ในระยะเวลาห่างกัน 21 วัน แต่มีข้อจำกัดคือต้องเก็บวัคซีนไว้ในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส
2. วัคซีนของบริษัทโมเดอร์นา ประสิทธิภาพประมาณ 94%
มีฐานการผลิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นวัคซีนชนิด RNA เช่นเดียวกับของไฟเซอร์ โดยต้องเก็บในอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส
3. วัคซีนสปุตนิก ไฟว์ ประสิทธิภาพประมาณ 92%
เป็นวัคซีนของรัสเซีย ซึ่งใช้ไวรัสเป็นพาหะ โดยการทดลองเบื้องต้นพบว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ได้ 92% และต้องฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 21 วัน
4. วัคซีนของบริษัทแอสตรา เซเนกา ประสิทธิภาพประมาณ 70%
เป็นวัคซีนที่บริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) วิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยใช้ไวรัสเป็นพาหะ พบว่ามีประสิทธิภาพป้องกันโรคอยู่ประมาณ 70% แต่มีข้อดีตรงที่สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็น คือ 2-8 องศาเซลเซียส
13. ระยะแพร่ระบาด เฟสต่าง ๆ หมายถึงอะไร
- เฟส 1 คือ พบการติดเชื้อเฉพาะผู้ป่วยที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด แต่ยังไม่พบการติดเชื้อในประเทศไทย
- เฟส 2 คือ พบคนไทยติดเชื้อจากนักท่องเที่ยว หรือติดเชื้อมาจากคนไทยที่เดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น กรณีคนไทยติดเชื้อจากญาติที่เดินทางไปเมืองอู่ฮั่น หรือพนักงานขายของติดเชื้อมาจากนักท่องเที่ยว
- เฟส 3 คือ พบการติดเชื้อระหว่างคนในประเทศด้วยกันเอง แม้จะไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ ถือเป็นช่วงที่ระบาดอย่างรวดเร็ว เช่น สถานการณ์การระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากหญิงชราคนหนึ่ง
1. ยืนใกล้คนติดเชื้อ-เดินสวนกัน เสี่ยงติดเชื้อหรือไม่
2. สั่งซื้อของจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลี จะติดเชื้อไหม
ทั้งนี้ อุณหภูมิที่เชื้อไวรัสโคโรนาจะมีชีวิตอยู่ได้ก็คือ 20-40 องศาเซลเซียส ดังนั้น เมื่อได้รับพัสดุจากไหนก็ตาม ควรฉีดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคทิ้งไว้สักพัก และอย่าลืมล้างมือหลังจับพัสดุทุกครั้ง
3. เชื้อไวรัสโคโรนาสามารถอยู่บนพื้นผิวต่าง ๆ ได้นานแค่ไหน
4. จับธนบัตร-เหรียญมีโอกาสติดเชื้อหรือไม่ ?
5. ว่ายน้ำในสระเดียวกัน จะติด COVID-19 ไหม
ประเด็นนี้ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาจากสระว่ายน้ำ ดังนั้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าสารคลอรีนน่าจะพอฆ่าเชื้อไวรัสได้อยู่บ้าง แต่ทั้งนี้ก็อยากเตือนให้ระมัดระวังไว้ก่อน โดยเฉพาะการว่ายน้ำในที่ที่มีคนแออัด หรือว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้มาตรฐาน
6. ติด COVID-19 ทางเพศสัมพันธ์ได้ไหม
7. สุนัขและแมวแพร่เชื้อได้ไหม
8. ไวรัสโคโรนา สามารถติดต่อผ่านทางอุจจาระได้หรือไม่
9. ไวรัสโคโรนา ทนความร้อนได้นานแค่ไหน
10. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา ได้ไหม
11. ไวรัสโคโรนา กลัวอะไรบ้าง
12. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อมีอะไรบ้าง ?
ตัวอย่างเช่น
- เดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยงที่มีการแพร่ระบาด
- สัมผัสสารคัดหลั่งจากการไอ จาม ของผู้ติดเชื้อ
- ชอบนำมือมาสัมผัสใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นขยี้ตา แคะจมูก แคะหู
- ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- ไม่ล้างมือก่อนหยิบจับอาหารมารับประทาน
- รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
- อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือผู้เข้าข่ายเฝ้าระวัง
- อยู่ในบริเวณที่มีคนจำนวนมาก สถานที่ที่มีคนพลุกพล่านโดยไม่ป้องกันตัวเอง
13. ทำอย่างไรถ้าสงสัยว่าจะติดเชื้อ ?
14. กักตัว 14 วันต้องทำอะไรบ้าง ?
15. ความเสี่ยงของผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีกี่ระดับ
1. ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย ต้องเข้ารับการกักกันโรค และเข้ารับการตรวจหาเชื้อจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2. ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้สังเกตอาการตนเอง หลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชน และสวมหน้ากากอนามัย
3. ไม่มีความเสี่ยง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องกักตัว และไม่ต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ
16. จากกรณีสมุทรสาคร ยังสามารถกินอาหารทะเลได้หรือไม่
17. เดินทางไปเที่ยวจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อได้หรือไม่
18. สูดควันบุหรี่จากคนติดเชื้อโควิด 19 เข้าไป จะติดเชื้อไหม
19. ทำอย่างไรหากไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา
1. วิธีตรวจหาเชื้อ COVID-19 ทำยังไง
2. ไปต่างประเทศกลับมา ต้องตรวจ COVID-19 ไหม
3. ใช้สิทธิประกันสังคม-บัตรทอง ตรวจ COVID-19 ได้ไหม
- ตรวจโคโรนาไวรัส Covid 19 ใช้สิทธิประกันสังคม-บัตรทองได้ไหม ป่วยแล้วรักษาฟรีหรือเปล่า ?
4. ตรวจโควิดฟรี ใครมีสิทธิ์บ้าง
1. เดินทางมาจากเขตติดโรค/พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
2. ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค/พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
3. สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย/ผู้ป่วยยืนยัน
4. เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
5. ตรวจหา COVID-19 ที่โรงพยาบาลไหนได้บ้าง ค่าตรวจเท่าไร
- โรงพยาบาลรามคำแหง ค่าใช้จ่าย 3,000-5,400 บาท
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
- โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
- โรงพยาบาลพญาไท 3 ค่าใช้จ่าย 4,000 บาท
- โรงพยาบาลนครธน ค่าใช้จ่าย 3,740 บาท
- โรงพยาบาลบางโพ ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท
6. ตรวจพบโควิด 19 ต้องทำอย่างไร
ทุกรายต้องได้รับการดูแลในโรงพยาบาลก่อน 2-7 วัน โดยแพทย์จะแบ่งการรักษาออกเป็น 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 : ไม่มีอาการ (พบได้ 20% ของผู้ติดเชื้อ)
ให้สังเกตอาการในโรงพยาบาล 2-7 วัน จากนั้นสังเกตอาการต่อที่หอผู้ป่วยเฉพาะ หรือโรงพยาบาลเฉพาะกิจ เช่น โรงแรมที่เป็นฮอสพิเทล (Hospitel) 14 วันนับจากตรวจพบเชื้อ เมื่อหายแล้วจะสามารถกลับบ้านได้ แต่ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา อยู่ห่างจากคนอื่น 2 เมตร แยกห้องนอน ห้องทำงาน ไม่กินอาหารร่วมกับคนในบ้านจนครบ 1 เดือน
กลุ่มที่ 2 : อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด
แพทย์รักษาตามอาการโดยให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล 2-7 วัน แล้วสังเกตอาการต่อในฮอสพิเทลจนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากมีอาการ เมื่อหายกลับบ้านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่ม 1
กลุ่มที่ 3 : อาการไม่รุนแรง คล้ายไข้หวัด ปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยง
แพทย์จะให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล ติดตามปอด จากนั้นส่งเข้าสังเกตอาการต่อที่ฮอสพิเทล จนครบ 14 วันนับจากมีอาการ เมื่อหายกลับบ้านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ป่วยกลุ่ม 1 และ 2
กลุ่มที่ 4 : ปอดอักเสบไม่รุนแรง (พบผู้ป่วย 12%)
ให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล
กลุ่มที่ 5 : ปอดอักเสบรุนแรง (พบผู้ป่วย 3%)
ให้ยารักษาไวรัสในห้องไอซียู
1. ใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน COVID-19 ได้ไหม
2. ควรเลือกใช้หน้ากากอนามัยแบบไหนดี
กระทรวงสาธารณสุขแนะนำการเลือกใช้หน้ากากอนามัย ดังนี้
คนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วย หรือมีอาการทางเดินหายใจ
สามารถใช้หน้ากากผ้าได้ แม้ประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อจะไม่เทียบเท่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ที่มีลักษณะด้านหนึ่งเป็นสีฟ้า หรือสีเขียว ส่วนอีกด้านเป็นสีขาว เพราะไม่กันชื้น แต่สำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงดี ไม่ได้อยู่ในที่แออัด หรือไม่ได้อยู่ในที่สาธารณะ ชุมชนจริง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย เพียงแต่ต้องซักหน้ากากผ้าเป็นประจำ เว้นแต่กรณีที่ต้องเข้าพื้นที่ชุมชน ก็สามารถใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ได้
คนป่วย คนที่ต้องดูแลผู้ป่วยหรือใกล้ชิดผู้ป่วย
- สำหรับคนป่วย มีอาการไอ มีน้ำมูก ควรใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เพื่อป้องกันเชื้อโรคออกจากตัว หากไอหรือจามขึ้นมา เชื้อก็จะติดอยู่ในหน้ากาก จึงช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดได้
- กรณีที่ต้องดูแลผู้ป่วย หากที่บ้านมีผู้ป่วย ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร แม้เป็นไข้หวัดธรรมดาก็ควรใช้หน้ากากอนามัย
ในส่วนของหน้ากาก N95 ควรสงวนไว้ใช้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่รักษาผู้ป่วย เพื่อป้องกันการฟุ้งของละอองฝอย ซึ่งคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากาก N95 เพราะใส่แล้วอึดอัด หายใจไม่ออก อีกทั้งยังมีราคาแพง
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใส่หน้ากากอนามัยชนิดไหนก็ควรใส่ให้ถูกวิธี และพยายามอย่าจับตรงหน้ากาก เพราะเป็นแหล่งเชื้อโรค
3. หน้ากากอนามัยใช้ซ้ำได้หรือไม่ ควรใส่กี่วันทิ้ง
4. หน้ากากอนามัยทำจากทิชชูป้องกันเชื้อไวรัสได้ไหม ?
5. หน้ากากผ้าป้องกันเชื้อโรคได้ไหม ?
6. หน้ากากอนามัย Non-Medical ป้องกันโควิด 19 ได้ไหม ?
7. ใส่หน้ากากอนามัย แล้วรอยจีบหงายขึ้นจะรับเชื้อโรคจริงไหม ?
8. ใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาได้จริงไหม ?
9. ทำไมต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ 20 วินาทีขึ้นไป ?
10. ล้างมือแล้วไม่เช็ดให้แห้ง เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อหรือไม่ ?
11. การล้างจมูก หรือบ้วนปาก ป้องกันการติดเชื้อได้ไหม ?
12. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่-ปอดอักเสบ ช่วยป้องกัน COVID-19 ได้ไหม ?
13. เครื่องฟอกอากาศป้องกันไวรัสโคโรนาได้ไหม ?
14. ฟ้าทะลายโจรรักษา-ป้องกันการติดเชื้อได้ไหม
15. เก็บเจลแอลกอฮอล์ไว้ในรถได้ไหม ?
ระเหยจนความเข้มข้นลดลง ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้
16. จอดรถตากแดดช่วยฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม ?
17. วิธีป้องกัน COVID-19 ทำยังไงได้บ้าง
นอกจากการใส่หน้ากากอนามัยแล้ว วิธีป้องกัน COVID-19 ก็ควรกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ กินอาหารปรุงสุก รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด หรือหากจำเป็นต้องออกไปข้างนอกที่มีคนพลุกพล่าน ก็ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และพกเจลล้างมือติดตัวเอาไว้ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ ด้วย
หรือหากจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 ก็ไม่ควรเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอ จาม พยายามรักษาระยะห่างที่ประมาณ 2 เมตร
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 25 ธันวาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลจาก
แพทยสภา, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรมควบคุมโรค, กรมควบคุมโรค, กรมควบคุมโรค, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, เฟซบุ๊ก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, เฟซบุ๊ก กรมควบคุมโรค, เฟซบุ๊ก KSecurities, เฟซบุ๊ก Infectious ง่ายนิดเดียว, Thai PBS, Thai PBS, กรมควบคุมโรค, กรมควบคุมโรค, สสส.