สรุปดราม่า #ไฟเซอร์นักเรียน อยากฉีดแต่วัคซีนไม่พอ - สร้างเทรนด์ไม่ยอมฉีดกัน


         สรุปดราม่า ไฟเซอร์นักเรียน เมื่อเริ่มคิกออฟฉีดวัคซีนให้นักเรียน ปรากฏ คนอยากฉีดไม่ได้ฉีด จำนวนที่ลงชื่อเกินจำนวนวัคซีน จนต้องมาออก Tiktok ด่า ในขณะที่บางส่วนเห็นเพื่อนไม่ฉีด ก็เลยไม่ฉีด พร้อมเผย วัคซีนไฟเซอร์ที่ฉีดในเด็กนักเรียน ปลอดภัยไหม จะเป็นโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือเปล่า

ไฟเซอร์นักเรียน
ภาพจาก diy13 / Shutterstock.com

          กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงข้ามวันข้ามคืน กับดราม่า #ไฟเซอร์นักเรียน เมื่อรัฐบาลเริ่มคิกออฟ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้นักเรียนอายุ 12-18 ปี ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อน ทว่า เรื่องนี้กลับมีดราม่าขึ้นมา เมื่อคนที่อยากฉีดใจจะขาด กลับไม่ได้ฉีด และบางคนก็กลัวว่าจะเป็นโรคตามมา เลยไม่ยอมฉีดกัน ซึ่งวันนี้ กระปุกดอทคอม จะมาสรุปเรื่องนี้ให้ฟังกันค่ะ

เริ่มคิฟออฟ ฉีดไฟเซอร์ให้นักเรียน 12-18 ปี ได้รับการตอบรับกว่า 71%


          ทางกระทรวงสาธารณสุข ใช้วันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นวันคิฟออฟเพื่อฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับนักเรียน ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี ซึ่งทางกระทรวงตั้งเป้าไว้ที่ 5 ล้านราย และมีผู้ปกครองตอบกลับเพื่อฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้บุตรหลานกว่า 3.6 ล้านราย คิดเป็น 71% โดยวัคซีนที่ได้มานี้ มีทั้งหมด 2 ล้านโดส กระจายให้ทุกจังหวัด ทว่าแต่ละจังหวัดจะได้รับวัคซีนไม่เท่ากัน อันขึ้นอยู่กับความพร้อมของจังหวัด ส่วนผู้ปกครองท่านใด ที่ไม่ได้ตอบตกลงฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในรอบนี้ ก็สามารถฉีดได้เรื่อย ๆ ไม่มีการเสียสิทธิแต่อย่างใด

          ทั้งนี้ วัคซีนไฟเซอร์ที่ให้ฉีดนั้น จะฉีดในเด็กอายุ 12-18 ปี 2 เข็ม ห่างกันเข็มละ 3-4 สัปดาห์ ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง

ไฟเซอร์นักเรียน
ภาพจาก INN

เกิดประเด็น เด็กอยากฉีดวัคซีนไฟเซอร์แทบตาย แต่ไม่มีให้ฉีด ครูไลน์หาคนเสียสละ ไม่ฉีดก่อนได้ไหม


          จากนั้น ได้เกิดประเด็นแชตหลุด ซึ่งคาดว่ามาจากโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.สกลนคร ที่ครูได้เข้ามาสอบถามนักเรียนว่า มีใครที่ลงทะเบียนเอาไว้แล้วอยากถอนตัวไหม เพราะวัคซีนที่จัดสรรมาให้ไม่เพียงพอ แต่กลายเป็นว่า นักเรียนยืนยันว่าไม่มีใครถอนตัว และมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สาธารณสุขและโรงเรียนต้องจัดการ และจัดสรรวัคซีนให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ไม่ใช่เรื่องที่มาขอความเห็นใจให้นักเรียนต้องถอนตัว

          นอกจากนี้ บางคนก็ได้ร้องเรียนว่า ตนเองอยู่ชั้น ม.ต้น และได้รับการนัดหมายจากทางโรงเรียนเพื่อให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในช่วงกลางเดือนนี้ แต่นักเรียน ม.ต้น จำเป็นต้องเสียสละให้นักเรียน ม.ปลายฉีดก่อน เพราะว่าวัคซีนที่จัดสรรมาให้นั้นมีไม่เพียงพอ

          ด้าน นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ก็เป็นอีกคนที่ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ว่า มีโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ให้นักเรียนที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 12-17 ปีเท่านั้น ส่วนใครที่อายุ 18 ปีขึ้นไป จะได้รับวัคซีน ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งนั่นทำให้นักเรียนหลายคนเดือดดาลและไม่ยอม รวมไปถึงมีนักศึกษาคนหนึ่ง ที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยตอนอายุ 17 ปี ได้ออกมาเผยว่า ตัวเธอไม่ได้รับโควตาฉีดวัคซีนไฟเซอร์ และไม่สามารถฉีดวัคซีนยี่ห้ออื่นได้ ซึ่งสร้างความลำบากใจให้เธอเป็นอย่างมาก

ไฟเซอร์นักเรียน

เกิดกระแสข่าวปลอมเรื่องวัคซีน กลัววัคซีน ไม่อยากฉีด ทั้งที่ก่อนหน้านี้เรียกร้องกันแทบตาย


          นอกจากนี้ ยังเกิดอีกเทรนด์บนโลกออนไลน์คือ บางคนไม่อยากฉีดตามเพื่อน เพราะมีเทรนด์ใน TikTok ที่เป็นข่าวปลอมเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีน บางคนก่อนไปฉีดวัคซีนก็ดื่มแอลกอฮอล์ไปก่อน บางคนที่มีโรคประจำตัวก็กลัว และบางคนผู้ปกครองก็ไม่อนุญาตใหเฉีดด้วย

          อย่างไรก็ตาม บนทวิตเตอร์ก็ได้มีหลายคนออกมาตำหนิกลุ่มคนที่ไม่ฉีดเพราะตามเทรนด์ใน TikTok ว่าการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในนักเรียนนั้น มีผลงานวิจัยออกมาแล้ว และยิ่งฉีดได้เร็วเท่าไร โรงเรียนก็จะเปิดได้ไวมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยได้ฉีดวัคซีนไขว้ แต่นักเรียนได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ กลับไม่อยากฉีด

ไฟเซอร์นักเรียน

ความเสี่ยงของวัคซีนไฟเซอร์ในนักเรียน มีจริงแต่เกิดต่ำมาก แนะนำอย่างไรก็ควรฉีด


          ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ได้อ้างอิงผลงานวิจัยเหตุการณ์ไม่ถึงประสงค์จากวัคซีนของสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับอัตราการเกิดผลข้างเคียงของระบบหัวใจในเด็กและวัยรุ่น กลุ่มอายุ 12 - น้อยกว่า 16 ปี ในอัตรา 162.2 ต่อการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 1 ล้านโดส
    
          ในขณะที่อัตราข้างเคียงของระบบหัวใจในเด็กและวัยรุ่นหญิงกลุ่มเดียวกัน พบต่ำกว่ามาก คือ 13 ต่อการฉีดวัคซีนเข็ม 2 จำนวน 1 ล้านโดส

          ดังนั้น คำแนะนำจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 จึงระบุว่า ให้นักเรียนชายที่แข็งแรง รับวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 1 ก่อน และชะลอการฉีดเข็ม 2 จนกว่าจะมีข้อมูลความปลอดภัยเพิ่มเติม ทว่า การฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเด็กกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงกว่าเข็มแรกจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบซึ่งพบได้น้อยมาก

          อย่างไรก็จตาม นพ.เศวตสรร จากกรมควบคุมโรค บอกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ว่า การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดได้ต่ำมาก แต่หลังจากฉีด อาจจะมีอาการเช่น แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อยง่าย ใจสั่น หมดสติ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้แนะนำให้รีบมารักษา และงดออกกำลังกายหนัก ๆ ทั้งในวัยรุ่นชายหญิง เพราะจะทำให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น

ไฟเซอร์นักเรียน

ไฟเซอร์นักเรียน

ไฟเซอร์นักเรียน

ไฟเซอร์นักเรียน

ไฟเซอร์นักเรียน

ไฟเซอร์นักเรียน

ไฟเซอร์นักเรียน
ภาพจาก mcot

ไฟเซอร์นักเรียน
ภาพจาก mcot

ไฟเซอร์นักเรียน
ภาพจาก INN

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สรุปดราม่า #ไฟเซอร์นักเรียน อยากฉีดแต่วัคซีนไม่พอ - สร้างเทรนด์ไม่ยอมฉีดกัน อัปเดตล่าสุด 7 ตุลาคม 2564 เวลา 10:35:56 20,602 อ่าน
TOP