สธ. เผยประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน 8 ราย รอผลยืนยันอีก 3 ราย - เฝ้าระวัง ไฮบริด เชื้อลูกผสม เดลตา - โอไมครอน
ภาพจาก ข่าวช่องวัน
วันที่ 13 ธันวาคม 2564 ข่าวช่องวัน รายงานว่า นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้พบผู้สงสัยติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน รวม 11 คน ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการแล้ว 8 คน ที่เหลือรอผลภายใน 3 วัน
- รายที่ 1 ชายอเมริกัน อายุ 35 ปี
- รายที่ 2-3 เป็นล่ามหญิงไทยมาจากไนจีเรีย
- รายที่ 4 ชายไทย อายุ 41 ปี ทำงานที่ยูเอ็น กลับมาจากดีอาร์คองโก เนื่องจากเชื้อน้อยจึงรอตรวจซ้ำ
- รายที่ 5 ชายไทย อายุ 39 ปี มาจากไนจีเรีย
- รายที่ 6 ชายชาวโคลัมเบีย อายุ 62 ปี มาจากไนจีเรีย
- รายที่ 7 ชายชาวอังกฤษ เดินทางมาจากอังกฤษ
- รายที่ 8 ชายไทย อายุ 37 ปี เดินทางมาจาก แอฟริกาใต้
- รายที่ 9 ชายอเมริกัน อายุ 40 ปี เดินทางมาจากสหรัฐฯ และต่อเครื่องที่เกาหลีใต้
- รายที่ 10 ชายชาวเบรารุส เดินทางมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- รายที่ 11 ชายชาวอังกฤษ เดินทางมาจากอังกฤษ เนื่องจากเพิ่งเดินทางมาถึง จึงต้องรอการตรวจยืนยัน
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการยืนยันมีรายที่ 4, รายที่ 6 และรายที่ 11 โดยทั้งหมดนี้เดินทางเข้ามาด้วยระบบ T&G 5 คน, Sandbox 3 คน และ ASQ 3 คน ส่วนความกังวลเรื่องเชื้อไฮบริด ที่จะเป็นลูกผสมระหว่างเชื้อเดลตาและโอไมครอน ขอยืนยันว่าขณะนี้ไทยยังไม่มี การจะเกิดเชื้อไฮบริดได้ หมายความต้องเป็นการผสมกันระหว่างเชื้อไวรัสทั้ง 2 ตัว และก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวเสมอไปว่า เชื้อไวรัสผสมรวมกันต้องรุนแรงและอันตรายเสมอไป แต่ก็ยังต้องติดตามเฝ้าระวังต่อไป
ทั้งนี้ การกลายพันธุ์เป็นเรื่องปกติของเชื้อไวรัส และขณะนี้ก็มีการกลายพันธุ์จากเชื้อเดลตาไปหลายร้อยตัว แต่ตำแหน่งสำคัญพื้นฐานยังเหมือนเดิมก็ทำให้รู้ว่า เชื้อยังเหมือนตัวแม่ แต่มีลูกและมีที่มาจากตัวเดิม เหมือนอย่างเดลตาพลัส ในประเทศไทย ก็ยังเคยพบ คนงานจาแคมป์ก่อสร้าง มีเชื้อไวรัส 2 สายพันธุ์ในคนคนเดียวมาแล้ว ฉะนั้นก็ต้องเฝ้าระวังต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่องวัน
ภาพจาก ข่าวช่องวัน
วันที่ 13 ธันวาคม 2564 ข่าวช่องวัน รายงานว่า นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้พบผู้สงสัยติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน รวม 11 คน ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการแล้ว 8 คน ที่เหลือรอผลภายใน 3 วัน
- รายที่ 1 ชายอเมริกัน อายุ 35 ปี
- รายที่ 2-3 เป็นล่ามหญิงไทยมาจากไนจีเรีย
- รายที่ 4 ชายไทย อายุ 41 ปี ทำงานที่ยูเอ็น กลับมาจากดีอาร์คองโก เนื่องจากเชื้อน้อยจึงรอตรวจซ้ำ
- รายที่ 5 ชายไทย อายุ 39 ปี มาจากไนจีเรีย
- รายที่ 6 ชายชาวโคลัมเบีย อายุ 62 ปี มาจากไนจีเรีย
- รายที่ 7 ชายชาวอังกฤษ เดินทางมาจากอังกฤษ
- รายที่ 8 ชายไทย อายุ 37 ปี เดินทางมาจาก แอฟริกาใต้
- รายที่ 9 ชายอเมริกัน อายุ 40 ปี เดินทางมาจากสหรัฐฯ และต่อเครื่องที่เกาหลีใต้
- รายที่ 10 ชายชาวเบรารุส เดินทางมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- รายที่ 11 ชายชาวอังกฤษ เดินทางมาจากอังกฤษ เนื่องจากเพิ่งเดินทางมาถึง จึงต้องรอการตรวจยืนยัน
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการยืนยันมีรายที่ 4, รายที่ 6 และรายที่ 11 โดยทั้งหมดนี้เดินทางเข้ามาด้วยระบบ T&G 5 คน, Sandbox 3 คน และ ASQ 3 คน ส่วนความกังวลเรื่องเชื้อไฮบริด ที่จะเป็นลูกผสมระหว่างเชื้อเดลตาและโอไมครอน ขอยืนยันว่าขณะนี้ไทยยังไม่มี การจะเกิดเชื้อไฮบริดได้ หมายความต้องเป็นการผสมกันระหว่างเชื้อไวรัสทั้ง 2 ตัว และก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวเสมอไปว่า เชื้อไวรัสผสมรวมกันต้องรุนแรงและอันตรายเสมอไป แต่ก็ยังต้องติดตามเฝ้าระวังต่อไป
ทั้งนี้ การกลายพันธุ์เป็นเรื่องปกติของเชื้อไวรัส และขณะนี้ก็มีการกลายพันธุ์จากเชื้อเดลตาไปหลายร้อยตัว แต่ตำแหน่งสำคัญพื้นฐานยังเหมือนเดิมก็ทำให้รู้ว่า เชื้อยังเหมือนตัวแม่ แต่มีลูกและมีที่มาจากตัวเดิม เหมือนอย่างเดลตาพลัส ในประเทศไทย ก็ยังเคยพบ คนงานจาแคมป์ก่อสร้าง มีเชื้อไวรัส 2 สายพันธุ์ในคนคนเดียวมาแล้ว ฉะนั้นก็ต้องเฝ้าระวังต่อไป
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID 19 << ได้ที่นี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่องวัน