คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ มีมติ ฉีดวัคซีนเข็ม 3 กลุ่ม mRNA ให้บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน เป็นกลุ่มแรก คาดใช้วัคซีนไฟเซอร์ จากสหรัฐอเมริกาจำนวน 1.5 ล้านโดส พร้อมสั่งซื้อไฟเซอร์เพิ่มอีก 20 ล้านโดส
ภาพจาก กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ศ.เกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. กระทรวงสาธารณสุข แถลงชี้แจงปมวัคซีนโควิดภายหลังร่วมประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติว่า กรณีวัคซีนเข็มที่ 3 ล่าสุดคณะกรรมการมีมติให้วัคซีน กระตุ้นให้กับเป้าหมายแรกผู้มีความเสี่ยงสูงจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน และกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดซิโนแวค เข็มที่ 2 ครบ 3 - 4 เดือน จะต้องได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 หากวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดส มาถึงเร็วจะฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ก่อน
ส่วนประชาชนทั่วไปมีวัคซีนไฟเซอร์ที่สั่งจองซื้อไปแล้วจำนวน 20 ล้านโดส จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 5 ล้านโดส และโมเดอร์นาของภาคเอกชน ซึ่งกำลังจะมาในไตรมาสที่ 4
ส่วนประชาชนทั่วไปมีวัคซีนไฟเซอร์ที่สั่งจองซื้อไปแล้วจำนวน 20 ล้านโดส จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 5 ล้านโดส และโมเดอร์นาของภาคเอกชน ซึ่งกำลังจะมาในไตรมาสที่ 4
สำหรับโควิด 19 นั้นมีการกลายพันธุ์ตลอด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาวัคซีนให้ครอบคลุมสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาคณะกรรมการวัคซีนได้พิจารณาเพื่อเตรียมการสั่งจองอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ไม่ทำอะไร ซึ่งหลังจากนี้จะมีการแถลงข่าวหลังประชุมทกครั้ง ครั้งต่อไปจะประชุมในวันที่ 9 กรกฎาคม ที่โรงพยาบาลราชวิถี ส่วนการนำเข้าวัคซีนหลักของชนิด mRNA คณะกรรมการเลือกไฟเซอร์เป็นวัคซีนฟรีให้กับประชาชน
ภาพจาก malazzama / Shutterstock.com
ทั้งนี้ หากเทียบช่วงก่อนโควิด 19 เตียงไอซียูใน กทม. มีอยู่ 230 เตียง แต่ปัจจุบันเพิ่มไปแล้วเป็น 460 เตียง แต่หมอพยาบาลเท่าเดิม ต้องระดมแผนกอื่นมาช่วย ตอนนี้ขวัญกำลังใจของบุคลากรทางการแพทย์ย่ำแย่ มีผู้เสียชีวิตวันละ 50 - 60 คน ติดเชื้อวันละ 5 - 6 พัน ดังนั้นจึงต้องช่วยกันฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเจ็บตาย เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรุนแรงที่ต้องเข้าโรงพยาบาลไม่ให้ระบบกำลังสาธารณสุขทำงานงานหนัก เพราะตอนนี้ทุกคนไม่ไหวแล้วจริง ๆ
ศ.เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวเสริมว่า สำหรับสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) วัคซีนไฟเซอร์ และแอสตราซิเนก้า ยังสามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้มากกว่า 96-92 % แต่สำหรับซิโนแวคยังข้อมูลน้อย แต่สามารถป้องกันการตายได้ ตอนนี้วัตถุประสงค์การฉีดวัคซีนแม้ป้องกันไม่ได้ 100% แต่ป้องกันเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้เกิน 90% เพื่อให้เตียงมีมากพอ และผ่อนแรงบุคลากรทางการแพทย์ลงบ้าง
อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข