อย. อนุมัติขึ้นทะเบียน วัคซีนซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนโควิด 19 ตัวที่ 5 ของประเทศไทย สามารถนำเข้ามาฉีดให้คนไทยได้แล้ว ด้านราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงนำเข้า 1 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. ไม่หวังกำไร ใครอยากฉีดต้องมาซื้อที่นี่เท่านั้น
วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด ของซิโนฟาร์ม (Sinopharm) นำเข้าโดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เป็นวัคซีนโควิด 19 รายการที่ 5 ของประเทศไทย
โดยเป็นการขึ้นทะเบียนแบบใช้ในภาวะฉุกเฉิน วัคซีนซิโนฟาร์ม ผลิตโดยสถาบันชีววัตถุแห่งกรุงปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Product Co.LTD) เป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต “ชนิดเชื้อตาย” โดยการฉีดจะกำหนดให้ใช้ 2 เข็ม ระยะห่างกัน 28 วัน โดยวัคซีนนี้ได้รับการรับรองให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก (WHO EUL)
ภาพจาก vovidzha / Shutterstock.com
ส่วนกรณีที่ปรากฏข่าวว่า บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด จะนำเสนอวัคซีนซิโนฟาร์ม 20 ล้านโดส ให้แก่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทาง อย. ได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่า บริษัทเอกชนตามข่าวไม่ได้เป็นผู้รับอนุญาตนำเข้ายาและไม่เคยมายื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับ อย. ซึ่งตามหลักการนำเข้าวัคซีนมาในไทย ต้องเป็นผู้ที่รับอนุญาตนำเข้า และต้องมาขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับ อย. ก่อน
สำหรับ วัคซีนซิโนฟาร์ม ขณะนี้ทาง อย. ได้อนุมัติทะเบียนให้กับบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว
สำหรับวัคซีนโควิด 19 ที่ อย. อนุมัติแล้วมีดังนี้..
ศ. นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงข่าวเรื่องการนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม ระบุว่า การนำเข้าวัคซีนจากซิโนฟาร์ม เพื่อช่วยเหลือคนไทยอีกด้าน เป็นทางเลือกจากวัคซีนหลัก อีกทั้งเป็นการช่วยเหลือรัฐบาลในการเร่งฉีดวัคซีนเพื่อช่วยประชาชนจากการแพร่ระบาดโควิด 19 โดยทาง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สามารถติดต่อได้เนื่องจากเป็นหน่วยงานรัฐ ก่อนประสานให้บริษัท ไบโอจีนีเทค ไปติดต่อ เนื่องจากถ้าเป็นบริษัทเอกชนไปติดต่อเอง ทางบริษัทผู้ผลิตจะไม่รับเจรจาด้วย
การยื่นขึ้นทะเบียนกับ อย. ทุกอย่างอยู่ใต้กรอบกฎหมาย มีเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ ส่วนสาเหตุที่ อย. อนุมัติในเวลารวดเร็วเพราะมีข้อมูลครบถ้วนอยู่แล้ว เป็นเอกสารเดียวกับที่ส่งให้องค์การอนามัยโลก WHO ทาง อย. จึงอนุมัติให้เป็นวัคซีนตัวที่ 5 ของพี่น้องประชาชน โดยคาดว่าจะนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 1 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน แต่จะมาวันไหนต้องดูเรื่องการขนส่งอีกครั้ง
ทั้งนี้ วัคซีนนี้ซิโนฟาร์มไม่ได้ให้ประชาชนฉีดฟรี เนื่องจากใช้งบประมาณของราชวิทยาลัย ไม่ใช่วัคซีนของรัฐ แต่ทางเราไม่หวังนำเข้ามาทำกำไร ตั้งใจซื้อมา-ขายไป เพื่อฉีดให้ประชาชน หรือกำไรเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเรื่องราคายังกำหนดไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาเรื่องต้นทุน ค่าเก็บรักษาวัคซีน ค่าขนส่ง และราคาที่ขายนั้น รวมค่าประกันหากเกิดผลข้างเคียงกับผู้ฉีดด้วย เนื่องจากเป็นวัคซีนทางเลือก ไม่สามารถรับเงินชดเชยจากรัฐบาลได้
ภาพจาก Golden Shrimp / Shutterstock.com
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสภาอุตสาหกรรม กลุ่ม ปตท. และภาคส่วนอื่น ๆ ติดต่อมาแล้ว หากใครต้องการซื้อต้องมาติดต่อที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เท่านั้น
เมื่อถามว่า วัคซีนตัวอื่น ๆ ที่อนุมัติแล้ว เช่น วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน หรือวัคซีนโมเดอร์นา และหากในอนาคตวัคซีนสปุตนิก วี ได้รับการอนุมัติจาก อย. จะมีการนำเข้าหรือไม่ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ เพราะต้องดูว่ารัฐบาลจะเอามาเป็นวัคซีนหลักหรือไม่ วัคซีนมีกระบวนการแตกต่างไหม อยากให้มีหลากหลายทางเลือก
ขณะที่ พล.อ.ต. นพ.สันติ ศรีเสริมโภค ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุวัคซีนซิโนฟาร์ม ไม่เกี่ยวกับคนที่ลงทะเบียนฉีดวัคซีนกับราชวิทยาลัยก่อนหน้านี้ โดยผู้ที่ลงไว้จะได้รับวัคซีนของรัฐ ไม่ใช่วัคซีนทางเลือก
ภาพจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เปรียบเทียบราคาวัคซีนโควิด 19
วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด ของซิโนฟาร์ม (Sinopharm) นำเข้าโดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เป็นวัคซีนโควิด 19 รายการที่ 5 ของประเทศไทย
โดยเป็นการขึ้นทะเบียนแบบใช้ในภาวะฉุกเฉิน วัคซีนซิโนฟาร์ม ผลิตโดยสถาบันชีววัตถุแห่งกรุงปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Product Co.LTD) เป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต “ชนิดเชื้อตาย” โดยการฉีดจะกำหนดให้ใช้ 2 เข็ม ระยะห่างกัน 28 วัน โดยวัคซีนนี้ได้รับการรับรองให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก (WHO EUL)
ภาพจาก vovidzha / Shutterstock.com
ส่วนกรณีที่ปรากฏข่าวว่า บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด จะนำเสนอวัคซีนซิโนฟาร์ม 20 ล้านโดส ให้แก่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทาง อย. ได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่า บริษัทเอกชนตามข่าวไม่ได้เป็นผู้รับอนุญาตนำเข้ายาและไม่เคยมายื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับ อย. ซึ่งตามหลักการนำเข้าวัคซีนมาในไทย ต้องเป็นผู้ที่รับอนุญาตนำเข้า และต้องมาขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับ อย. ก่อน
สำหรับ วัคซีนซิโนฟาร์ม ขณะนี้ทาง อย. ได้อนุมัติทะเบียนให้กับบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว
สำหรับวัคซีนโควิด 19 ที่ อย. อนุมัติแล้วมีดังนี้..
ภาพจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม
ศ. นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงข่าวเรื่องการนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม ระบุว่า การนำเข้าวัคซีนจากซิโนฟาร์ม เพื่อช่วยเหลือคนไทยอีกด้าน เป็นทางเลือกจากวัคซีนหลัก อีกทั้งเป็นการช่วยเหลือรัฐบาลในการเร่งฉีดวัคซีนเพื่อช่วยประชาชนจากการแพร่ระบาดโควิด 19 โดยทาง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สามารถติดต่อได้เนื่องจากเป็นหน่วยงานรัฐ ก่อนประสานให้บริษัท ไบโอจีนีเทค ไปติดต่อ เนื่องจากถ้าเป็นบริษัทเอกชนไปติดต่อเอง ทางบริษัทผู้ผลิตจะไม่รับเจรจาด้วย
การยื่นขึ้นทะเบียนกับ อย. ทุกอย่างอยู่ใต้กรอบกฎหมาย มีเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ ส่วนสาเหตุที่ อย. อนุมัติในเวลารวดเร็วเพราะมีข้อมูลครบถ้วนอยู่แล้ว เป็นเอกสารเดียวกับที่ส่งให้องค์การอนามัยโลก WHO ทาง อย. จึงอนุมัติให้เป็นวัคซีนตัวที่ 5 ของพี่น้องประชาชน โดยคาดว่าจะนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 1 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน แต่จะมาวันไหนต้องดูเรื่องการขนส่งอีกครั้ง
ทั้งนี้ วัคซีนนี้ซิโนฟาร์มไม่ได้ให้ประชาชนฉีดฟรี เนื่องจากใช้งบประมาณของราชวิทยาลัย ไม่ใช่วัคซีนของรัฐ แต่ทางเราไม่หวังนำเข้ามาทำกำไร ตั้งใจซื้อมา-ขายไป เพื่อฉีดให้ประชาชน หรือกำไรเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเรื่องราคายังกำหนดไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาเรื่องต้นทุน ค่าเก็บรักษาวัคซีน ค่าขนส่ง และราคาที่ขายนั้น รวมค่าประกันหากเกิดผลข้างเคียงกับผู้ฉีดด้วย เนื่องจากเป็นวัคซีนทางเลือก ไม่สามารถรับเงินชดเชยจากรัฐบาลได้
ภาพจาก Golden Shrimp / Shutterstock.com
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสภาอุตสาหกรรม กลุ่ม ปตท. และภาคส่วนอื่น ๆ ติดต่อมาแล้ว หากใครต้องการซื้อต้องมาติดต่อที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เท่านั้น
เมื่อถามว่า วัคซีนตัวอื่น ๆ ที่อนุมัติแล้ว เช่น วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน หรือวัคซีนโมเดอร์นา และหากในอนาคตวัคซีนสปุตนิก วี ได้รับการอนุมัติจาก อย. จะมีการนำเข้าหรือไม่ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ เพราะต้องดูว่ารัฐบาลจะเอามาเป็นวัคซีนหลักหรือไม่ วัคซีนมีกระบวนการแตกต่างไหม อยากให้มีหลากหลายทางเลือก
ขณะที่ พล.อ.ต. นพ.สันติ ศรีเสริมโภค ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุวัคซีนซิโนฟาร์ม ไม่เกี่ยวกับคนที่ลงทะเบียนฉีดวัคซีนกับราชวิทยาลัยก่อนหน้านี้ โดยผู้ที่ลงไว้จะได้รับวัคซีนของรัฐ ไม่ใช่วัคซีนทางเลือก
ภาพจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา