รวมทุกคำตอบ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับเข้าใจง่าย ที่ไหนปิด-ที่ไหนเปิด-ใครต้องอยู่บ้าน


          รวมทุกคำถาม คำตอบ เกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เช็กเลยที่ไหนต้องปิด ที่ไหนต้องเปิด และต้องทำตัวอย่างไรในภาวะ COVID-19 ระบาด



ภาพจาก รัฐบาลไทย

               จากกรณี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 19 ที่ขณะนี้เริ่มมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยอดผู้ป่วยสะสม อยู่ที่ 934 ราย นั้น

ทั้งนี้ เนื้อหาใหญ่ใจความของ พ.ร.ก. ฉกเฉิน มีดังนี้

- ห้ามใครเข้าประเทศ

          คนต่างชาติ ทั้งทางอากาศ ทางน้ำ ทางบก ยกเว้นคณะทูต ผู้ขนส่งสินค้าจำเป็น นักบิน ลูกเรือ แต่ต้องมีใบรับรอง ส่วนคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศ ต้องมีใบรับรองแพทย์ fit to fly หรือติดต่อขอหนังสือจากสถานทูต

- ใครที่ต้องอยู่บ้าน
          ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป, คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
          
- สถานที่ที่ปิดทุกจังหวัด
          สถานที่แสดงมหรสพต่าง ๆ

-สถานที่ที่เปิดบางจังหวัด (แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละที่)
           แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ศาสนสถาน สถานีขนส่ง ตลาด ห้างสรรพสินค้า


รูปภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ภาพจาก Words / shutterstock.com

- สถานที่ที่เปิดแน่นอน
          โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ร้านอาหาร (ต้องซื้อไปกินที่บ้าน) ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาดขายอาหารและสินค้าจำเป็น ปั๊มน้ำมัน ธุรกิจออนไลน์-เดลิเวอรี่ ซูเปอร์มาร์เกตในห้าง แผนกยา ของใช้จำเป็น สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐ นอกจากที่มีการสั่งปิดไปก่อนหน้านี้

- ต้องการเดินทางข้ามจังหวัด ทำอย่างไร
          ผู้โดยสารต้องนั่งห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร สวมหน้ากากอนามัย มีเจลล้างมือติดตัว ยอมให้ลงแอปพลิเคชันติดตามตัว พกบัตรประชาชนและกรอกแบบฟอร์มข้อมูลทั่วไป หากเจ้าหน้าที่วัดไข้แล้วอุณหภูมิสูง จะถูกกักตัวทันที

- จัดงานศพได้ไหม
          จัดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องปฏิบัติตามแผนป้องกันโรค

          นอกจากนี้ ยังมีมาตรการอื่น ๆ เช่น ห้ามกักตุนสินค้า เช่น ยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม เครื่องอุปโภคบริโภค และห้ามเผยแพร่ข่าวปลอม ห้ามชุมนุมและมั่วสุม

          ในวันเดียวกัน (25 มีนาคม 2563) นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการโพสต์ข้อความกล่าวถึง พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีการอธิบายข้อสงสัยสำหรับการปฏิบัติตัว เนื่องจากอาจยังมีประชาชนที่ยังไม่เข้าใจชัดเจน หรือเข้าใจผิด


โดยมีการตอบคำถามข้อสงสัยดังนี้...

- ปิดประเทศไหม ??
          ยังไม่ปิด แต่ห้ามคนต่างชาติเข้ามาในประเทศ ยกเว้นคนไทย

- ปิดเมืองไหม ??
          ยังไม่ปิดเมือง แต่ไม่สนับสนุนให้เดินทาง ถ้าเดินทางจะมีการตรวจสอบ ต้องเว้นที่นั่งอย่างน้อย 1 เมตร มีโทรศัพท์มือถือสำหรับโหลดแอปพลิเคชันตรวจอุณหภูมิตลอดทาง สวมหน้ากากอนามัย มีเจลล้างมือ หากตรวจพบภาวะเสี่ยงจะส่งไปกักกันทันที

- ปิดบ้านไหม ??
          ยังไม่ปิด แต่กึ่ง ๆ ปิดสำหรับคน 3 ประเภท คือ อายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

- ประกาศเคอร์ฟิวไหม ??
          ยังไม่ประกาศเคอร์ฟิว ยังออกจากบ้านได้ปกติ ยกเว้นบุคคล 3 ประเภทข้างต้น

- รัฐสนับสนุนให้เปิดและขอร้องอย่าปิด
          โรงงานผลิต โรงพยาบาล ร้านขายยา ธนาคาร ATM ร้านอาหารแต่ซื้อกลับบ้าน ห้างเปิดเฉพาะซูเปอร์มาร์เกต อาหาร ยา สิ่งของจำเป็น การบริการขนส่งสินค้า การซื้อหาอาหารได้ปกติ ห้ามกักตุน สถานที่ราชการเปิดปกติ


ภาพจาก Live NBT2HD


>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID 19 << ได้ที่นี่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รวมทุกคำตอบ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับเข้าใจง่าย ที่ไหนปิด-ที่ไหนเปิด-ใครต้องอยู่บ้าน อัปเดตล่าสุด 26 มีนาคม 2563 เวลา 11:06:10 15,861 อ่าน
TOP