สาธารณสุข เผยตัวเลขผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 มี 68 ราย ทราบสาเหตุแล้ว 13 ราย ไม่มีรายใดเสียชีวิตจากการรับวัคซีน พร้อมเผยเคสผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากทั้ง 2 ยี่ห้อ
ภาพจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19
วันที่ 17 มิถุนายน 2564 นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงช่วงหนึ่งในการแถลงข่าวของ ศบค. สรุปเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังฉีด วัคซีนโควิด-19 ว่า ประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนโควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยฉีดไปแล้ว 7,003,783 โดส แบ่งเป็น
ภาพจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19
วัคซีนซิโนแวค
- ฉีดสะสม 3,214,385 โดส
- มีอาการไม่พึงประสงค์ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จำนวน 993 ราย (เฉลี่ย 20 ราย ต่อ 1 แสนโดส)
- อาการไม่พึงประสงค์ ประกอบด้วย เวียนศีรษะ ร้อยละ 20, คลื่นไส้ ร้อยละ 15, ปวดศีรษะ ร้อยละ 12, อาเจียน ร้อยละ 8, มีผื่น ร้อยละ 7, ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 6, ท้องเสีย ร้อยละ 5 และคัน ร้อยละ 4
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
- ฉีดสะสม 1,943,693 โดส
- มีอาการไม่พึงประสงค์ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 472 ราย (เฉลี่ย 24 ราย ต่อ 1 แสนโดส)
- อาการไม่พึงประสงค์ ประกอบด้วย เป็นไข้ ร้อยละ 31, ปวดศีรษะ ร้อยละ 27, เวียนหัว ร้อยละ 21, คลื่นไส้ ร้อยละ 21, อาเจียน ร้อยละ 20, ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 15, อ่อนเพลีย ร้อยละ 15 และถ่ายเหลว ร้อยละ 7
ภาพจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19
ด้านคณะผู้เชี่ยวชาญส่วนกลาง จาก 13 เขตสุขภาพในประเทศไทย ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณากรณีผู้ที่เสียชีวิตหลังรับวัคซีน มีรายใดที่มีสาเหตุหรือเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ โดยพบว่ามีรายงานผู้เสียชีวิต 68 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตที่พิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว 13 ราย ไม่มีรายใดที่เสียชีวิตจากการรับวัคซีน ทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ร่วม ประกอบด้วย
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 8 ราย
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 8 ราย
- ลิ่มเลือด จ้ำเลือด 1 ราย
- ลิ่มเลือดอุดตันในปอด 1 ราย
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 1 ราย
- เลือดออกในช่องท้อง 1 ราย
- เลือดออกในสมอง 1 ราย
- ยังอยู่ระหว่างพิจารณาหาเหตุการเสียชีวิต 55 ราย
ภาพจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19
1. เกี่ยวข้องกับวัคซีน
2. เกี่ยวข้องกับคุณภาพวัคซีน
3. เกี่ยวข้องกับการให้บริการรับวัคซีน
4. เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน
5. เป็นเหตุการณ์ร่วมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่บังเอิญเกิดร่วมกัน
6. ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน
7. ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะสรุป
ภาพจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19
ยืนยันว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของประชาชน หากมีข้อมูลใดที่ต้องพิสูจน์ก็จะดำเนินการเพื่อนำไปสู่ข้อมูลข้อเท็จจริงและสร้างความมั่นใจ เพราะตอนนี้วัคซีนหลายยี่ห้อยังมีความปลอดภัยและใช้กันทั่วโลก
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่