เปิดร่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังนายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงมติ ครม. นำมาใช้ควบคุม โควิด 19 ห้ามนำเสนอข่าวที่บิดเบือน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam
จากกรณี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เตรียมแถลงเพื่อใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยจะมีรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติ หลังมติการประชุมคณะรัฐมนตรีในช่วงบ่ายของวันนี้ (24 มีนาคม 2563)
อ่านข่าว : นายกฯ แถลงใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังโควิด 19 ระบาดรุนแรง เริ่ม 26 มี.ค. นี้
- พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐบาล ในการควบคุมสถานการณ์ที่อาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ โดยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้บังคับใช้ตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันประกาศ
- ข้อห้ามตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.9) ประกอบด้วย
1. ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด
2. ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือมั่วสุมกัน
3. ห้ามเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
4. ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ
5. ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
6. ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด เพื่อความปลอดภัย
1. มีอำนาจจับกุม ควบคุมบุคคลต้องสงสัย
2. มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลต้องสงสัยมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่
3. มีอำนาจออกคำสั่งยึด อายัดอาวุธ
4. มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ทำลาย
5. มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบ สิ่งพิมพ์ การสื่อสารด้วยวิธีต่าง ๆ
6. ห้ามมิให้กระทำ หรือให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และประชาชน
7. มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร
8. มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีเป็นผู้ต้องสงสัย
9. การซื้อ-ขายวัสดุอุปกรณ์ใด ๆ ซึ่งอาจใช้ในการก่อการร้าย ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID 19 << ได้ที่นี่