ศปก.ศบค. ย้ำชัด มาตรการยกระดับคุมโควิด 20 ก.ค. นี้ เข้มขึ้น ล็อกดาวน์พื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม รอบนี้ไม่ใช่การ ขอความร่วมมือ แต่ให้งดกิจกรรมที่กำหนดเพื่อคุมโควิดให้อยู่ มีมาตรการอะไรบ้างดูเลย
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า ที่สำนักงานใหญ่ กสทช. พล.อ. ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ผอ.ศปก.ศบค.) ได้เชิญผู้บริหารสื่อเข้าหารือและรับฟังความเห็นการเสนอข่าวในช่วงวิกฤตโควิดระบาด
โดย พล.อ. ณัฐพล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม ว่า กรณีการยกระดับมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด 19 ตามประกาศฉบับล่าสุด หลังจากประกาศใช้แล้วนั้นประมาณ 30 วันจะมีการประเมินผล แต่ ศปก.ศบค. จะประเมินผลย่อยในช่วง 7 วัน และ 14 วันด้วย
โดย พล.อ. ณัฐพล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม ว่า กรณีการยกระดับมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด 19 ตามประกาศฉบับล่าสุด หลังจากประกาศใช้แล้วนั้นประมาณ 30 วันจะมีการประเมินผล แต่ ศปก.ศบค. จะประเมินผลย่อยในช่วง 7 วัน และ 14 วันด้วย
(อ่านเพิ่มเติมการล็อกดาวน์กทม)
โดยนายกรัฐมนตรีอนุญาตให้ใช้คำว่า "ล็อกดาวน์ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม" โดยจะมีการตั้งด่านตรวจสกัดอย่างเข้มแข็งใน 13 จังหวัด แต่ไม่ใช่การล็อกดาวน์ห้ามการออกจากบ้าน และครั้งนี้จะไม่ใช้คำว่า "ขอความร่วมมือ" โดยขอให้ใช้คำว่า "หลีกเลี่ยง หรือ งด" ในการสื่อสารของสื่อ เพราะยังคงมีการยกเว้นในเว้นบางกิจกรรมที่ยังสามารถทำได้ เช่น การเดินทางออกจากบ้านไปซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค ในช่วง 14 วัน อาจจะออกมาได้ 1-2 ครั้ง (ลดจำนวนการออกจากเคหสถาน) เป็นต้น
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
มาตรการล็อกดาวน์ 13 จังหวัดแดงเข้ม
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
มาตรการ ลด-จํากัดการเคลื่อนย้ายการเดินทาง ให้ประชาชนในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด เลี่ยง จํากัด หรืองดเว้นภารกิจที่ต้องเดินทางออกนอกเคหสถาน หรือที่พํานักโดยไม่จําเป็น ยกเว้นการเดินทางเพื่อจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น ต่อการดํารงชีวิต อาหาร ยาหรือเวชภัณฑ์ การเดินทางเพื่อพบแพทย์ เพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข การรักษาพยาบาล การรับวัคซีนป้องกันโรค หรือกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อปฏิบัติงานอาชีพที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการป้องกันตนเองตามคําแนะนําของพนักงานเจ้าหน้าที่ และปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด
ข้อกำหนดในส่วนของสถานประกอบการ
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
- กิจการ นอกห้างที่เปิดได้ตามปกติ ได้แก่ โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านค้าทั่วไป โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง (กรณีเป็นร้านขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเป็นศูนย์การขายอุปกรณ์ก่อสร้าง)
- การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดร้านได้ถึงเวลา 20.00 น. โดยห้ามการบริโภคในร้าน ให้ดำเนินการเฉพาะกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
- โรงแรม เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติ โดยให้งดกิจกรรมการจัดประชุม การสัมมนา หรือการจัดเลี้ยง
- ร้านสะดวกซื้อและตลาดสด ให้เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. โดยจำกัดเวลาสำหรับร้านสะดวกซื้อให้ปิดบริการระหว่างเวลา 20.00 - 04.00 น.
- โรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือฝึกอบรม และสถานศึกษาต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้
ส่วนร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจําเป็น สถานที่จําหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงเปิดดําเนินการได้ ตามความจำเป็น โดยให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด 19
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
13 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม ได้แก่
1. กรุงเทพมหานคร
2. จังหวัดฉะเชิงเทรา
3. จังหวัดชลบุรี
4. จังหวัดนครปฐม
5. จังหวัดนนทบุรี
6. จังหวัดนราธิวาส
7. จังหวัดปทุมธานี
8. จังหวัดปัตตานี
9. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
10. จังหวัดยะลา
11. จังหวัดสงขลา
12. จังหวัดสมุทรปราการ
13. จังหวัดสมุทรสาคร
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้