ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 คืออะไร
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือ VITT (Vaccine-Induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia) เกิดจากการที่วัคซีนทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาผิดปกติ จนไปกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด ส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำ และก่อให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
อย่างไรก็ตาม ภาวะ VITT เป็นการเกิดลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษที่แตกต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง โดย VITT จะเกิดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนภาวะลิ่มเลือดอุดตันทั่วไปจะไม่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมด้วย อีกทั้งยังมีความแตกต่างทางปัจจัยอื่น ๆ เช่น จุดที่เกิดลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง อาการแสดงบางอย่าง รวมไปถึงการรักษา ดังข้อมูลที่ นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า อายุรแพทย์ระบบประสาท สรุปไว้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Somsak Tiamkao
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 กลุ่มเสี่ยงคือใคร
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 โอกาสเกิดมีมากแค่ไหน
อุบัติการณ์ของภาวะ VITT ในต่างประเทศอยู่ที่ 1:125,000-1:1,000,000 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ซึ่งถือว่าน้อยมาก ขณะที่ในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่า พบภาวะดังกล่าวเพียง 1 ใน 5 ล้านคนเท่านั้น น้อยกว่าที่พบในต่างประเทศ 5-40 เท่า แม้จะเป็นภาวะที่อาจเกิดอาการรุนแรง แต่หากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วก็จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที
ด้าน พ.อ. นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ความเห็นไว้ว่า ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนถือว่ามีโอกาสเกิดอยู่บ้างแต่ก็น้อยมาก ยิ่งเมื่อเทียบอัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันของผู้ป่วยที่ติดโควิด 19 ก็ต้องบอกว่าติดโควิดแล้วยังเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าหลายเท่า เพราะไวรัสจะทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกายเยอะมาก ๆ และทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นลิ่มเลือดอุดตันในปอด ลิ่มเลือดอุดตันหัวใจ ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา โดยถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะอยู่ราว ๆ 2-5% หรือ 100 คน เป็น 5 คน ซึ่งถือว่าเยอะกว่าการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนเป็นพันเท่าเลยทีเดียว
ขณะที่ สสส. ให้ข้อมูลว่า โอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิดมีน้อยมาก ไม่เกิน 10 เคส ต่อการฉีดล้านครั้ง อาการมักเกิดช่วง 4-30 วันหลังฉีด และมักเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็มแรก สำหรับโอกาสเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็มสองนั้น มีน้อยกว่าเข็มแรก 10 เท่า
อาการลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด เป็นยังไง
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน VITT จะแสดงอาการหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ประมาณ 4-30 วัน โดยสามารถเช็กสัญญาณเตือนได้จากอาการเหล่านี้
- ปวดศีรษะรุนแรง กรณีลิ่มเลือดอุดตันในสมอง
- แขน-ขาชา อ่อนแรง
- หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
- ชัก หรือหมดสติ
- ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
- เหนื่อยง่าย หายใจลำบากหรือติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก กรณีลิ่มเลือดอุดตันในปอด
- ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ คลื่นไส้ อาเจียน กรณีลิ่มเลือดอุดตันในช่องท้อง
- ปวดหลังรุนแรง
- ขาบวมแดง หรือซีด เย็น กรณีลิ่มเลือดอุดตันที่ขา
- มีจุดเลือดออก รอยจ้ำช้ำที่ผิวหนัง (พบได้น้อย)
หากมีอาการผิดปกติควรทำอย่างไร
การตรวจวินิจฉัยภาวะ VITT
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด รักษาอย่างไร
ลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันและลดความเสี่ยงได้อย่างไร
เราสามารถลดความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนได้ด้วยวิธีป้องกันตามนี้
1. ดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีน เพื่อลดความหนืดของเลือด
2. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟก็ดี เพราะกาแฟจะกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย และอาจทำให้เลือดข้นหนืดได้ แต่ถ้าจะดื่มกาแฟก็ควรดื่มน้ำให้เยอะกว่าเดิม
3. หากมีความกังวลอาจพิจารณาหยุดยาที่เพิ่มความเสี่ยง เช่น ยาคุมกำเนิด ยาฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ทำให้เลือดหนืดขึ้น โดยอาจจะหยุดยาประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งก่อนและหลังไปฉีดวัคซีน หรือปรึกษาแพทย์ประจำตัว
เช็กให้ชัวร์ ยาที่ห้ามกินก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 ตัวไหนควรงด ตัวไหนกินได้บ้าง
4. คนที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคที่ทำให้เส้นเลือดอักเสบได้ง่าย ควรควบคุมโรคให้สงบก่อน และควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาว่าฉีดได้ไหม
5. คนที่เพิ่งผ่าตัดมาและไม่สามารถเดินหรือขยับตัวได้สะดวก ควรยืดเวลาการฉีดวัคซีนออกไปก่อนจนกว่าจะกลับมาขยับตัวได้ตามปกติ โดยให้คนรอบ ๆ ตัวไปฉีดวัคซีนโควิดก่อน
บทความที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด
- อาการหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca แบบไหนต้องเฝ้าระวังใน 4-30 วัน
- 12 วิธีดูแลตัวเองหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง
- เช็กอาการหลังฉีดวัคซีนโควิด แบบไหนหายเองได้ หรืออันตรายต้องรีบหาหมอ !
- ยาที่ห้ามกินก่อนฉีดวัคซีนโควิดมีไหม เช็กให้ชัวร์ ยาอะไรกินได้ หรือควรงด
- งดกาแฟก่อนฉีดวัคซีนโควิด จำเป็นแค่ไหน ต้องงดดื่มหรือไม่กันแน่
- ความดันสูง ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม สรุปชัด ๆ ข้อปฏิบัติก่อน-หลังฉีดวัคซีน
- ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด แพ้ยา แพ้อาหาร
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 9 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
ชัวร์ก่อนแชร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สปสช.
เฟซบุ๊ก KKK-SRINAKARIN
เฟซบุ๊ก Somsak Tiamkao
สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เฟซบุ๊ก Social Marketing Thaihealth by สสส.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์