คุณหมอเผยความร้ายแรงของโรคโควิด 19 ชี้ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วอย่าเพิ่งวางใจ พบผลสำรวจมีความเสี่ยงสูง 3 - 7 เท่า จะเป็นโรคนี้ต่อ...
ภาพจาก เฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล
วานนี้ (15 สิงหาคม 2564) รศ. นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 กรณีผู้ติดเชื้อแล้วรักษาตัวจนหายแล้ว แต่ยังคงต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาจเสี่ยงเป็น 2 โรคนี้ตามมา ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และโรคสมองขาดเลือด ซึ่งพบว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 - 7 เท่า
โดย รศ. นพ.นิธิพัฒน์ ยกตัวอย่างการศึกษาในเชิงระบาดวิทยาจากประเทศสวีเดน ว่านอกเหนือจากภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำและนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดเฉียบพลัน (acute pulmonary embolism) รวมถึงโรคปอดอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด ของผู้ป่วยโควิด 19 ก็คือ 2 โรคดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ จากการติดตามผู้ป่วยโควิด
19 ของประเทศสวีเดน จำนวน 86,000+ คน
พบว่ามีอัตราเสี่ยงการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และสมองขาดเลือด
อยู่ระหว่าง 3 - 7 เท่า เมื่อเทียบกับคนทั่วไป ภายในช่วง 2
สัปดาห์นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ หรือวันที่เริ่มมีอาการ
แล้วจึงลดลงเหลือประมาณ 2 เท่าในช่วงสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ถัดมา
เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ นอกจากทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานปกป้องตัวเองมากเกินแล้ว ยังทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่างของเซลล์ผนังหลอดเลือด และนอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติที่ส่งเสริมในอีกหลากกลไกทั้ง เลือดแข็งตัวง่าย เกล็ดเลือดถูกกระตุ้น และ ACE2 receptor downregulation
ทั้งนี้คาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยทะลุหลักล้านได้ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ในยามที่บ้านเมืองพึ่งพาภาครัฐไม่ค่อยได้ ประชาชนต้องดูแลปกป้องตัวเองและคนที่เรารักอย่างเต็มความสามารถ พร้อมติดแฮชแท็ก #เดือนสิงหาอย่าออกบ้าน
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล
วานนี้ (15 สิงหาคม 2564) รศ. นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 กรณีผู้ติดเชื้อแล้วรักษาตัวจนหายแล้ว แต่ยังคงต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาจเสี่ยงเป็น 2 โรคนี้ตามมา ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และโรคสมองขาดเลือด ซึ่งพบว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 - 7 เท่า
โดย รศ. นพ.นิธิพัฒน์ ยกตัวอย่างการศึกษาในเชิงระบาดวิทยาจากประเทศสวีเดน ว่านอกเหนือจากภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำและนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดเฉียบพลัน (acute pulmonary embolism) รวมถึงโรคปอดอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด ของผู้ป่วยโควิด 19 ก็คือ 2 โรคดังกล่าวด้วย
เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ นอกจากทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานปกป้องตัวเองมากเกินแล้ว ยังทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่างของเซลล์ผนังหลอดเลือด และนอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติที่ส่งเสริมในอีกหลากกลไกทั้ง เลือดแข็งตัวง่าย เกล็ดเลือดถูกกระตุ้น และ ACE2 receptor downregulation
ทั้งนี้คาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยทะลุหลักล้านได้ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ในยามที่บ้านเมืองพึ่งพาภาครัฐไม่ค่อยได้ ประชาชนต้องดูแลปกป้องตัวเองและคนที่เรารักอย่างเต็มความสามารถ พร้อมติดแฮชแท็ก #เดือนสิงหาอย่าออกบ้าน
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล