หมอยง ไขข้อข้องใจ คนหายป่วยโควิด 19 แล้ว แต่กลับตรวจพบเชื้ออีกครั้ง เป็นการติดเชื้อใหม่หรือไม่ ชี้ไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่สามารถแพร่เชื้อได้แล้ว สบายใจได้ เพราะความจริงเป็นแบบนี้...
วันที่ 6 พฤษภาคม 2563 ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หลายคนสงสัยว่า การตรวจพบโควิด 19 ในคนที่จากหายจากโรคนี้แล้ว แสดงว่าติดเชื้อใหม่อีกรอบหรือไม่
โดยระบุว่า วิธีการตรวจด้วย RT PCR มีความไวสูงมาก ทางศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา ที่ตนทำงานอยู่ร่วมกับ กทม. และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้ทำการตรวจเชื้อในรายที่หายจากโรคแล้วเป็นจำนวนมาก พบว่าบางรายอาจมีชิ้นส่วนของ RNA ไวรัสอยู่ ถึงแม้ว่าจะหายแล้วอย่างดี และเกิน 30 วันแล้วก็ตาม
โดยปกติแล้วเยื่อบุทางเดินหายใจเราจะมีการหลุดลอกอยู่แล้ว การเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ กว่าจะหลุดลอกออกมาใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ดังนั้น จึงไม่แปลกเลยที่จะมีการตรวจพบ RNA ไวรัสหลังจากหายแล้ว
ในปัจจุบันการศึกษาพบว่าชิ้นส่วนที่หลุดออกมาของไวรัส
เป็นเพียงส่วนของไวรัส ไม่สามารถติดต่อโรคได้ ดังนั้น
การตรวจพบก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่ใช่เป็นการติดเชื้อใหม่
ไม่ใช่การติดเชื้อเรื้อรัง จึงขอให้ทุกท่านและผู้ป่วยที่หายแล้ว
ขอให้สบายใจได้ เพราะเป็นของเดิมที่ยังค้างอยู่
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan
โดยระบุว่า วิธีการตรวจด้วย RT PCR มีความไวสูงมาก ทางศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา ที่ตนทำงานอยู่ร่วมกับ กทม. และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้ทำการตรวจเชื้อในรายที่หายจากโรคแล้วเป็นจำนวนมาก พบว่าบางรายอาจมีชิ้นส่วนของ RNA ไวรัสอยู่ ถึงแม้ว่าจะหายแล้วอย่างดี และเกิน 30 วันแล้วก็ตาม
บางรายตรวจไม่พบ แต่ก็มาตรวจพบอีก ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก การตรวจพบชิ้นส่วน RNA ไวรัส ไม่ได้บอกว่าไวรัสนั้นยังคงสภาพเป็นไวรัสทั้งตัวที่สามารถติดต่อได้ โดยการศึกษาในเกาหลี หรือในประเทศจีน ก็ตรวจพบเช่นเดียวกัน พบได้นานถึง 45 วัน และสำหรับบางรายที่ตรวจไม่พบแล้วมาตรวจพบอีก ก็ไม่ได้หมายความว่ามีการติดเชื้อซ้ำ
ภาพจาก thanis / Shutterstock.com
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan