โซเชียลแชร์สนั่น คลินิกใน จ.สระแก้ว ฉีดวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน อ้างคนไข้หิ้วมาเอง รับฉีดคิด 2,800 บาท สธ. เร่งตรวจสอบด่วน ชี้นำเข้าโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นวัคซีนผิดกฎหมาย
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 สปริงนิวส์ รายงานว่า ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดี สบส. กล่าวถึงกรณีที่โซเชียลแชร์ภาพมีคนฉีดวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.สระแก้ว ว่า วัคซีนที่จะฉีดได้ ต้องเป็นวัคซีนที่ผ่านการอนุมัติจาก อย. และวัคซีนต้องมีกลไกในการบริหารจัดการ โดยสถานพยาบาลเป็นเจ้าของวัคซีนนั้น เพราะจะมีเรื่องความปลอดภัยในการจัดเก็บวัคซีน ไม่ใช่ว่าจะเอาอะไรมาฉีดให้คนไข้ หมอต้องตรวจสอบคุณภาพวัคซีนว่าถูกต้องตามกฎหมายของไทยหรือไม่ เพราะการฉีดวัคซีนจะส่งผลต่อการออกใบรับรอง
ทพ.อาคม กล่าวต่อว่า ต่อให้ไม่ใช่วัคซีนโควิด 19 แต่ยาหรือวัคซีนใด ๆ ก็ตาม ตามหลักแล้วคนไข้มาที่คลินิก ทางคลินิกจะต้องใช้ยาหรือวัคซีนของคลินิกเองในการให้บริการคนไข้ หากคลินิกไม่มีกำลังเพียงพอ จะมี 2 ส่วนที่ทำได้คือ ประสานส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพกว่า หรือประสานสถานพยาบาลอื่น ๆ เพื่อขอยืมยา หรืออะไรก็ตามเพื่อมาให้บริการผู้ป่วย นี่คือหลักที่ถูกต้อง ไม่ใช่ไปเอาอะไรก็ไม่รู้มาฉีดให้ ยิ่งคนไข้หิ้วมาเองก็ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
ภาพจาก Vladimka production / Shutterstock.com
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มีการขึ้นทะเบียนในไทยจริง แต่ยังไม่มีเจ้าภาพในการนำเข้ามาฉีด ดังนั้นหลายฝ่ายมีความกังวลว่าจะเกิดการหิ้วหรือค้าวัคซีนเถื่อน ทพ.อาคม กล่าวว่า การนำเข้าวัคซีนปกติต้องผ่าน อย. และคนนำเข้าควรเป็นสถานพยาบาล ต้องมีการจัดเก็บที่เหมาะสม เพื่อส่งต่อสถานพยาบาล เรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบก่อน แต่คิดว่าคงไม่มีใครหิ้ววัคซีนข้ามชาติ แต่จะเป็นประเด็นเรื่องการเก็บไม่เหมาะสม ทำให้วัคซีนที่ฉีดไม่มีประโยชน์ เผลอ ๆ อาจจะมีปัญหาแทรกซ้อน
ด้าน พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ตามข้อบังคับจริยธรรมวิชาชีพ ปี 2549 มีหลายมาตราที่กล่าวไว้ในเรื่องนี้ โดยมาตรา 22 ระบุว่า แพทย์จะต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้น การให้ยาใด ๆ จำเป็นต้องรู้ชนิด ขนาดของยา และความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ส่วนกรณีแพทย์ฉีดวัคซีนในกรณีที่ผู้ป่วยนำยาหรือวัคซีนมาเองก็สามารถทำได้ แต่ทำได้ในกรณีที่มีใบสั่งฉีดยา หรือมีประวัติ หรือมีข้อมูลจากโรงพยาบาล
ส่วนในกรณีที่ จ.สระแก้ว เนื่องจากวัคซีนชนิดที่ไม่มีในประเทศไทยนั้น นับว่ายังไม่ได้มีการรรับรองการใช้ที่ปลอดภัยในประเทศ ดังนั้นถ้าไม่ได้มีหลักฐานเอกสาร ปกติแพทย์ไม่ควรจะตัดสินใจฉีดให้โดยไม่ทราบที่มาที่ไป แต่ในกรณีดังกล่าวต้องตรวจสอบก่อนว่ามีเอกสารอะไรกำกับหรือไม่ หรือเป็นเอกสารมาจากประเทศที่มีวัคซีนนี้ใช้อยู่ หรือมีหลักฐานการฉีดมาจากต่างประเทศ และมีใบรับรองฉีดเป็นเข็มที่ 2 หรือไม่ อย่างไร ที่สำคัญคือวัคซีนต้องมีกระบวนการจัดเก็บที่ถูกต้อง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น หรือมีมีผู้ร้องเรียน แพทย์ก็ต้องรับผิดชอบ
ด้าน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า วัคซีนที่นำเข้าโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตนำเข้า ก็ถือเป็นวัคซีนผิดกฎหมายทั้งหมด เป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน แม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับทะเบียนแล้ว แต่ผู้นำเข้าไม่ใช่คนที่ได้รับอนุญาต ก็ถือว่าผิดกฎหมาย ทั้งนี้จะประสานไปที่ สสจ.สระแก้ว เพื่อให้ตรวจสอบเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาการลักลอบนำเข้าวัคซีนในประเทศ ผู้ที่ได้รับอนุญานำเข้าตอนนี้ คือ บริษัท แจนเซ่น ซีแลค จำกัด ดังนั้นหากเป็นคนอื่น ๆ บริษัทอื่นนำเข้ามาถือว่าผิด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สปริงนิวส์
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 สปริงนิวส์ รายงานว่า ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดี สบส. กล่าวถึงกรณีที่โซเชียลแชร์ภาพมีคนฉีดวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.สระแก้ว ว่า วัคซีนที่จะฉีดได้ ต้องเป็นวัคซีนที่ผ่านการอนุมัติจาก อย. และวัคซีนต้องมีกลไกในการบริหารจัดการ โดยสถานพยาบาลเป็นเจ้าของวัคซีนนั้น เพราะจะมีเรื่องความปลอดภัยในการจัดเก็บวัคซีน ไม่ใช่ว่าจะเอาอะไรมาฉีดให้คนไข้ หมอต้องตรวจสอบคุณภาพวัคซีนว่าถูกต้องตามกฎหมายของไทยหรือไม่ เพราะการฉีดวัคซีนจะส่งผลต่อการออกใบรับรอง
ทพ.อาคม กล่าวต่อว่า ต่อให้ไม่ใช่วัคซีนโควิด 19 แต่ยาหรือวัคซีนใด ๆ ก็ตาม ตามหลักแล้วคนไข้มาที่คลินิก ทางคลินิกจะต้องใช้ยาหรือวัคซีนของคลินิกเองในการให้บริการคนไข้ หากคลินิกไม่มีกำลังเพียงพอ จะมี 2 ส่วนที่ทำได้คือ ประสานส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพกว่า หรือประสานสถานพยาบาลอื่น ๆ เพื่อขอยืมยา หรืออะไรก็ตามเพื่อมาให้บริการผู้ป่วย นี่คือหลักที่ถูกต้อง ไม่ใช่ไปเอาอะไรก็ไม่รู้มาฉีดให้ ยิ่งคนไข้หิ้วมาเองก็ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
ภาพจาก Vladimka production / Shutterstock.com
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มีการขึ้นทะเบียนในไทยจริง แต่ยังไม่มีเจ้าภาพในการนำเข้ามาฉีด ดังนั้นหลายฝ่ายมีความกังวลว่าจะเกิดการหิ้วหรือค้าวัคซีนเถื่อน ทพ.อาคม กล่าวว่า การนำเข้าวัคซีนปกติต้องผ่าน อย. และคนนำเข้าควรเป็นสถานพยาบาล ต้องมีการจัดเก็บที่เหมาะสม เพื่อส่งต่อสถานพยาบาล เรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบก่อน แต่คิดว่าคงไม่มีใครหิ้ววัคซีนข้ามชาติ แต่จะเป็นประเด็นเรื่องการเก็บไม่เหมาะสม ทำให้วัคซีนที่ฉีดไม่มีประโยชน์ เผลอ ๆ อาจจะมีปัญหาแทรกซ้อน
ด้าน พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ตามข้อบังคับจริยธรรมวิชาชีพ ปี 2549 มีหลายมาตราที่กล่าวไว้ในเรื่องนี้ โดยมาตรา 22 ระบุว่า แพทย์จะต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้น การให้ยาใด ๆ จำเป็นต้องรู้ชนิด ขนาดของยา และความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ส่วนกรณีแพทย์ฉีดวัคซีนในกรณีที่ผู้ป่วยนำยาหรือวัคซีนมาเองก็สามารถทำได้ แต่ทำได้ในกรณีที่มีใบสั่งฉีดยา หรือมีประวัติ หรือมีข้อมูลจากโรงพยาบาล
ส่วนในกรณีที่ จ.สระแก้ว เนื่องจากวัคซีนชนิดที่ไม่มีในประเทศไทยนั้น นับว่ายังไม่ได้มีการรรับรองการใช้ที่ปลอดภัยในประเทศ ดังนั้นถ้าไม่ได้มีหลักฐานเอกสาร ปกติแพทย์ไม่ควรจะตัดสินใจฉีดให้โดยไม่ทราบที่มาที่ไป แต่ในกรณีดังกล่าวต้องตรวจสอบก่อนว่ามีเอกสารอะไรกำกับหรือไม่ หรือเป็นเอกสารมาจากประเทศที่มีวัคซีนนี้ใช้อยู่ หรือมีหลักฐานการฉีดมาจากต่างประเทศ และมีใบรับรองฉีดเป็นเข็มที่ 2 หรือไม่ อย่างไร ที่สำคัญคือวัคซีนต้องมีกระบวนการจัดเก็บที่ถูกต้อง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น หรือมีมีผู้ร้องเรียน แพทย์ก็ต้องรับผิดชอบ
ด้าน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า วัคซีนที่นำเข้าโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตนำเข้า ก็ถือเป็นวัคซีนผิดกฎหมายทั้งหมด เป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน แม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับทะเบียนแล้ว แต่ผู้นำเข้าไม่ใช่คนที่ได้รับอนุญาต ก็ถือว่าผิดกฎหมาย ทั้งนี้จะประสานไปที่ สสจ.สระแก้ว เพื่อให้ตรวจสอบเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาการลักลอบนำเข้าวัคซีนในประเทศ ผู้ที่ได้รับอนุญานำเข้าตอนนี้ คือ บริษัท แจนเซ่น ซีแลค จำกัด ดังนั้นหากเป็นคนอื่น ๆ บริษัทอื่นนำเข้ามาถือว่าผิด
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID 19 << ได้ที่นี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สปริงนิวส์