เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ เด็กนักเรียนอายุ 12-17 ปี หรืออยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หรือเทียบเท่า จะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ยี่ห้อ Pfizer ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลกแล้วว่าให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้
ขณะเดียวกันทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก็ได้จัดโครงการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มสำหรับนักเรียนอายุ 10-18 ปีเช่นกัน จึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองลังเลใจว่า ควรให้ลูกฉีดวัคซีน ไฟเซอร์ หรือ ซิโนฟาร์ม ดีกว่า ถ้าอย่างนั้นเราลองมาดูข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา
อ่านเพิ่มเติมสรุปข้อมูลเกี่ยวกับ sinopharm vaccine
วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
ภาพจาก diy13 / Shutterstock.com
ชนิดของวัคซีน
ต้องฉีดกี่โดส
- 2 เข็ม ระยะห่างกัน 3-4 สัปดาห์
ประสิทธิภาพ
- ป้องกันอาการป่วยแบบแสดงอาการและการเสียชีวิตได้ 79% (ระยะเวลาติดตามผลการทดลอง 112 วัน)
เด็กอายุเท่าไรฉีดได้
จากข้อมูลเดือนกันยายน 2564 ประเทศที่อนุมัติให้ใช้วัคซีนซิโนฟาร์มแบบฉุกเฉินกับเด็ก-วัยรุ่น ได้แก่ ประเทศจีน (อายุ 3-17 ปี), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (อายุ 3-17 ปี), ชิลี (อายุ 6 ขวบขึ้นไป) รวมทั้งศรีลังกา หลังผลการทดลองทางคลินิกพบว่า วัคซีนตอบสนองภูมิคุ้มกันได้ดีไม่ต่างจากการฉีดในผู้ใหญ่
ส่วนในประเทศไทย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ผู้ได้รับอนุญาตนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มในประเทศไทย ได้นำเอกสารมายื่นขออนุมัติให้ใช้วัคซีนซิโนฟาร์มในเด็กตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป แต่ขณะนี้ทาง อย. ยังไม่อนุมัติ เนื่องจากต้องรอผลวิจัยการใช้วัคซีนในเฟส 3 เข้ามาเพิ่มเติม รวมทั้งต้องทราบข้อมูลที่ชัดเจนว่าต้องฉีดเท่าไรในเด็ก เพราะปริมาณต่างจากผู้ใหญ่
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดให้ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มในเด็กอายุ 10-18 ปีนั้น เป็นโครงการศึกษาวิจัยที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก อย. แต่ทางผู้ปกครองต้องให้ความยินยอม
ผลข้างเคียงที่ควรพิจารณา
ซิโนฟาร์ม ผลข้างเคียงเป็นอย่างไรนั้นยังไม่มีรายงานข้อมูลผลข้างเคียงรุนแรงในเด็ก โดยจากการฉีดวัคซีนให้เด็กใน 4 ประเทศดังกล่าว พบผลข้างเคียงจากวัคซีนเพียง 0.2% ถือว่าน้อยมาก เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง
สรุปข้อมูลวัคซีน ซิโนฟาร์มประสิทธิภาพ ดีอย่างไร
ภาพจาก tunasalmon / Shutterstock
ชนิดของวัคซีน
ต้องฉีดกี่โดส
- 2 เข็ม ระยะห่างกัน 21 วัน
ประสิทธิภาพ
- ป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 100%
- ป้องกันการติดเชื้อมีอาการที่ 94%
- ป้องกันการติดโรค 96.5%
- ป้องกันการเสียชีวิต 98-100%
- มีประสิทธิภาพ 88% ในการป้องกันการป่วยแบบมีอาการจากไวรัสเดลตา หรือสายพันธุ์อินเดีย
เด็กอายุเท่าไรฉีดได้
หน่วยงานสาธารณสุขระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นองค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การยายุโรป (EMA), ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC), สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา แนะนำให้กลุ่มเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนไฟเซอร์ได้ ทำให้หลายประเทศทั้งในอเมริกา ยุโรป เอเชีย เดินหน้าฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับเด็กนักเรียน เช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่อนุมัติให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์สำหรับเด็กอายุ 12-17 ปี
สำหรับเด็กอายุ 5-11 ขวบ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา, องค์การยายุโรป รวมทั้ง อย. ประเทศไทย เพิ่งได้อนุมัติเป็นกรณีฉุกเฉินให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กเล็กแล้วเช่นกัน โดยลดปริมาณวัคซีนลงเหลือ 10 ไมโครกรัม (ปกติผู้ใหญ่ฉีด 30 ไมโครกรัม)
ผลข้างเคียงที่ควรพิจารณา
สิ่งที่ผู้ปกครองหลายคนเป็นกังวลก็คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) จากการฉีดวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งพบได้ทั้งวัคซีนไฟเซอร์ และโมเดอร์นา โดยรายงานช่วงแรกระบุว่า มักเกิดภาวะนี้ในเด็กชายอายุ 12-17 ปี ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แต่อัตราการเกิดยังน้อยมาก และส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ หรือรักษาจนหายได้
ก่อนที่ภายหลังงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จะระบุว่า อัตราการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และโรคเยื่อหุ้มหัวใจ หลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ในเด็กผู้ชายที่มีสุขภาพดี มีอัตราสูงขึ้น ซึ่งทำให้อัตราความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กผู้ชายอายุ 12-15 ปี มากกว่าความเสี่ยงติดเชื้อโควิด
สอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CDC) เมื่อเดือนตุลาคม 2564 พบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในกลุ่มเด็กที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ดังนี้
เด็กชาย
- อายุ 12-15 ปี เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดเข็มที่ 2 เท่ากับ 39.9 คน ใน 1 ล้านคน
- อายุ 16-17 ปี เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดเข็มที่ 2 เท่ากับ 69.1 คน ใน 1 ล้านคน
เด็กหญิง
- อายุ 12-15 ปี เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดเข็มที่ 2 เท่ากับ 3.9 คน ใน 1 ล้านคน
- อายุ 16-17 ปี เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดเข็มที่ 2 เท่ากับ 7.9 คน ใน 1 ล้านคน
สำหรับในประเทศไทย จากข้อมูลจนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้วประมาณ 1.7 ล้านโดส พบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย ซึ่งผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงและรักษาหายเป็นปกติแล้ว
เช็กอาการหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
วัคซีนทั้ง 2 ประเภทต่างก็มีจุดเด่น-จุดด้อย ซึ่งมีข้อเปรียบเทียบเพื่อประกอบการพิจารณาคือ
-
วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพในการต้านทานไวรัสที่สูงกว่าวัคซีนซิโนฟาร์ม รวมทั้งไวรัสโคโรนา สายพันธุ์เดลตา ที่ระบาดในประเทศไทย
-
วัคซีนไฟเซอร์ได้รับการรับรองจากองค์กรด้านสาธารณสุขระดับโลกหลายแห่ง รวมทั้ง อย. ประเทศไทย ว่าสามารถใช้สำหรับเด็กอายุ 12-17 ปีได้ ขณะที่วัคซีนซิโนฟาร์ม ทาง อย. ประเทศไทย ยังไม่ได้อนุมัติ (ข้อมูลเดือนกันยายน 2564) ยกเว้นกรณีเพื่อศึกษาวิจัยที่ไม่ต้องขออนุญาต อย. อย่างเช่นโครงการ VACC 2 School ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
-
วัคซีนไฟเซอร์ถูกนำมาฉีดให้เด็ก ๆ ในหลายประเทศแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สเปน ฮ่องกง ฯลฯ ส่วนวัคซีนซิโนฟาร์ม ปัจจุบันมีการอนุมัติใช้กับเด็ก 4 ประเทศ คือ จีน ศรีลังกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และชิลี (ข้อมูลเดือนกันยายน 2564)
-
วัคซีนซิโนฟาร์มมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผลิตจากเชื้อตาย อันเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโปลิโอ ฯลฯ ส่วนวัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน จึงยังไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่
-
ในเด็กผู้ชายจะมีความเสี่ยงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (วัคซีนชนิด mRNA) สูงกว่าเด็กผู้หญิง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ ขณะที่วัคซีนซิโนฟาร์ม ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงในเด็ก
-
หากมีประวัติเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ควรปรึกษาแพทย์ประเมินภาวะของโรคก่อนฉีดวัคซีน mRNA
รวมความคิดเห็นจากแพทย์
จากเดิมราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นไว้ดังนี้
- เด็กและวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ได้ทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน
- เด็กอายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว แนะนำให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม
- เด็กผู้หญิงอายุ 12-15 ปี ทุกคน สามารถรับวัคซีนไฟเซอร์ได้ 2 เข็ม
- เด็กผู้ชายอายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่แข็งแรงดี ให้วัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม และชะลอการฉีดเข็มที่ 2 ออกไปก่อน จนกว่าจะมีคำแนะนำเพิ่มเติม เนื่องจากข้อมูลความปลอดภัยของวัคซีนในเด็กผู้ชายยังไม่เพียงพอ จากข้อมูลในสหรัฐอเมริกาพบความเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในเด็กชายอายุ 12 ปี จนถึงน้อยกว่า 16 ปี มากกว่าเด็กผู้หญิง
ล่าสุดวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศ ได้ออกคำแนะนำฉบับที่ 4 โดยสรุปคำแนะนำ ดังนี้
- แนะนำให้วัยรุ่นเพศชาย อายุ 12 ปีขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 ได้ โดยเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 3-12 สัปดาห์ ซึ่งแนะนำระยะห่างที่ 8-12 สัปดาห์ จะดีกว่า 3-4 สัปดาห์ เพราะการเพิ่มระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 กับ 2 จะทำให้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ระยะเวลาป้องกันนานขึ้น และอาจลดความเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้
- แนะนำให้เด็กอายุ 5 ขวบ ถึงไม่เกิน 12 ปี ฉีดวัคซีนไฟเซอร์สูตรสำหรับเด็ก (ฝาสีส้ม แถบส้ม) ขนาด 10 ไมโครกรัม เข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้ง แต่ละเข็มห่างกัน 3-12 สัปดาห์ (21-84 วัน) โดยระยะห่าง 8-12 สัปดาห์ จะดีกว่า 3-4 สัปดาห์ เพราะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่า
- สำหรับเด็กที่เคยติดโควิด 19 มาแล้ว ควรฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม หลังหายจากโควิด 19 แล้วอย่างน้อย 3 เดือน
- สำหรับผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไป ที่เคยฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย เช่น ซิโนแวค หรือซิโนฟาร์ม ครบแล้ว 2 เข็ม แนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิด mRNA ที่ได้รับการรับรองตามช่วงอายุอีก 1 เข็ม โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ภายหลังการฉีดเข็มที่ 2
- วัยรุ่นอายุ 16-18 ปี สามารถฉีดวัคซีนไฟเซอร์กระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 ได้ หลังฉีดเข็มที่ 2 อย่างน้อย 3 เดือน
- เด็กอายุ 12-16 ปี กลุ่มที่มีความเสี่ยง หรืออยู่ร่วมบ้านกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถฉีดวัคซีนไฟเซอร์กระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 ได้ หลังฉีดเข็มที่ 2 อย่างน้อย 3 เดือน
- เด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิตหากติดโควิด 19 จำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทุกราย
- เด็กปกติที่มีสุขภาพดี ผู้ปกครองมีสิทธิ์ที่จะรับวัคซีนหรือปฏิเสธก็ได้ โดยมีการรับทราบถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของวัคซีน
แม้ว่าเด็กที่ป่วยโควิด 19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่การฉีดวัคซีนก็จะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ รวมทั้งลดอาการของโรคลงได้ ด้วยเหตุนี้หน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็ก อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนให้เด็กจะต้องเป็นไปตามความยินยอมของนักเรียนและผู้ปกครอง จึงต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ดีก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
อ่านข่าวเพิ่มเติม วัคซีนซิโนฟาร์มดีไหม
บทความที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด
◆ อาการหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) แบบไหนไม่รุนแรง-แบบไหนต้องระวังใน 30 วัน
◆ เช็กที่นี่ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำอย่างไร - ลงทะเบียนที่ไหน ดีเดย์ 4 ต.ค.
◆ สรุปข้อมูลวัคซีนโควิด ซิโนฟาร์ม มีประสิทธิภาพแค่ไหน ผลข้างเคียงเป็นยังไง
◆ เตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิดอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง
◆ ก่อนฉีดวัคซีนโควิดกินยาพาราได้ไหม ช่วยดักไข้ได้หรือเปล่า
◆ ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด แพ้ยา แพ้อาหาร
◆ ฉีดวัคซีนโควิด กับ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ต้องมีระยะห่างกันแค่ไหนดี แนะวิธีวางแผนก่อนฉีด
◆ 12 วิธีดูแลตัวเองหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง
◆ ปวดแขนหลังฉีดวัคซีน ทำยังไง บรรเทาปวดด้วยวิธีไหนได้บ้าง
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 29 ธันวาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมควบคุมโรค
เฟซบุ๊ก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
เฟซบุ๊ก Infectious ง่ายนิดเดียว
เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
โรงพยาบาลกรุงเทพ
เฟซบุ๊ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย (1), (2), (3)
เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan
เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha (1), (2)
ThaiPBS (1), (2)
TNN
fda.gov (1), (2)