ไทยร่วมใจลงทะเบียนผ่านแอปเป๋าตัง ระบบจองวัคซีนโควิดสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ เปิดให้ลงทะเบียนฉีดวัคซีน ผ่านเว็บไซต์ www ไทยร่วมใจ com แอปฯ เป๋าตัง และ ร้านสะดวกซื้อ เช็กข้อมูลล่าสุด กำหนดการเปิดจองวัคซีนรอบใหม่ เริ่มฉีดวัคซีนวันไหน และสถานที่ฉีดวัคซีนมีที่ไหนบ้าง
วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายทั้งรัฐและเอกชน เปิดตัวระบบ "ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย" อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ได้รับการฉีด วัคซีนโควิด 19 นอกโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ลงทะเบียนได้ผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com, แอปฯ เป๋าตัง หรือผ่านร้านสะดวกซื้อ
ไทยร่วมใจ เป็นระบบการ ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด ป้องกันโควิด 19 สำหรับผู้อาศัยในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นพื้นที่เสี่ยง โดยถือเป็นช่องทางที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากการลงทะเบียนผ่านระบบ หมอพร้อม
หลังจากเริ่มฉีดวัคซีนในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ผ่านไป 1 สัปดาห์ ไทยร่วมใจประกาศเลื่อนฉีดวัคซีนสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนผ่านระบบตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป ก่อนที่จะมีการทยอยจัดสรรคิวใหม่ในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม
ไทยร่วมใจลงทะเบียน
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับไทยร่วมใจลงทะเบียนในครั้งแรกเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 โดยแบ่งกลุ่มการลงทะเบียนออกเป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 ลงทะเบียนไทยร่วมใจผ่านแอปฯ เป๋าตัง ได้แก่ กลุ่มที่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ
โดยมีแอปฯ เป๋าตัง
จะมีข้อมูลส่วนตัวอยู่ในระบบแล้วจึงไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่
สามารถแจ้งความประสงค์รับการฉีดวัคซีนและรอรับ SMS
ยืนยันได้รับการจัดสรรวัคซีน แต่หากลบแอปฯ เป๋าตังไปแล้ว
ให้ดำเนินการนัดหมายผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com
- กลุ่มที่ 2 ลงทะเบียนไทยร่วมใจผ่านเว็บไซต์ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ สามารถลงทะเบียนบน www.ไทยร่วมใจ.com และรอรับ SMS แจ้งผลการจัดสรรวัคซีน และนัดหมายวัน เวลา สถานที่ฉีดวัคซีน ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com หรือแอปฯ เป๋าตัง ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้
- กลุ่มที่ 3 ลงทะเบียนไทยร่วมใจ 7-11 ได้แก่ กลุ่มไม่มีสมาร์ตโฟน สามารถให้บุคคลในครอบครัวลงทะเบียนแทนได้ ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ลงทะเบียนแทน โดยระบบจะส่ง SMS แจ้งเตือนตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน หรือสามารถลงทะเบียนที่ร้านค้าสะดวกซื้อ ณ ร้าน 7-eleven, Family Mart, Tops Daily และ mini Big C ซึ่งเปิดเป็นจุดรับลงทะเบียน ช่วงเวลา 08.30-18.00 น. ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว
ต่อมาวันที่ 9 กันยายน ไทยร่วมใจเปิดให้ลงทะเบียนรอบใหม่ โดยที่ยังสามารถทำการลงทะเบียนผ่านทั้ง 3 ช่องทางเช่นเดิม
- กลุ่มที่ 2 ลงทะเบียนไทยร่วมใจผ่านเว็บไซต์ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ สามารถลงทะเบียนบน www.ไทยร่วมใจ.com และรอรับ SMS แจ้งผลการจัดสรรวัคซีน และนัดหมายวัน เวลา สถานที่ฉีดวัคซีน ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com หรือแอปฯ เป๋าตัง ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้
- กลุ่มที่ 3 ลงทะเบียนไทยร่วมใจ 7-11 ได้แก่ กลุ่มไม่มีสมาร์ตโฟน สามารถให้บุคคลในครอบครัวลงทะเบียนแทนได้ ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ลงทะเบียนแทน โดยระบบจะส่ง SMS แจ้งเตือนตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน หรือสามารถลงทะเบียนที่ร้านค้าสะดวกซื้อ ณ ร้าน 7-eleven, Family Mart, Tops Daily และ mini Big C ซึ่งเปิดเป็นจุดรับลงทะเบียน ช่วงเวลา 08.30-18.00 น. ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว
ไทยร่วมใจใครลงทะเบียนได้บ้าง
ในการเปิดโครงการ ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย ครั้งแรก กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนคือผู้ที่อาศัยอยู่ใน กทม. อายุตั้งแต่ 18-59 ปี ซึ่งไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ลงทะเบียนจองวัคซีนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com และช่องทางอื่น ๆ
ส่วนการเปิดลงทะเบียนรอบล่าสุด 9 กันยายน 2564 เปิดให้ลงทะเบียนสำหรับประชาชนทั่วไป อายุ 18 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย มีที่พักอาศัยอยู่ใน กทม. และยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 มาก่อน เป็นการลงทะเบียนฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 คือซิโนแวค และเข็ม 2 คือแอสตร้าเซนเนก้า
ไทยร่วมใจวัคซีนอะไร
ข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย Safe Bangkok เมื่อวันที่ 8 กันยายน เปิดเผยว่ามีการปรับสูตรวัคซีนไทยร่วมใจ เปลี่ยนเป็นให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมเข้มงวดสูงสุด และยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 มาก่อน เป็นการลงทะเบียนฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 คือซิโนแวค และเข็ม 2 คือแอสตร้าเซนเนก้า โดยเป็นการปรับเปลี่ยนตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อที่ประชาชนจะได้รับการฉีดวัคซีนเข็ม 2 เร็วขึ้น จาก 12 สัปดาห์ เป็น 3 สัปดาห์
สถานที่ฉีดวัคซีนไทยร่วมใจ
สำหรับสถานที่ฉีดวัคซีนของภาคเอกชนโครงการไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย ทาง กทม. ร่วมมือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บริการวัคซีนได้ที่หน่วยบริการนอกโรงพยาบาลทั้ง 25 จุด ซึ่งระบบดังกล่าวจะไม่ซ้ำซ้อนกับหมอพร้อม ตามรายชื่อต่อไปนี้
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- เดอะสตรีท รัชดา
- ศูนย์ฉีดวัคซีนเอสซีจี
- SCB สำนักงานใหญ่
- ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ)
- สามย่านมิตรทาวน์
- เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟรอนท์
- ทรู ดิจิทัล พาร์ค
- ธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์
- โลตัส พระราม 4
- โลตัส มีนบุรี
- สยามพารากอน
- ดิเอ็มโพเรียม
- ไอคอนสยาม
- เดอะมอลล์ บางกะปิ
- เดอะมอลล์ บางแค
- บิ๊กซี บางบอน
- บิ๊กซี ร่มเกล้า
- เซ็นทรัลเวิลด์
- เซ็นทรัล ลาดพร้าว
- เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
- เซ็นทรัล อีสต์วิลล์
- โรบินสันไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง
- PTT Station พระราม 2 ขาออก (กม.12)
- เดอะสตรีท รัชดา
- ศูนย์ฉีดวัคซีนเอสซีจี
- SCB สำนักงานใหญ่
- ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ)
- สามย่านมิตรทาวน์
- เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟรอนท์
- ทรู ดิจิทัล พาร์ค
- ธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์
- โลตัส พระราม 4
- โลตัส มีนบุรี
- สยามพารากอน
- ดิเอ็มโพเรียม
- ไอคอนสยาม
- เดอะมอลล์ บางกะปิ
- เดอะมอลล์ บางแค
- บิ๊กซี บางบอน
- บิ๊กซี ร่มเกล้า
- เซ็นทรัลเวิลด์
- เซ็นทรัล ลาดพร้าว
- เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
- เซ็นทรัล อีสต์วิลล์
- โรบินสันไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง
- PTT Station พระราม 2 ขาออก (กม.12)
>> อ่านเพิ่มเติม ไทยร่วมใจลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ <<