อาการโควิด 19 มีอะไรบ้าง ?
อาการที่พบได้บ่อย
2. มีอาการทางเดินหายใจข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจจะมีเพียงอาการเดียว หรือมากกว่านั้น คือ
- เจ็บคอ
- ไอ
- มีน้ำมูก
- หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
- จมูกไม่ได้กลิ่น หรือลิ้นไม่รับรส
อาการอื่น ๆ ที่พบได้บ้าง
นอกจากมีไข้สูง ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ในผู้ป่วยหลายรายยังมีรายงานพบอาการเหล่านี้ด้วย แต่เป็นเพียงอาการร่วม ไม่ใช่อาการแสดงหลักของโรค เช่น
- ปวดหัว
- อ่อนเพลีย
- ท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ
- ตาแดง
- มีผื่นขึ้น
- หากรุนแรงอาจมีอาการปอดอักเสบ
อาการโควิดสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7)
อาจพบอาการต่อไปนี้
- ในช่วง 14 วันแรกจะมีอาการเป็นไข้
- หนาวสั่น
- ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก
- ปวดศีรษะ
- สูญเสียการได้กลิ่น
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- อ่อนเพลีย
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- อาเจียน หรือท้องเสีย
- มีผื่นขึ้นที่เท้าหรือนิ้วเท้า ลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็ก ๆ หรือมีจุดเลือดออก หรือมีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ หรือบางรายอาจมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคอีสุกอีใส
- บางรายอาจมีอาการตาแดง แต่พบได้น้อยเพียง 1-3% โดยมีอาการเยื่อบุตาอักเสบหรือบวม น้ำตาไหล ระคายเคืองตา คัน มีขี้ตา ตาสู้แสงไม่ได้
อาการโควิดสายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย B.1.617)
- ปวดหัว
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- มักจะไม่ค่อยสูญเสียการรับรส
- มีอาการทั่วไปคล้ายหวัดธรรมดา
ดังนั้น หากรู้สึกไม่สบาย คล้ายเป็นหวัด ควรสังเกตตัวเอง หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบไปพบแพทย์
อาการโควิดสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้)
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- เจ็บคอ
- ท้องเสีย
- ปวดศีรษะ
- ตาแดง
- การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
- มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือ นิ้วเท้าเปลี่ยนสี
อาการโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (B.1.1.529)
- เจ็บคอ (อาจมีไอแห้ง)
- น้ำมูกไหล
- จาม
- อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
- เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน และอาจทำให้เสื้อผ้าชุ่มด้วยเหงื่อจนต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า แม้ว่าจะนอนในห้องแอร์ก็ตาม
- ปวดหลังส่วนล่าง
ประวัติเสี่ยง มีอะไรบ้าง ?
1. เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
2. ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
3. สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยัน
4. เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
(ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์)
ควรไปตรวจหา COVID-19 ทันที
อาการโควิดที่พบส่วนใหญ่ คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ คล้ายกับไข้หวัดทั่วไป ซึ่งหากภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงพอจะสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัส และรักษาตัวให้หายได้เอง ทว่าความอันตรายของโรค COVID-19 อยู่ตรงที่เชื้อไวรัสนี้มีโอกาสลงปอดได้ง่าย โดยเฉพาะสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่แพร่ระบาดระลอกใหม่ นอกจากจะติดต่อง่ายกว่าเดิมแล้ว กลับพบคนหนุ่มสาวมีอาการปอดอักเสบมากขึ้นด้วยทั้งที่บางคนไม่มีอาการป่วยใด ๆ เลย แต่เมื่อเอกซเรย์ปอดกลับเจอฝ้าที่แสดงถึงภาวะปอดอักเสบ ทำให้รักษาได้ล่าช้าและอาจเป็นอันตรายได้
โดยอาการที่สังเกตได้ว่าเชื้อโควิดลงปอดแล้วก็คือ
- ไอแห้ง ๆ มีอาการไอมากขึ้น
- เหนื่อยง่ายขึ้น สังเกตได้จากเวลาทำกิจกรรมอะไรก็ตามที่เคยทำได้ปกติ แต่ตอนนี้เมื่อทำแล้วจะรู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าเดิม
- หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก
- หายใจติดขัด หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม เนื่องจากเชื้อที่ลงปอดจะทำให้เกิดการอุดกั้นบริเวณถุงลมปอด ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนและลำเลียงออกซิเจน
- พูดติดขัด ขาดห้วง
- ระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง เพราะเชื้อที่อุดกั้นถุงลมปอด ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไม่ดี จึงส่งออกซิเจนไปยังกระแสเลือดน้อยกว่าปกติ
นอกจากนี้ยังมีวิธีเช็กง่าย ๆ ด้วยตัวเองว่าโควิดลงปอดแล้วหรือยัง หรือหากลงปอดแล้วจะเป็นอันตรายแค่ไหน สามารถรักษาได้ไหม แล้วจะฟื้นฟูสมรรถภาพปอดกลับมาได้หรือไม่ ตามข้อมูลในกระทู้นี้เลย
อาการโควิดลงปอดเป็นยังไง พร้อมวิธีเช็กเบื้องต้น สัญญาณไหนต้องรีบรักษา
ผู้ป่วยสีเขียว อาการไม่รุนแรง สามารถทำ Home isolation ได้
- ไม่มีอาการ
- มีไข้ หรือวัดอุณหภูมิร่างกายได้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
- ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่น
- ถ่ายเหลว
- ไม่มีอาการหายใจเร็ว
- ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย
- ไม่มีอาการหายใจลำบาก
- ไม่มีปอดอักเสบ
- ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง / โรคร่วมสำคัญ
ผู้ป่วยสีเหลือง
- มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือโรคร่วมสำคัญ ข้อใดข้อหนึ่ง
- แน่นหน้าอก
- หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม
- หายใจเร็ว เหนื่อย หายใจลำบาก ไอแล้วเหนื่อย
- อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
- ปอดอักเสบ
- ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวันร่วมกับหน้ามืดวิงเวียน
ผู้ป่วยสีแดง
-
หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค
-
แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
-
ซึม เรียกไม่รู้ตัว ตอบสนองช้า
-
ปอดบวมที่มี hypoxic (risting O2 saturation <96%) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 มากกว่าหรือเท่ากับ 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates
แต่ตรวจพบเชื้อในร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้น ให้พิจารณาประวัติเสี่ยงของตัวเองด้วย
แบบประเมินความเสี่ยงจากกรุงเทพมหานคร
หากทำแบบประเมินแล้วพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทาง กทม. จะไปตรวจหาโควิด 19 ให้ฟรีถึงบ้าน