องค์การอนามัยโลกเตือน ฉีดวัคซีนโควิด 19 สลับยี่ห้อ เป็นกระแสนิยมค่อนข้างอันตราย ชี้ยังขาดข้อมูลวิจัย ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุน ย้ำไม่ควรให้ประชาชนตัดสินใจเอง ขณะที่สื่อนอกแห่ตีข่าว ไทยเป็นชาติแรก ประกาศใช้สูตรผสมวัคซีนซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า

ภาพจาก Nikkei
Asia
ยังคงเป็นที่ติดตามอย่างใกล้ชิดสำหรับประชาชน สำหรับมาตรการรับมือโควิด 19 ในประเทศไทย ตลอดจนการวางแผนฉีดวัคซีนที่เป็นประเด็นร้อน ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยในวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ได้มีความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ให้ปรับแผนการฉีดวัคซีนซิโนแวค จากที่จะมีการฉีด 2 โดส ให้ใช้สูตรใหม่ ฉีดวัคซีนซิโนแวค เป็นเข็มที่ 1 และสลับมาฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกนาน 3 - 4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตา
อ่านข่าว : ปรับแผนแล้ว ! มติเลิกฉีด ซิโนแวค 2 เข็ม ให้ฉีดสลับกับแอสตร้าฯ รับมือสายพันธุ์เดลตา
อ่านข่าว : ปรับแผนแล้ว ! มติเลิกฉีด ซิโนแวค 2 เข็ม ให้ฉีดสลับกับแอสตร้าฯ รับมือสายพันธุ์เดลตา

ล่าสุด (13 กรกฎาคม) พบว่ามติดังกล่าวของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้สร้างกระแสฮือฮาและถูกนำเสนอในสำนักข่าวต่างชาติหลายเจ้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวบีบีซี, รอยเตอร์ส, ฟอร์บส์, นิกเคอิ เอเชีย และเซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ โดยรอยเตอร์ส ระบุว่า ไทยเตรียมผสมการฉีดวัคซีน 2 ชนิด คือ ซิโนแวคและแอสตราเซนเนก้า ซึ่งนี่เป็นการประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการจับคู่สลับฉีดวัคซีน ที่พัฒนาจากจีนและชาติตะวันตก เพื่อยกระดับการป้องกันไวรัส หลังงานวิจัยเบื้องต้นในไทยทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการป้องกันในระยะยาว ของสูตรฉีดซิโนแวค 2 โดส
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาเฉพาะเกี่ยวกับการผสมสูตรวัคซีนที่ปล่อยออกมา แต่มีหลายประเทศมากขึ้นที่มองหาทางนำวัคซีนที่ต่างกัน 2 ชนิดมาผสมผสานกัน หรือฉีดบูสต์เข็มที่ 3 ท่ามกลางความกังวลว่าไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ๆ อาจจะหลบหลีกวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้ได้
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาเฉพาะเกี่ยวกับการผสมสูตรวัคซีนที่ปล่อยออกมา แต่มีหลายประเทศมากขึ้นที่มองหาทางนำวัคซีนที่ต่างกัน 2 ชนิดมาผสมผสานกัน หรือฉีดบูสต์เข็มที่ 3 ท่ามกลางความกังวลว่าไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ๆ อาจจะหลบหลีกวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้ได้

ขณะที่ India Today เผยรายงานว่า ดร.โสมยา สวามีนาธาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเผยคำเตือนระหว่างการแถลงข่าวของ WHO เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 กรกฎาคม) เรื่องการนำวัคซีนโควิด 19 จากผู้ผลิตที่แตกต่างกันมาผสมผสานกัน ตามที่หลายประเทศเริ่มมีแนวคิดดำเนินการ โดยชี้ว่าเป็นกระแสนิยมที่ค่อนข้างเป็นอันตราย เนื่องจากขณะนี้ยังมีข้อมูลการวิจัยในเรื่องนี้น้อยมาก
ดร.โสมยา ย้ำว่า ขณะนี้เรายังไม่มีข้อมูลและหลักฐานใด ๆ ที่จะมาสนับสนุนเรื่องการจับคู่ผสมวัคซีน และอาจกลายเป็นสถานการณ์ปั่นป่วนในประเทศต่าง ๆ หากประชาชนเริ่มตัดสินใจกันเองว่าจะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 3 และ 4 กับใครและฉีดเมื่อไหร่
อนึ่ง ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อกำลังชั่งน้ำหนักว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ไปแล้ว 1 เข็ม ควรได้รับการฉีดบูสต์ด้วยวัคซีนชนิด mRNA อย่าง ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา หรือไม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์เดลตา อย่างไรก็ตาม ดร.โสมยา มองว่าขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่บ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนบูสต์เข็ม 3 เป็นสิ่งจำเป็น โดยข้อมูลเรื่องวัคซีนนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลงานวิจัย
ทั้งนี้ ต่อมา ดร.โสมยา ยังเผยผ่านทวิตเตอร์เพิ่มเติม หลังสำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานข่าว WHO เห็นค้านการจับคู่วัคซีน โดยชี้ว่า "ประชาชนไม่ควรเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ผู้ที่สามารถตัดสินได้คือหน่วยงานด้านสาธารณสุข ตามข้อมูลที่มีอยู่ ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสลับและจับคู่วัคซีนที่ต่างกันยังเป็นที่รอคอย จำต้องมีการประเมินทั้งในด้านความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย"
![]()

ภาพจาก ทวิตเตอร์ @doctorsoumya

ภาพจาก Vladimka production / Shutterstock.com

ภาพจาก Wolfilser / Shutterstock.com