สูตินรีแพทย์ ไขข้อสงสัย กินยาคุมกำเนิดกระตุ้นการเกิดลิ่มเลือดจริงไหม ถ้าหากกินยาคุมหรือยาคุมฉุกเฉินแล้วไปฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่ ใช้ยาคุมกำเนิดอย่างไรให้เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันน้อยลง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 29 พฤษภาคม 2564 นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้โพสต์คลิปวิดีโอผ่าน เฟซบุ๊ก Olarik Musigavong ชื่อคลิป "การแพทย์แปดนาที ครั้งที่ 922 ลิ่มเลือดอุดตัน ยาคุม วัคซีนโควิด" โดย นายแพทย์โอฬาริก ระบุว่า วันนี้ตนจะพูดในเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นคือการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ดีนั้น ตามข้อมูลที่มียังบอกไม่ได้ 100% ว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหรือเปล่า รวมถึงกรณีที่คนไข้กินยาคุมกำเนิดนั้นส่งผลไหม
- ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
- ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเยอะขึ้นในคนที่กินยาคุมกำเนิด
2. สูบบุหรี่
3. ความดันโลหิตสูง
4. เบาหวาน
5. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
- ใช้ยาคุมกำเนิดอย่างไรให้เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันน้อยลง
ในกลุ่มนี้แพทย์มักจะไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ส่วนยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนอีสโทรเจนสูง
(50 ไมโครกรัม) ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันเช่นกัน
เพราะฉะนั้นเวลาไปซื้อยาคุมกำเนิด
ให้แจ้งเภสัชกรว่าต้องการยาคุมกำเนิดที่มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันน้อย
ก็ให้ดูที่ปริมาณฮอร์โมนอีสโทรเจน ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม
และต้องดูชนิดของฮอร์โมนโปรเจสตินว่าเป็นรุ่นไหน ซึ่งรุ่น 3
จะทำให้มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันสูง
- การเกิดลิ่มเลือดจากยาคุม และการเกิดลิ่มเลือดจากการฉีดวัคซีน เป็นคนละชนิด
อย่างไรก็ตาม กลไกการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในยาเม็ดคุมกำเนิด
กับการเกิดลิ่มเลือดจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นคนละชนิดกัน หมายความว่า ตามข้อมูลที่มีนั้นการกินยาคุมกำเนิดสามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ เพราะไม่ได้มีข้อมูลว่ามันเกี่ยวข้องกัน
- ถ้ากินยาคุมอยู่แล้วจะไปฉีดวัคซีนต้องทำยังไง
- ต้องหยุดยาคุมนานเท่าไหร่
ย้ำอีกครั้งว่าไม่มีข้อมูลว่าการฉีดยาคุมกำเนิด และการฉีดวัคซีน จะเพิ่มโอกาสการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน แต่ถ้าอยากหยุดก่อนไปฉีดวัคซีน ก็ให้หยุดยาคุมกำเนิดชนิดฉีดก่อนไปฉีดวัคซีน 3 เดือน
- ฉีดตอนเป็นประจำเดือนได้ไหม
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Olarik Musigavong