ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 มีช่องทางไหนบ้าง แล้วเราต้องลงทางไหน สรุปจบในที่เดียว

          ลงทะเบียนวัคซีนโควิด 19 มีกี่ช่องทาง สรุปจบที่เดียว ทั้งหมอพร้อม นนท์พร้อม ไทยร่วมใจ  แล้วเราต้องลงช่องทางไหนกันแน่ หลังจากคนสับสนมีหลายช่องทางเกินไป


สรุปจบที่เดียว ลงทะเบียนวัคซีนโควิด 19
ภาพจาก hareluya / Shutterstock.com

          วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เรียกได้ว่าเป็นวันแห่งการจองวัคซีน โควิด 19 ของคนที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกระแสในโลกออนไลน์เรื่องนี้นับว่ามีคนให้ความสนใจพอสมควร อย่างไรก็ดี พบว่ามีปัญหาหลัก ๆ อยู่ข้อหนึ่งนั่นคือ ตกลงเราจะต้องลงทะเบียนทางไหนกันแน่ ซึ่งกระปุกดอทคอมก็จะมาสรุปให้อ่านง่าย ๆ กระทู้เดียว ใช้เกณฑ์การแบ่งประเภทได้ดังนี้

เกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกเรื่องการลงทะเบียน


          ก่อนหน้านี้ เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ารับวัคซีนนั้น จะใช้หลักเกณฑ์ที่อายุเป็นหลัก คือ กลุ่มคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง 7 โรค แต่หลังจากนั้น ได้มีการปรับหลักเกณฑ์การฉีดใหม่ โดยเน้นที่พื้นที่ ทั้งพื้นที่สีแดงเข้ม และพื้นที่เศรษฐกิจ และจะปูพรมฉีดตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป

ลงทะเบียนกับโครงการไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย


          ไทยร่วมใจ คือโครงการสำหรับผู้ที่พำนักอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ (ทั้งทำงานและอยู่อาศัย) อายุ 18-59 ปี มาลงทะเบียนฉีดวัคซีน โดยจะได้ฉีดเป็นพื้นที่แรก ๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด เริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป โดยมีศูนย์หลักอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ และวิธีการลงทะเบียนไทยร่วมใจนั้น ทำได้ง่าย ๆ 3 วิธี คือ

สรุปจบที่เดียว ลงทะเบียนวัคซีนโควิด 19
ภาพจาก ไทยร่วมใจ

1. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ไทยร่วมใจ


          การ ลงทะเบียนไทยร่วมใจผ่านเว็บไซต์สำหรับผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ สามารถลงทะเบียนบน www.ไทยร่วมใจ.com และรอรับ SMS แจ้งผลการจัดสรรวัคซีน และนัดหมายวัน เวลา สถานที่ฉีดวัคซีน
(อ่านเพิ่มเติม หมอพร้อมลงทะเบียนฉีดวัคซีนผ่านแอพลิเคชั่นหมอพร้อม)

          ดูวิธีการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ไทยรวมใจ ที่นี่

สรุปจบที่เดียว ลงทะเบียนวัคซีนโควิด 19
ภาพจาก ไทยร่วมใจ

2 . ลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตัง


          การ ลงทะเบียนไทยร่วมใจผ่านแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็นแอปฯ หลักในการใช้จ่ายเงินจากโครงการรัฐ เช่น เราชนะ, คนละครึ่ง, ม.33 เรารักกัน เป็นต้น สำหรับคนที่เคยเข้าร่วมโครงการกับทางรัฐอยู่แล้ว แค่กดยอมรับ ไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำ

อ่านข่าว : ไทยร่วมใจ เปิดขั้นตอน ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ กทม. ผ่านแอปฯ เป๋าตัง ทำตามได้ที่นี่ !

สรุปจบที่เดียว ลงทะเบียนวัคซีนโควิด 19
ภาพจาก NP27 / Shutterstock.com

3. ลงทะเบียน ณ ร้านสะดวกซื้อ


          การ ลงทะเบียนไทยร่วมใจที่ 7-11 และร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เป็นช่องทางสำหรับบุคคลที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต หรือไม่ชำนาญในการลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนไทยร่วมใจ ผ่านร้านสะดวกซื้อเช่น 7-11, Family Mart ฯลฯ ได้เลย

อ่านข่าว : ไทยร่วมใจ ลงทะเบียนผ่าน 7-11 สำหรับกลุ่มไม่มีสมาร์ตโฟน จองฉีดวัคซีนโควิด 19

          อย่างไรก็ดี คนที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หรือมีโรคประจำตัว 7 โรค ไม่ต้องลงทะเบียนผ่านช่องทางนี้ แต่ให้ลงทะเบียนผ่านแอปฯ หมอพร้อม แทน ซึ่งวิธีการจะอยู่ในข้อมูลลำดับถัด ๆ ไป

สรุปจบที่เดียว ลงทะเบียนวัคซีนโควิด 19


ลงทะเบียนฉีดวัคซีนกับค่ายโทรศัพท์มือถือ


          การ ลงทะเบียนฉีดวัคซีนกับค่ายมือถือ สามารถทำได้ผ่านเว็บไซต์ของค่ายโทรศัพท์มือถือ 3 ค่ายในไทย ซึ่งมีการเปิดให้ลงทะเบียน วัคซีนโควิด 19 โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะลงทะเบียนได้คือ อายุ 18-59 ปีขึ้นไป



ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 ค่ายมือถือ สถานีกลางบางซื่อ


          ค่ายโทรศัพท์ยักษ์ใหญ่ 3 ค่าย และ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ประกาศเปิดลงทะเบียนจองคิววัคซีนโควิด อีกครั้ง โดยเริ่มจองตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 น. โดยเป็นการ ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อผ่านค่ายมือถือ AIS True Dtac ทั้งสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีอายุเกิน 18 ปี และผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ป่วยกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง

การลงทะเบียนฉีดวัคซีนสำหรับผู้อยู่ต่างจังหวัด


1. ลงทะเบียนผ่านแอปฯ ของแต่ละจังหวัด


          ในแต่ละจังหวัดจะมีการทำเว็บไซต์หรือแอปฯ ขึ้นมารองรับคนในพื้นที่นั้น ๆ เช่น จ.นนทบุรี มี นนท์พร้อม, จ.ภูเก็ต มี ภูเก็ตต้องชนะ เป็นต้น ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ต้องรอดูประกาศแต่ละจังหวัดอีกครั้งอย่างใกล้ชิด

2. ลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่อสม.


          บางคนที่อยู่ในต่างจังหวัด อาจจะไม่มีความชำนาญด้านการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ตรงจุดนี้ก็มีทางช่วยเหลือ ให้ลงทะเบียนผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) ได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะนำข้อมูลการฉีดเราไปประสานกับโรงพยาบาลเพื่อนัดวันฉีดต่อไป

สำหรับผู้สูงอายุ กับคนมีโรคประจำตัว 7 โรค

สรุปจบที่เดียว ลงทะเบียนวัคซีนโควิด 19
ภาพจาก NOTE OMG / Shutterstock.com

1. ลงทะเบียนหมอพร้อม


          การ ลงทะเบียนหมอพร้อม เป็นช่องทางดั้งเดิมที่รัฐบาลเตรียมไว้สำหรับการลงทะเบียน แต่มีปัญหาเรื่องคอขวด เพราะต้องรองรับฐานข้อมูลคนทั้งประเทศ ทางรัฐบาลจึงแก้ด้วยการให้ลงทะเบียนแยกจังหวัดแทน ทว่า คนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กับมีโรคประจำตัว 7 โรค ยังสามารถลงทะเบียนที่หมอพร้อมได้อยู่

อ่านข่าว : ลงทะเบียนหมอพร้อม ฉีดวัคซีนโควิด ฟรี ล่าสุด เริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 พ.ค. นี้

ช่องทางพิเศษอื่น ๆ


1. ประกันสังคม


          ในกรณีที่หน่วยงานใด ๆ ต้องการฉีดวัคซีนให้กับพนักงาน สามารถรวบรวมรายชื่อผู้ประกันตน แล้วนำเสนอต่อสำนักงานประกันสังคม ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมก็จะจัดพื้นที่ฉีดวัคซีนใกล้กับสถานประกอบการเท่าที่จะทำได้ โดยหน่วยงานใดติดต่อมาก่อนก็จะมีโอกาสได้รับการฉีดวัคซีนก่อน

 จองวัคซีนโควิดหลายแห่งได้ไหม


          การจองวัคซีนจากหลายแห่งนั้น สามารถทำได้ เพราะระบบนั้นจะไปเชื่อมโยงกับหมอพร้อม และจะเริ่มนับ 1 จากการฉีดวัคซีนเข็มแรก เช่น หากท่านลงทะเบียนกับนนท์พร้อมแล้ว ต้องการมาลงทะเบียนกับ ไทยร่วมใจ อีก ก็สามารถทำได้

          แต่หากท่านได้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว ระบบจะมีการบันทึกข้อมูลของท่านไว้ และนัดหมายท่านให้มาฉีดเข็มที่ 2 และถ้าหากท่านต้องการลงทะเบียนอีก ก็จะทำไม่ได้แล้ว


>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่

>> อ่านเพิ่มเติม ขั้นตอนการจองวัคซีน ais <<


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 มีช่องทางไหนบ้าง แล้วเราต้องลงทางไหน สรุปจบในที่เดียว อัปเดตล่าสุด 20 ตุลาคม 2564 เวลา 13:32:41 253,539 อ่าน
TOP