ตรวจโควิด 19 ที่ไหนดี ตรวจฟรีทำยังไง ถ้าตรวจเจอต้องทำอะไรต่อ ?

          รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจโควิด 19 ทุกประเด็น ใครควรไปตรวจบ้าง ตรวจที่ไหนดี อาการแบบไหนถึงจะได้ตรวจฟรี ใครยังสงสัยมาอ่าน !
          เดี๋ยวนี้ใครมีอาการไอนิด จามหน่อย ก็รู้สึกจิตตกไปหมดแล้ว เพราะไม่รู้ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาโดยไม่รู้ตัวแล้วหรือเปล่า แต่ถ้าจะให้ไปตรวจโควิด 19 โดยที่อาการยังไม่ชัดเจน แล้วเราเองก็อาจไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง คงต้องเสียเงินฟรีแน่ ๆ ถ้าอย่างนั้นมาทำความเข้าใจให้ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องการตรวจโควิด 19 เพื่อเป็นไกด์ไลน์กันดีกว่า
ใครเข้าข่ายต้องสงสัย ควรไปตรวจโควิด 19 ?

ควรไปตรวจหรือไม่ ลองดูตารางนี้

ตรวจโควิด 19

ตรวจโควิดฟรี มีเกณฑ์แบบนี้

          ผู้ที่สามารถตรวจโควิด 19 ได้ฟรี จะต้องมีอาการป่วย และมีประวัติเสี่ยง ดังนี้

          อาการป่วย

          มีอาการทางเดินหายใจ ข้อใดข้อหนึ่ง ได้แก่
          - ไอ
          - มีน้ำมูก
          - เจ็บคอ
          - หายใจเร็วเหนื่อย หายใจลำบาก
          - จมูกไม่ได้กลิ่น หรือลิ้นไม่รับรส

          ในการแพร่ระบาดเมื่อเดือนเมษายน 2564 ซึ่งเป็นสายพันธุ์อัลฟา พบอาการแสดงเพิ่มเติม คือ มีผื่น ตาแดง และถ่ายเหลว

* ถ้ามีอาการ ให้สังเกตย้อนหลังไป 14 วัน ก่อนวันที่เริ่มป่วย
ว่าเข้าข่าย "ประวัติเสี่ยง" ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่
          ประวัติเสี่ยง
          - เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
          - ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
          - สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยัน
          - เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
          (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์)
*หากไม่มีอาการ และไม่มีประวัติเสี่ยง : ไม่ต้องไปตรวจ
*หากไม่มีอาการ แต่มีประวัติเสี่ยง : ให้กักตัว 14 วัน เพื่อดูอาการ หรือหากอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด หรือเดินทางไปยังจุดที่มีการระบาด ให้ติดตามประกาศจากทางการ ซึ่งอาจจะให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อได้ฟรีด้วย แม้ยังไม่มีอาการ
*หากมีอาการ แต่ไม่มีประวัติเสี่ยง : อาจป่วยด้วยโรคหวัด หรือโรคอื่น ให้รักษาตามอาการ แต่ถ้าผ่านไป 48 ชั่วโมงแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์
*หาก "มีอาการป่วย" และ "มีประวัติเสี่ยง" : เข้าเกณฑ์ตรวจโควิด 19 สามารถเข้าตรวจในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ (บัตรทอง ประกันสังคม ราชการ) ไม่ว่าจะได้ผลบวกหรือผลลบก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ปักหมุดตรวจโควิด 19 ที่ไหนได้บ้าง ?

จุดตรวจ COVID-19 ฟรี

หน่วยบริการตรวจเชิงรุก COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

          สามารถตรวจสอบข้อมูลการลงพื้นที่ในแต่ละวันได้ที่เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วย
   1. บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
   2. ปากกาส่วนตัวเพื่อใช้ลงทะเบียน (เลี่ยงการสัมผัสหรือส่งต่อ)

* หากต้องการเอกสารรับรองผลการตรวจ กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่ ณ หน่วยตรวจ ในวันที่เข้ารับการตรวจ
* สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละจุด ได้ที่ Facebook แฟนเพจ ของสำนักงานเขตพื้นที่ที่ให้บริการ

รถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย พระราชทาน

จะออกตรวจหาโรค COVID-19 ให้พื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อ และมีการแพร่ระบาด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง

สถานพยาบาลที่รับตรวจโควิด 19

  • โรงพยาบาลหลายแห่งเปิดรับคิวตรวจฟรีในแต่ละวัน ซึ่งคิวจะเต็มเร็วมากตั้งแต่ช่วงเช้า แนะนำให้สอบถามจากโรงพยาบาลหรือติดตามข่าวจากเฟซบุ๊กของโรงพยาบาลที่เราสะดวกไปรับการตรวจอีกครั้ง
  • สำหรับผู้ที่ "มีอาการป่วย" และ "มีประวัติเสี่ยง" สามารถตรวจได้ฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ์รักษาพยาบาล แต่หากไม่เข้าเกณฑ์ตรวจฟรีจะต้องเสียค่าตรวจโควิดเอง โดยมีจุดที่รับตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาอยู่หลายโรงพยาบาล อาทิ 
โรงพยาบาลรัฐ
  • สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ค่าใช้จ่ายสำหรับชาวไทย 1,500 บาท ชาวต่างชาติ 2,000 บาท
  • สถาบันบำราศนราดูร ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี ค่าใช้จ่าย ชาวไทยไม่เกิน 2,500 บาท ชาวต่างชาติไม่เกิน 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ค่าใช้จ่าย 2,900 บาท
  • โรงพยาบาลศิริราช ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000-3,000 บาท 
  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000-6,000 บาท (ไม่รวมค่าบริการอื่น ๆ และรับตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง)
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ค่าใช้จ่าย 3,000-6,000 บาท (รับตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง)
  • โรงพยาบาลตำรวจ ค่าใช้จ่าย 2,200 บาท 
โรงพยาบาลเอกชน
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ ค่าใช้จ่าย 4,300-4,800 บาท (รับตรวจเฉพาะผู้ที่มีอาการเท่านั้น)
  • โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru) ตรวจในคลินิก 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่ม 500 บาท
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ ค่าใช้จ่าย 2,500 บาท
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ ค่าใช้จ่าย 2,500 บาท
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (สำหรับคนไทย)
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สระบุรี ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ฉะเชิงเทรา ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่ม 100 บาท
     
  • โรงพยาบาลคามิลเลียน ค่าใช้จ่าย 4,000 บาท (Drive Thru) 
  • โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ค่าใช้จ่าย 1,000 บาท (ตรวจแบบ Rapid Test) หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่ม 500 บาท ตรวจแบบ Drive Thru ราคา 3,000 บาท (ตรวจแบบ rt pcr)
  • โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลนครธน ค่าใช้จ่าย 3,240 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลนวมินทร์ ค่าใช้จ่าย 2,990 บาท
  • โรงพยาบาลนวเวช 3,000 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลนันอา ค่าใช้จ่าย 1,150 บาท (ตรวจแบบ Rapid Test) หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่ม 400 บาท
  • โรงพยาบาลบางปะกอก 9 ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลบางปะกอก-รังสิต 2 ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลบางโพ ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru) ถ้าต้องการพบแพทย์และรับใบรับรองแพทย์ราคาจะอยู่ที่ 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 4,500-5,500 บาท (ตรวจเฉพาะผู้มีอาการเท่านั้น)
     
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล พหลโยธิน ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท 
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล เกษตร ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล โชคชัย 4 ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล รังสิต ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท 
     
  • โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก สาขาอโศก ราคา 2,000 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 1 ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 3 ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท
  • โรงพยาบาลพระราม 9 ค่าใช้จ่าย ชาวไทย 5,650 บาท ชาวต่างชาติ 6,425 บาท (อาจมีค่าใช้จ่ายในการตรวจเพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์)
  • โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ค่าใช้จ่าย 3,800 บาท (Drive Thru)
     
  • โรงพยาบาลรามคำแหง ค่าใช้จ่าย 1,400-5,000 บาท
  • โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ค่าใช้จ่าย 6,500-7,000 บาท (รวมค่าบริการทางการแพทย์)
  • โรงพยาบาลวิภาวดี ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท (Drive Thru) หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่ม 500 บาท
  • โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ค่าใช้จ่าย ชาวไทย 3,000 บาท ชาวต่างชาติ 3,500 บาท ถ้าต้องการใบรับรองแพทย์ มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 650 บาท สำหรับชาวไทย และ 850 บาท สำหรับชาวต่างชาติ
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ ค่าใช้จ่าย 3,500 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru) หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่ม 1,000 บาท
  • โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท (Drive Thru) หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่ม 1,000 บาท
  • โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ ค่าใช้จ่าย 2,900 บาท (Drive Thru)  
  • โรงพยาบาลสุขุมวิท ค่าใช้จ่าย 3,900 บาท ทั้งแบบ Drive Thru และ Walk in
  • โรงพยาบาลอินทรารัตน์ 3,500 บาท (Drive Thru)
     
  • โรงพยาบาลมหาชัย 2 ค่าใช้จ่าย 4,500 บาท (Drive Thru)
  • โรงพยาบาลเอกชัย สมุทรสาคร ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (Drive Thru) หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่ม 150 บาท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ค่าใช้จ่าย 3,800 บาท
  • โรงพยาบาลสิริเวช จันทบุรี ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท (รวมค่าบริการทุกอย่างแล้ว)
  • โรงพยาบาลขอนแก่น ราม ค่าใช้จ่าย 2,000-4,000 บาท (ขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจ)
  • โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี อุบลราชธานี ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาท
  • โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี ค่าใช้จ่าย 1,300-5,800 บาท
  • โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ค่าใช้จ่าย 1,200-3,000 บาท (ขึ้นอยู่กับวิธีตรวจ)
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม ค่าใช้จ่าย 3,900 บาท (รวมค่าบริการทางการแพทย์และใบรับรองแพทย์)
  • โรงพยาบาลพะเยา ราม ค่าใช้จ่าย 900-1,500 บาท หากต้องการใบรับรองแพทย์มีค่าบริการเพิ่มประมาณ 250 บาท
* หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดสอบถามจากโรงพยาบาลอีกครั้ง

รายชื่อห้องปฏิบัติการตรวจโควิด 19

          หากไปตรวจหาเชื้อในโรงพยาบาลที่มีห้องปฏิบัติการตรวจโควิด-19 ก็จะสามารถยืนยันผลได้เร็วกว่า โดยโรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการที่อยู่ในเครือข่ายตรวจ SARS-Cov-2 (ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันที่ 28 เมษายน 2564) มีดังนี้
FAQ ตอบคำถามฮิต เรื่องตรวจโควิด 19
ตรวจโควิด 19

1. ใครมีสิทธิ์ตรวจโควิด 19 ฟรี ?

          ต้องเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงทั้ง 2 ข้อ คือ
          - มีอาการ : มีอาการทางเดินหายใจข้อใดข้อหนึ่ง (ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเร็วเหนื่อย หายใจลำบาก หรือจมูกไม่ได้กลิ่น)
          - มีประวัติเสี่ยง : อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
             >> เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
             >> ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
             >> สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยัน
             >> เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
                  (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์)

2. ไม่มีอาการป่วย-ไม่มีประวัติเสี่ยง จำเป็นต้องไปตรวจไหม ?

          ไม่จำเป็นต้องไปตรวจ

3. ไม่มีอาการ แต่มีประวัติเสี่ยง ต้องไปตรวจไหม ?

          ให้กักตัวอยู่ที่บ้านอย่างน้อย 14 วัน โดยแยกตัวเองออกจากคนอื่นในบ้าน ใส่หน้ากากอนามัย งดรับประทานอาหารร่วมกัน งดใช้ของส่วนตัวร่วมกัน หากมีอาการป่วยระหว่างกักตัว ให้ไปตรวจหาเชื้อ หรือโทร. 1422 กรมควบคุมโรค

          ทั้งนี้ กรณีอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือเคยเดินทางไปยังจุดแพร่ระบาด แม้จะยังไม่มีอาการก็ควรไปตรวจ

4. เตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะเดินทางไปตรวจหาเชื้อ ?

          - สวมหน้ากากอนามัย
          - พกเจลล้างมือติดตัว
          - ขับรถส่วนตัวไปโรงพยาบาล  
          - ไม่ควรเดินทางด้วยพาหนะสาธารณะ

5. มีวิธีการตรวจหาเชื้อแบบไหนบ้าง

          การตรวจแล็บเพื่อหาเชื้อ ปัจจุบันมี 3 วิธี

         1. ตรวจหาเชื้อในทางเดินหายใจ (Real-time RT PCR) ใช้วิธีป้ายเยื่อบุในคอ หรือป้ายเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก เพื่อนำเชื้อไวรัสในเซลล์มาตรวจ หรือหากเชื้อลงปอดก็ต้องนำเสมหะที่อยู่ในปอดออกมาตรวจ

         2. ตรวจด้วยการเจาะเลือด (Rapid Test) ไม่ใช่การตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือเรียกว่า IgM/IgG Antibody Test ซึ่งร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันหลังจากมีอาการป่วยราว 5-7 วัน สามารถทราบผลได้เร็วภายในเวลา 15 นาที

         3. การตรวจหาเชื้อในน้ำลาย โดยกระทรวงสาธารณสุขจะใช้วิธีนี้ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก และการค้นหาผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการในชุมชน เนื่องจากมีข้อดีคือ ราคาถูก เก็บตัวอย่างได้ง่ายกว่า สามารถเก็บได้ด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีการตรวจดังกล่าวโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทำการวิจัยพบว่าได้ผลแม่นยำ มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับวิธีการตรวจจากสารคัดหลั่งจากจมูกและคอ หรือวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรม (RT-PCR) >> อ่านเพิ่มเติม RT PCR คือ <<

6. หากทราบผลว่าติดเชื้อ ต้องทำอย่างไรต่อ ?

          หากมีอาการป่วย แพทย์จะให้รักษาตัวในโรงพยาบาล กรณีเป็นผู้ป่วยสีเหลือง-สีแดง ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงอาการหนัก หรือมีภาวะปอดอักเสบ แต่ถ้ามีอาการน้อยหรือแทบไม่มีอาการเลย จะถูกจัดเป็นผู้ป่วยสีเขียว รักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel

7. ตรวจแล้วไม่เจอเชื้อ แสดงว่าไม่ได้ป่วยโควิด 19 ใช่หรือไม่ ?

          ไม่เสมอไป เพราะผลลบหมายถึง "ไม่เจอเชื้อ" แต่ไม่ได้หมายความว่า "ไม่ติดเชื้อ" เช่น บางคนไม่มีอาการแต่มาตรวจ ก็มักจะไม่เจอเชื้อ แต่อาจเป็นไปได้ว่ายังอยู่ในระยะฟักตัวของโรค ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังในช่วง 14 วัน หากมีอาการป่วยขึ้นมาก็ต้องมาตรวจใหม่อีกครั้ง

8. ซื้อชุดตรวจ Rapid Test มาตรวจเองได้ไหม ?

          ไม่ควรซื้อมาตรวจเอง เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องระวังในการตรวจ เช่น จะตรวจพบภูมิคุ้มกันในเลือดได้ก็ต่อเมื่อร่างกายได้รับเชื้อแล้วประมาณวันที่ 5-7 หลังมีอาการป่วย หากเราไม่แน่ใจเรื่องนี้อาจแปลผลผิดได้ ดังนั้น ควรให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ตรวจ แปลผล และสรุปผลให้
รวมข่าวและบทความน่าสนใจ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด 19 ที่ไหนดี ตรวจฟรีทำยังไง ถ้าตรวจเจอต้องทำอะไรต่อ ? อัปเดตล่าสุด 8 ตุลาคม 2564 เวลา 15:57:11 477,349 อ่าน
TOP