หมอจุฬาฯ วิเคราะห์สาเหตุวัคซีนโควิดมีปัญหา เกิดจากอะไร ผลข้างเคียงแบบนี้มีทางแก้

          หมอจุฬาฯ วิเคราะห์สาเหตุวัคซีนมีปัญหา อาจเป็นเพราะปนเปื้อน ชี้ผลข้างเคียงทำให้เส้นเลือดเกร็งและหดตัว เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือด ฉีดต่อไปได้แต่ต้องเฝ้าดูอาการให้ดี

หมอจุฬาฯ วิเคราะห์สาเหตุวัคซีนโควิด ทำอัมพฤกษ์ เกิดจากอะไร ผลข้างเคียงแบบนี้มีทางแก้
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

          เป็นเรื่องที่หลายคนกังวลใจไม่น้อยไปกว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 นั่นก็คือ วัคซีนโควิด 19 ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังทยอยฉีดวัคซีน 2 ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งหลังการฉีดพบว่ามีผลข้างเคียงหลายเคสเลยทีเดียว บางเคสมีอาการคล้ายอัมพฤกษ์ ก่อนที่จะค่อย ๆ ดีขึ้น ทำให้หลายคนกังวลใจเรื่องความปลอดภัยหลังการฉีด



          ล่าสุด วันที่ 22 เมษายน 2564 ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์คำอธิบายจากอาจารย์หมอหลายท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ ระบุว่า ลักษณะที่เกิดขึ้นทำให้เส้นเลือดเกร็งและหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองไม่เพียงพอ และอาจเกิดขึ้นจนทำให้มีอาการเฉพาะส่วนได้ พิสูจน์แล้วจากการสอดสายฉีดสีเข้าเส้นเลือดสมองและให้ยาขยายเส้นเลือดผู้ป่วย อาการก็ดีขึ้นทันที

          ในขณะเดียวกันต้องระวัง ถ้าเส้นเลือดเกร็งและหดตัวนานจะเกิดเส้นเลือดตันซ้ำซ้อนและเนื้อสมองตายถาวร จำเป็นต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งหลายแห่งใช้วิธีนี้แล้วผู้ป่วยดีขึ้นเช่นกัน

          ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่น่าจากตัววัคซีน แต่อาจจะมีสิ่งปนเปื้อนในขณะเตรียม หรือการบรรจุขวด ซึ่งทางการจะติดต่อบริษัทผู้ผลิตถึงความผิดปกตินี้ เนื่องจากเอกสารแนบส่วนประกอบของวัคซีน ไม่สามารถอธิบายสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้ได้

หมอจุฬาฯ วิเคราะห์สาเหตุวัคซีนโควิด ทำอัมพฤกษ์ เกิดจากอะไร ผลข้างเคียงแบบนี้มีทางแก้
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

          สิ่งที่ต้องทำคือ ฉีดวัคซีนต่อไป และเตรียมการเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 30 นาที และมีข้อระวังตัวอีกอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเมื่อกลับบ้าน และสามารถให้การรักษาได้ทันขณะที่เกิดอาการ ซึ่งยารับประทานเพื่อขยายหลอดเลือดมีอยู่แล้วทุกโรงพยาบาล และถ้าไม่ได้ผลจะเป็นรูปแบบการสอดใส่สายเข้าเส้นเลือดเพื่อให้ยาขยายหลอดเลือด แม้ดูเหมือนเป็นกระบวนการที่ยุ่งยาก แต่ปฏิบัติได้แน่นอนและไม่ควรเป็นอุปสรรคสำหรับการให้วัคซีนคนไทยทุกคน

          อาการดังกล่าวทราบดีมาแต่โบราณ vasospaatic amaurosis fugax ที่ตาบอดข้างเดียวหรือ 2 ข้าง และ reversible cerebral vasoconstriction syndrome (RCVS) ซึ่งมีลักษณะทับซ้อนกับ PRES posterior reversible encephalopathy รวมทั้งไมเกรนที่มีผลแทรกซ้อนทำให้หลอดเลือดเกร็ง

          กลุ่มอาการเหล่านี้ แม้ว่าส่วนมากจะกลับคืนมาได้เอง อธิบายได้ว่าทำไมการตรวจคอมพิวเตอร์สมอง CT หรือคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็ก MRI จะไม่เจอความผิดปกติ 70% แต่ผู้ป่วยที่มีการหดเกร็งนาน โดยเฉพาะในกรณีของวัคซีนนี้จะทำให้เส้นเลือดตันและเกิดความพิการถาวรได้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
หมอจุฬาฯ วิเคราะห์สาเหตุวัคซีนโควิดมีปัญหา เกิดจากอะไร ผลข้างเคียงแบบนี้มีทางแก้ อัปเดตล่าสุด 1 มิถุนายน 2564 เวลา 15:00:51 14,801 อ่าน
TOP