หมอยง ภู่วรวรรณ เผยสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดแข็ง เกิดได้จากทั้ง 2 กรณี คือกินยาคุม และฉีดวัคซีน พร้อมอธิบาย กินยาคุมแล้วห้ามฉีดวัคซีนจริงหรือไม่ ?
กำลังเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ กรณีมีการแชร์เรื่องราวของหญิงสาวรายหนึ่งที่เสียชีวิต หลังจากเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยเพื่อนของเธอตั้งข้อสงสัยว่า การเสียชีวิตครั้งนี้ เพราะเพื่อนกินยาคุมก่อนไปฉีดวัคซีน ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือไม่นั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (31 พฤษภาคม 2564) ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า ในเพศหญิงที่มีฮอร์โมนเพศหญิง หรือในยาคุมกำเนิด และในสตรีตั้งครรภ์ จะมีฮอร์โมนเพศหญิงสูงอยู่แล้ว และเป็นที่ทราบดีว่า เป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด ในเส้นเลือดดำใหญ่ได้ (deep vein thrombosis, DVT)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (31 พฤษภาคม 2564) ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า ในเพศหญิงที่มีฮอร์โมนเพศหญิง หรือในยาคุมกำเนิด และในสตรีตั้งครรภ์ จะมีฮอร์โมนเพศหญิงสูงอยู่แล้ว และเป็นที่ทราบดีว่า เป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด ในเส้นเลือดดำใหญ่ได้ (deep vein thrombosis, DVT)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan
ทั้งนี้ การเกิดลิ่มเลือดจากการกินยาคุม กับการฉีดวัคซีนต่างกัน คือ การแข็งตัวของเลือดที่เส้นเลือดดำใหญ่ DVT หรือ มีการพูดถึงฮอร์โมนเพศหญิง ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับ มีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ไม่เหมือนกันกับการเกิดลิ่มเลือดที่พบในวัคซีน virus vector เช่น AstraZeneca, Johnson&Johnson
โดยการแข็งตัวเกิดลิ่มเลือดนั้นจะมี "ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ" ด้วย ที่เรียกกันว่า VITT เป็นคนละโรคกัน และการรักษาก็ต่างกันกับการรักษาในผู้ป่วยที่มีการแข็งตัวของเลือดที่เส้นเลือดดำใหญ่ DVT เพราะเหตุที่เกิดไม่เหมือนกัน
โดยการแข็งตัวเกิดลิ่มเลือดนั้นจะมี "ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ" ด้วย ที่เรียกกันว่า VITT เป็นคนละโรคกัน และการรักษาก็ต่างกันกับการรักษาในผู้ป่วยที่มีการแข็งตัวของเลือดที่เส้นเลือดดำใหญ่ DVT เพราะเหตุที่เกิดไม่เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดคงต้องให้ทางราชวิทยาลัยสูติศาสตร์นรีเวชกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ออกมาเป็นข้อแนะนำจะดีที่สุด
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่