อาการโควิด 19 อาจไม่ใช่แค่มีไข้ ไอ จาม เหนื่อยหอบ เพราะมีเคสผู้ป่วยแสดงอาการอื่น ๆ ที่ป่วยเป็น COVID-19 นอกจากนี้ แล้วผลตรวจออกมาเป็นบวก ติดไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย
ช่วงที่ COVID 19 ระบาดในระยะแรก อาการที่บ่งชี้ของโรคนี้ตามที่เราเข้าใจคือผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง ไอ จาม หายใจเหนื่อย ซึ่งเป็นอาการแสดงที่พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่หลัง ๆ ก็เริ่มมีหลักฐานทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโควิด 19 หลายเคส ช่วงแรก ๆ ยังไม่มีอาการข้างต้น แต่มีอาการป่วยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
1. สูญเสียการได้กลิ่น
จากสถิติผู้ป่วย Covid-19 ที่มากขึ้นก็พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีอาการสูญเสียการได้กลิ่น (Anosmia) และในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหลไม่มาก จะพบว่ามีอาการสูญเสียการได้กลิ่นเป็นอาการหลักถึงร้อยละ 30 เลยทีเดียว
ดังนั้น ราชวิทยาโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย จึงได้ออกประกาศให้แพทย์พิจารณาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วย
- จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส ให้สงสัยติดโควิด 19 ไว้ก่อน
2. ตาแดง
ทีมวิจัยจากโรงพยาบาลเครือมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เจ้อเจียง (ZJU Med) แห่งที่ 1 พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายหนึ่ง มีอาการตาแดงร่วมกับอาการอื่น ๆ และเมื่อนำน้ำตาของผู้ป่วยติดเชื้อ 30 คน มาตรวจก็พบไวรัสโคโรนา มากถึง 29 คน นอกจากนี้รายงานในต่างประเทศยังพบอาการตาแดงในผู้ป่วยโควิด-19 มากถึง 3%
เช่นเดียวกับการระบาดระลอกใหม่ในเดือนเมษายน 2564 ของประเทศไทย ที่พบว่ามีผู้ติดเชื้อ 1-3% มีอาการตาแดง น้ำตาไหล ระคายเคืองตา เยื่อบุตาอักเสบหรือบวม หรือตาสู้แสงไม่ได้ ดังนั้น แม้จะไม่มีไข้ ไม่ไอ ไม่หายใจเหนื่อย แต่หากมีประวัติเสี่ยงสัมผัสเชื้อ แล้วมีอาการตาแดง ก็ควรสงสัยอาการตัวเองก่อน
3. ผื่นขึ้นที่ลำตัว
งานวิจัยในอิตาลี พบว่า 20% ของผู้ป่วยโควิด 19 มีอาการผื่นขึ้นที่ลำตัว ทั้งในลักษณะผื่นแดง (คันบางราย) จุดเลือดออก ผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ กลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคอีสุกอีใส และการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากการหดและขยายตัวของหลอดเลือด โดยบริเวณที่พบผื่นขึ้นมากที่สุดคือลำตัว
นอกจากนี้ในสหราชอาณาจักรก็พบเคสผู้ป่วยโควิด 19 แสดงอาการผื่นแดง เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจาก Le Syndicat National des Dermatologues-Vénéréologues (SNDV) ประเทศฝรั่งเศส กว่า 400 คน ที่พบผู้ป่วยโควิด 19 แสดงอาการคล้ายผื่นลมพิษ เป็นรอยแดง และเจ็บ
ขณะที่แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส และการติดเชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางผิวหนังได้ ซึ่งในผู้ป่วย 100 คน จะพบผู้ป่วย 20 คน ที่มีผื่นผิดปกติทางผิวหนังด้วย โดยพบว่าในคนไข้โควิด 19 ที่มีอาการทางผิวหนังร้อยละ 40 จะมีอาการพร้อม ๆ กับอาการไข้หรือไอ ตั้งแต่พบว่าป่วยเป็นโรคโควิด 19 และร้อยละ 60 จะมีความผิดปกติทางผิวหนังปรากฏในภายหลัง
4. ท้องเสีย
อาการท้องเสียพบได้ไม่บ่อยนัก และมักจะไม่มีอาการที่รุนแรง ทำให้หลายคนที่มีประวัติเสี่ยงสัมผัสเชื้อ ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเสี่ยงติดโควิด 19 เพราะอาการท้องเสียอาจเป็นอาการเริ่มต้นก่อนอาการป่วยอื่น ๆ จะตามมา ฉะนั้นหากมีอาการท้องเสีย และมีโอกาสสัมผัสเชื้อโคโรนาไวรัส ไปตรวจโควิดให้แน่ใจก็ดี
- อาการโควิด 19 เป็นยังไง มีวิธีรักษาแบบไหนบ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก Infectious ง่ายนิดเดียว, เฟซบุ๊ก Pleasehealth Books, เฟซบุ๊ก HELLO SKIN by หมอผิวหนัง, สำนักข่าวซินหัว, express.co.uk, connexionfrance, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ช่วงที่ COVID 19 ระบาดในระยะแรก อาการที่บ่งชี้ของโรคนี้ตามที่เราเข้าใจคือผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง ไอ จาม หายใจเหนื่อย ซึ่งเป็นอาการแสดงที่พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่หลัง ๆ ก็เริ่มมีหลักฐานทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโควิด 19 หลายเคส ช่วงแรก ๆ ยังไม่มีอาการข้างต้น แต่มีอาการป่วยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
1. สูญเสียการได้กลิ่น
จากสถิติผู้ป่วย Covid-19 ที่มากขึ้นก็พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีอาการสูญเสียการได้กลิ่น (Anosmia) และในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหลไม่มาก จะพบว่ามีอาการสูญเสียการได้กลิ่นเป็นอาการหลักถึงร้อยละ 30 เลยทีเดียว
ดังนั้น ราชวิทยาโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย จึงได้ออกประกาศให้แพทย์พิจารณาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ในการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วย
- จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส ให้สงสัยติดโควิด 19 ไว้ก่อน
2. ตาแดง
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ทีมวิจัยจากโรงพยาบาลเครือมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เจ้อเจียง (ZJU Med) แห่งที่ 1 พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายหนึ่ง มีอาการตาแดงร่วมกับอาการอื่น ๆ และเมื่อนำน้ำตาของผู้ป่วยติดเชื้อ 30 คน มาตรวจก็พบไวรัสโคโรนา มากถึง 29 คน นอกจากนี้รายงานในต่างประเทศยังพบอาการตาแดงในผู้ป่วยโควิด-19 มากถึง 3%
เช่นเดียวกับการระบาดระลอกใหม่ในเดือนเมษายน 2564 ของประเทศไทย ที่พบว่ามีผู้ติดเชื้อ 1-3% มีอาการตาแดง น้ำตาไหล ระคายเคืองตา เยื่อบุตาอักเสบหรือบวม หรือตาสู้แสงไม่ได้ ดังนั้น แม้จะไม่มีไข้ ไม่ไอ ไม่หายใจเหนื่อย แต่หากมีประวัติเสี่ยงสัมผัสเชื้อ แล้วมีอาการตาแดง ก็ควรสงสัยอาการตัวเองก่อน
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
งานวิจัยในอิตาลี พบว่า 20% ของผู้ป่วยโควิด 19 มีอาการผื่นขึ้นที่ลำตัว ทั้งในลักษณะผื่นแดง (คันบางราย) จุดเลือดออก ผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ กลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคอีสุกอีใส และการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากการหดและขยายตัวของหลอดเลือด โดยบริเวณที่พบผื่นขึ้นมากที่สุดคือลำตัว
นอกจากนี้ในสหราชอาณาจักรก็พบเคสผู้ป่วยโควิด 19 แสดงอาการผื่นแดง เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจาก Le Syndicat National des Dermatologues-Vénéréologues (SNDV) ประเทศฝรั่งเศส กว่า 400 คน ที่พบผู้ป่วยโควิด 19 แสดงอาการคล้ายผื่นลมพิษ เป็นรอยแดง และเจ็บ
ขณะที่แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส และการติดเชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางผิวหนังได้ ซึ่งในผู้ป่วย 100 คน จะพบผู้ป่วย 20 คน ที่มีผื่นผิดปกติทางผิวหนังด้วย โดยพบว่าในคนไข้โควิด 19 ที่มีอาการทางผิวหนังร้อยละ 40 จะมีอาการพร้อม ๆ กับอาการไข้หรือไอ ตั้งแต่พบว่าป่วยเป็นโรคโควิด 19 และร้อยละ 60 จะมีความผิดปกติทางผิวหนังปรากฏในภายหลัง
สำหรับการระบาดในช่วงเดือนเมษายน 2564 ของประเทศไทย เป็นสายพันธุ์อังกฤษ จึงพบผู้ป่วยมีผื่นขึ้น ทำให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เตือนให้ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสังเกตอาการทางผิวหนังของตัวเองด้วย โดยหากติดเชื้ออาจมีผื่นขึ้นที่เท้า หรือนิ้วเท้า หรือตามผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
- มีลักษณะเป็นตุ่มหรือผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่ายเส้นใยเล็ก ๆ
- มีจุดเลือดออก
- มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
- บางรายอาจมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
- มักพบในกลุ่มผู้ที่ไม่แสดงอาการใด ๆ หรือแสดงอาการน้อยมาก บางรายอาจมีอาการทางเดินหายใจเกิดขึ้นหรือหลังจากที่เกิดผื่นดังกล่าว
- มีจุดเลือดออก
- มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
- บางรายอาจมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
- มักพบในกลุ่มผู้ที่ไม่แสดงอาการใด ๆ หรือแสดงอาการน้อยมาก บางรายอาจมีอาการทางเดินหายใจเกิดขึ้นหรือหลังจากที่เกิดผื่นดังกล่าว
อาการท้องเสียพบได้ไม่บ่อยนัก และมักจะไม่มีอาการที่รุนแรง ทำให้หลายคนที่มีประวัติเสี่ยงสัมผัสเชื้อ ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเสี่ยงติดโควิด 19 เพราะอาการท้องเสียอาจเป็นอาการเริ่มต้นก่อนอาการป่วยอื่น ๆ จะตามมา ฉะนั้นหากมีอาการท้องเสีย และมีโอกาสสัมผัสเชื้อโคโรนาไวรัส ไปตรวจโควิดให้แน่ใจก็ดี
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวมักจะเป็นอาการโควิดแรก ๆ ที่ร่างกายแสดงออกมา โดยอาจไม่แสดงอาการไข้สูง หายใจเหนื่อย หรือไอเลย ทำให้เหมือนไม่ได้ป่วยรุนแรง ขณะที่การตรวจหาเชื้อในระยะหลัง พบว่า บางคนไม่แสดงอาการอะไรก็มี แต่กลับมีเชื้อในร่างกาย
ดังนั้น ถ้าใครมีประวัติเสี่ยงสัมผัสเชื้อ เช่น เดินทางไปพื้นที่เสี่ยงที่เพิ่งพบผู้ติดเชื้อ แล้วมีอาการป่วยไม่ว่าจะอาการพื้นฐาน (มีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง) หรือมีอาการ 4 อย่างข้างต้นร่วมด้วย ให้สงสัยตัวเองไว้ก่อนว่านี่ติดหรือยังนะ แล้วไปตรวจหาเชื้อหน่อยก็ดี เพื่อความปลอดภัย
- อาการโควิด 19 เป็นยังไง มีวิธีรักษาแบบไหนบ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก Infectious ง่ายนิดเดียว, เฟซบุ๊ก Pleasehealth Books, เฟซบุ๊ก HELLO SKIN by หมอผิวหนัง, สำนักข่าวซินหัว, express.co.uk, connexionfrance, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 ได้ที่นี่