นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ แนะรัฐต้องปรับเปลี่ยนยี่ห้อวัคซีนโควิด 19 หลังถอดบทเรียนจากยุโรปและอเมริกา กระจายฉีดวัคซีนได้รวดเร็วจนเริ่มคุมโรคได้ ขณะที่ไทยได้แค่ 2% จากเป้า 70%

ภาพจาก เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2564 นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ได้แนะนำให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เปลี่ยนยี่ห้อวัคซีนโควิด 19 และต้องสรรหาวัคซีนยี่ห้ออื่นให้ได้เร็วที่สุด เพื่อเร่งปูพรมฉีดให้ได้ไวที่สุด หลังจากที่ตอนนี้แม้จะมีการทยอย ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่คนที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้วนั้น ก็ยังมีแค่ 2% จากเป้าที่ตั้งไว้ 70% ใน 4 เดือน ทั้งนี้ นายแพทย์ยง กล่าวว่า โควิด 19 นั้น เริ่มต้นจากจีน แล้วลุกลามเข้าสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นก็เป็นตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกา และละติอเมริกา แต่ในทวีปอเมริกานั้น แม้จะมีการระบาดอย่างหนัก แต่ได้เริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนตั้งแต่ปลายปี 2563 ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 4-5 เดือน ในการฉีดวัคซีนจนมีอัตราควบคุมโรคได้ที่ 60% ของจำนวนประชากร
ทั้งนี้ โรคนี้ได้ย้อนกลับมาระบาดในเอเชียอีกครั้ง เช่น อินเดีย และกำลังเริ่มเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ทว่าในตอนนี้ประเทศไทย กลับฉีดวัคซึนได้เพียง 2 เปอร์เซ็นต์ และเราต้องทำให้ได้ถึง 70% ใน 4 เดือน ซึ่งต้องมีการฉีดวัคซีนปูพรมไปก่อน ด้วยวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่มี และตามด้วยการกระตุ้นเข็ม 2

ในขณะเดียวกัน ต้องมีการพยายามสรรหาวัควีนอื่น ๆ มาเพิ่มอีก เพราะอาจจะต้องมีการกระตุ้นภูมิให้สูงอยู่ตลอดเวลา โดยสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำการศึกษา คือ การสลับปรับเปลี่ยนชนิดหรือยี่ห้อของวัคซีน เพราะในขณะนี้ เราเริ่มเห็นปัญหาแล้ว เช่น นักเรียนหรือผู้ที่จะเดินทางไปยุโรปหรืออเมริกา ยังไม่แน่ใจว่าทางนั้นรองรับวัคซีนนของจีนหรือไม่ ถ้าไม่ยอมรับ เราจะได้ฉีดวัคซีนเพิ่มเติม หรือสลับปรับเปลี่ยนชนิดของวัคซีนที่กำลังฉีดอยู่ หรือคนที่แพ้วัคซีนในเข็มแรก ก็จะได้ฉีดวัคซีนอื่นในเข็มที่ 2 หรือกระทั่งคนที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว หากต้องการที่จะกระตุ้นภูมิก็สามารถทำได้
"การติดตามภูมิต้านทานในประชากรไทยที่ได้รับวัคซีนมีความจำเป็นอย่างยิ่งและจะต้องประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันในบริเวณที่มีการระบาด ศึกษาแนวทางการกระตุ้นในเข็มที่ 3 เพื่อให้คงสภาพภูมิที่สูงอยู่ตลอดเวลา ใช้ในการป้องกันระยะยาวต่อไป มีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มทำการศึกษา"
สธ. ยอมรับ วัคซีนแอสตร้าฯ ไม่เพียงพอ แนะให้รอเดือนมิถุนายน
ก่อนหน้านี้ นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยอมรับว่า วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า มีปัญหาขาดแคลนไม่เพียงพอในบางพื้นที่จริง ๆ แต่หากใครที่ได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าไปแล้ว ถือว่าภูมิคุ้มกันขึ้นแล้ว ซึ่งครอบคลุมการติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ ส่วนวัคซีนเข็มที่ 2 มีเพื่อพยุงภูมิคุ้มกันให้นานขึ้น ซึ่งในทางที่ดีนั้น ให้รอการจัดสรรวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าในเดือนมิถุนายนอย่างดีที่สุด

ภาพจาก diy13 / Shutterstock.com
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่