กระทรวงสาธารณสุข เผยอยู่ระหว่างร่างสัญญาซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ ของบริษัท Merck จำนวน 2 แสนคอร์ส สำหรับ 2 แสนคน หลังผลทดลองใช้กับผู้ป่วยโควิด 19 ได้ผลดี อาการไม่หนัก - ไม่ตาย
ภาพจาก rarrarorro / Shutterstock.com
วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ข่าวช่อง 3 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข เสนอที่ประชุม ครม. สั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ ของบริษัท Merck จำนวน 2 แสนคอร์ส สำหรับ 2 แสนคน คาดว่าจะนำเข้าได้ในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างสัญญาซื้อ - ขาย และคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้
สำหรับยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน มีลักษณะเป็นยาเม็ด ซึ่งผลการศึกษาระยะที่ 3 ของยานี้ได้ผลดี อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา โดยจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคในมนุษย์หลายโรค เช่น ซาร์ส, เมอร์ส และโควิด 19 นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสอีโบลา, ไข้หวัดใหญ่ และไข้สมองอักเสบบางชนิด
ทั้งนี้ จากการทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่าง 775 คน ให้ผู้ติดเชื้อแล้วกินวันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน มีเพียงร้อยละ 7.3 ที่ป่วยเข้าโรงพยาบาล และไม่พบการเสียชีวิต ส่วนอีกกลุ่มตัวอย่างหนึ่งที่ให้ยาหลอก หรือ Placebo พบว่าป่วยเข้าโรงพยาบาลร้อยละ 14.1 และเสียชีวิตด้วยโควิด 8 คน
ภาพจาก ไทยพีบีเอส
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่อง 3
ภาพจาก rarrarorro / Shutterstock.com
วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ข่าวช่อง 3 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข เสนอที่ประชุม ครม. สั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ ของบริษัท Merck จำนวน 2 แสนคอร์ส สำหรับ 2 แสนคน คาดว่าจะนำเข้าได้ในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างสัญญาซื้อ - ขาย และคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้
สำหรับยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน มีลักษณะเป็นยาเม็ด ซึ่งผลการศึกษาระยะที่ 3 ของยานี้ได้ผลดี อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา โดยจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคในมนุษย์หลายโรค เช่น ซาร์ส, เมอร์ส และโควิด 19 นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสอีโบลา, ไข้หวัดใหญ่ และไข้สมองอักเสบบางชนิด
ทั้งนี้ จากการทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่าง 775 คน ให้ผู้ติดเชื้อแล้วกินวันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน มีเพียงร้อยละ 7.3 ที่ป่วยเข้าโรงพยาบาล และไม่พบการเสียชีวิต ส่วนอีกกลุ่มตัวอย่างหนึ่งที่ให้ยาหลอก หรือ Placebo พบว่าป่วยเข้าโรงพยาบาลร้อยละ 14.1 และเสียชีวิตด้วยโควิด 8 คน
ภาพจาก ไทยพีบีเอส