ชายชรา วัย 82 ป่วยติดเตียง ติดโควิด 19 น้องสาวพ้อแจ้ง รพ. บอกไม่มีรถรับ โทร. สายด่วน 1669 จนท. บอกไม่มีนโยบายรับผู้ป่วยโควิด สุดท้ายเสียชีวิตในบ้าน
วันที่ 11 เมษายน 2565 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ รายงานอีกหนึ่งเหตุการณ์ความสูญเสียจากโควิด 19 กรณีวานนี้ (10 เมษายน) เกิดเหตุมีผู้ป่วยโควิดเสียชีวิตคาบ้านพักอีก 1 ราย เหตุเกิดในพื้นที่ ต.วัดชะลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
คุณวรรณา อายุ 64 ปี น้องสาวของนายยงยุทธ์ อายุ 82 ปี ผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ครอบครัวอาศัยกัน 4 คน พี่ชายที่เสียชีวิตนั้นป่วยเป็นโรคไตและติดเตียง ก่อนหน้านี้ 3 คนในบ้านทยอยติดโควิดและรักษาตัวหาย ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พี่ชายมีอาการอ่อนเพลียไม่กินอาหาร และหายใจหอบเหนื่อย ตอนนั้นก็คิดว่าคงเป็นอาการของโรคไตกำเริบ แต่เข้าวันที่ 10 เมษายน พี่ชายอาการไม่ค่อยดี กินอาหารไม่ได้ จึงขอความช่วยเหลือ อสม. และเพื่อนบ้าน ประสานเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK และพบว่าพี่ชายติดโควิด 19
เมื่อพบว่าพี่ชายติดโควิด อสม. ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิบัตร 30 บาท โรงพยาบาลบอกว่าไม่มีรถมารับให้ญาติพาผู้ป่วยมาเอง ทั้งที่แจ้งไปแล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงและมีโรคประจำตัว เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันให้พามาหาหมอเอง จากนั้นจึงลองประสานหารถรับผู้ป่วย แม้ยินดีจะออกค่าใช้จ่ายแต่ก็หารถไม่ได้ ยอมรับว่ารู้สึกงง และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป
จากนั้นช่วงเที่ยงคืน ได้โทร. ขอความช่วยเหลืออาสาเส้นด้ายเข้ามาช่วยประเมินอาการพี่ชาย ปรากฏว่าวัดค่าออกซิเจนไม่ได้เพราะเสียชีวิตแล้ว หลังเหตุการณ์นี้รู้สึกคาใจว่า ทำไมมีแต่คนรังเกียจผู้ป่วยโควิด โทร. หาที่ไหนขอความช่วยเหลือใครก็ไม่มีใครช่วย โดยพี่ชายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่ได้รับวัคซีน คิดว่าอยู่แต่ที่บ้านคงไม่ติดเชื้อ ก่อนเสียชีวิตมีอาการหายใจหอบเหนื่อย ก่อนจะหลับและแน่นิ่งไป มองว่าหากพี่ชายได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่แรกคงไม่เสียชีวิต
ด้านคุณเผชิญ อายุ 71 ปี เพื่อนบ้าน เล่าว่า ตนช่วยประสาน อสม. ประสานโรงพยาบาลก็ไม่ได้ จึงโทร. หาสายด่วน 1669 ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่มีนโยบายรับ-ส่งผู้ป่วยโควิด ให้ญาติดำเนินการเอง แม้ตนแจ้งไปว่าผู้ป่วยคนนี้ติดเตียงและมีโรคประจำตัวจึงเดินทางไปเองไม่ได้ เจ้าหน้าที่ก็ย้ำเหมือนเดิมว่าไม่มีนโยบายช่วยส่งผู้ป่วยโควิด ยอมรับว่ารู้สึกตกใจที่ได้ยินประโยคนี้ และอยากถามภาครัฐว่า ทำไมนโยบายที่วางไว้ช่วยผู้ป่วยโควิดแต่พอเกิดเหตุจริงผู้ป่วยกลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ หลังจากเสียชีวิตแล้ว ทางตำรวจให้ญาติดำเนินกับศพเอง ซึ่งญาติก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงขอความช่วยเหลือไปที่กลุ่มอาสาเส้นด้ายช่วยประสานรับศพไปฌาปนกิจต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้
วันที่ 11 เมษายน 2565 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ รายงานอีกหนึ่งเหตุการณ์ความสูญเสียจากโควิด 19 กรณีวานนี้ (10 เมษายน) เกิดเหตุมีผู้ป่วยโควิดเสียชีวิตคาบ้านพักอีก 1 ราย เหตุเกิดในพื้นที่ ต.วัดชะลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
คุณวรรณา อายุ 64 ปี น้องสาวของนายยงยุทธ์ อายุ 82 ปี ผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ครอบครัวอาศัยกัน 4 คน พี่ชายที่เสียชีวิตนั้นป่วยเป็นโรคไตและติดเตียง ก่อนหน้านี้ 3 คนในบ้านทยอยติดโควิดและรักษาตัวหาย ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พี่ชายมีอาการอ่อนเพลียไม่กินอาหาร และหายใจหอบเหนื่อย ตอนนั้นก็คิดว่าคงเป็นอาการของโรคไตกำเริบ แต่เข้าวันที่ 10 เมษายน พี่ชายอาการไม่ค่อยดี กินอาหารไม่ได้ จึงขอความช่วยเหลือ อสม. และเพื่อนบ้าน ประสานเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK และพบว่าพี่ชายติดโควิด 19
เมื่อพบว่าพี่ชายติดโควิด อสม. ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิบัตร 30 บาท โรงพยาบาลบอกว่าไม่มีรถมารับให้ญาติพาผู้ป่วยมาเอง ทั้งที่แจ้งไปแล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงและมีโรคประจำตัว เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันให้พามาหาหมอเอง จากนั้นจึงลองประสานหารถรับผู้ป่วย แม้ยินดีจะออกค่าใช้จ่ายแต่ก็หารถไม่ได้ ยอมรับว่ารู้สึกงง และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป
จากนั้นช่วงเที่ยงคืน ได้โทร. ขอความช่วยเหลืออาสาเส้นด้ายเข้ามาช่วยประเมินอาการพี่ชาย ปรากฏว่าวัดค่าออกซิเจนไม่ได้เพราะเสียชีวิตแล้ว หลังเหตุการณ์นี้รู้สึกคาใจว่า ทำไมมีแต่คนรังเกียจผู้ป่วยโควิด โทร. หาที่ไหนขอความช่วยเหลือใครก็ไม่มีใครช่วย โดยพี่ชายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่ได้รับวัคซีน คิดว่าอยู่แต่ที่บ้านคงไม่ติดเชื้อ ก่อนเสียชีวิตมีอาการหายใจหอบเหนื่อย ก่อนจะหลับและแน่นิ่งไป มองว่าหากพี่ชายได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่แรกคงไม่เสียชีวิต
ด้านคุณเผชิญ อายุ 71 ปี เพื่อนบ้าน เล่าว่า ตนช่วยประสาน อสม. ประสานโรงพยาบาลก็ไม่ได้ จึงโทร. หาสายด่วน 1669 ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่มีนโยบายรับ-ส่งผู้ป่วยโควิด ให้ญาติดำเนินการเอง แม้ตนแจ้งไปว่าผู้ป่วยคนนี้ติดเตียงและมีโรคประจำตัวจึงเดินทางไปเองไม่ได้ เจ้าหน้าที่ก็ย้ำเหมือนเดิมว่าไม่มีนโยบายช่วยส่งผู้ป่วยโควิด ยอมรับว่ารู้สึกตกใจที่ได้ยินประโยคนี้ และอยากถามภาครัฐว่า ทำไมนโยบายที่วางไว้ช่วยผู้ป่วยโควิดแต่พอเกิดเหตุจริงผู้ป่วยกลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ หลังจากเสียชีวิตแล้ว ทางตำรวจให้ญาติดำเนินกับศพเอง ซึ่งญาติก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงขอความช่วยเหลือไปที่กลุ่มอาสาเส้นด้ายช่วยประสานรับศพไปฌาปนกิจต่อไป
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้