ออนไลน์สวดยับ เพื่อนดีเจมะตูม ปกปิดไทม์ไลน์โควิด 19 สงสัย ผิดกฎหมายหรือเปล่า


          กทม. เผยไทม์ไลน์ ผู้ติดโควิด 19 อาชีพเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ปกปิดประวัติการเดินทาง คาดร่วมฉลองวันเกิด ดีเจมะตูมที่โรงแรมหรู ก่อนเข้าตรวจหาเชื้อหลังรู้เพื่อนร่วมงานวันเดียวกันติดโควิด 19

ดีเจมะตูม
ภาพจาก Instagram dj_matoom

          จากกรณี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด-19 กรณีของ ดีเจมะตูม เตชินท์ พลอยเพชร โดยผู้ติดเชื้อรายแรกของเคสนี้เป็นชายอายุ 33 ปี ที่รับเชื้อมาจากสถานบันเทิงแห่งหนึ่งที่ จ.เชียงใหม่ จากนั้นผู้ติดเชื้อรายแรก เดินทางไปร่วมงานวันเกิดดีเจมะตูม เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2564 จนทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อให้อีกหลายราย ซึ่งหมอธีระออกมาระบุว่ากรณีดังกล่าวนับเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์แล้วนั้น

          อ่านข่าว : ผงะ ! สธ. เผยจุดเริ่มต้นเคส ดีเจมะตูม ในงานปาร์ตี้วันเกิด ติดโควิดระนาว 19 ราย
          อ่านข่าว : หมอธีระ ชี้เคส ดีเจมะตูม ถือเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ น่าจะมีคนติดโดยไม่รู้ตัวอีกไม่น้อย

ดีเจมะตูม
ภาพจาก Instagram dj_matoom

          ล่าสุดวันที่ 25 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทม. ได้เผยแพร่ไทม์ไลน์ผู้ติดโควิด 19 จำนวน 15 ราย ที่สอบสวนโรคแล้ว โดยพบว่ามีผู้ป่วยที่มีความเกี่ยวข้องกับกรณีงานวันเกิดของ ดีเจมะตูม ได้แก่ ผู้ป่วยชายรายที่ 658 ซึ่งมีอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่รัฐปกปิดไทม์ไลน์ของตัวเองโดยมีการเผยไทม์ไลน์ ดังนี้

          วันที่ 9 มกราคม 2564 : ไปงานวันเกิดเพื่อนที่โรงแรมบันยันทรี เขตสาทร

          วันที่ 10-12 มกราคม 2564 : ผู้ป่วยไม่ยอมให้ข้อมูล

          วันที่ 13 มกราคม 2564 : ผู้ป่วยเริ่มไอ มีเสมหะ

          วันที่ 14 - 21 มกราคม 2564 : ผู้ป่วยไม่ให้ข้อมูล

          วันที่ 22 มกราคม 2564 : ทราบว่าเพื่อนที่ไปร่วมงานวันที่ 9 มกราคม 2564 ติดโควิด 19 จึงไปตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาล ก่อนทราบผลว่าติดโควิด 19 และเข้ารักษาที่โรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่กำลังสอบสวนหาสาเหตุการติด COVID 19

ไทม์ไลน์ผู้ป่วยโควิด 19

          ขณะที่ ผู้ป่วยรายที่ 657 อาชีพผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ที่มีประวัติไปวันเกิดเพื่อนที่โรงแรมบันยันทรี ซึ่งเป็นงานวันเกิดของดีเจมะตูม ก็ปกปิดข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่โดยมีไทม์ไลน์ ดังนี้

          วันที่ 16 มกราคม 2564 : ไปงานวันเกิดเพื่อนที่โรงแรมบันยันทรี เขตสาทร

          วันที่ 17-21 มกราคม 2564 : อาศัยอยู่ที่พัก ผู้ป่วยไม่ยอมให้ข้อมูล

          วันที่ 22 มกราคม 2564 : ทราบว่าเพื่อนที่ไปร่วมงานวันที่ 16 มกราคม 2564 ติดโควิด-19 จึงไปตรวจหาเชื้อโดยการ Drive thru ที่โรงพยาบาล ก่อนทราบผลว่าติดโควิด 19 และเข้ารักษาที่โรงพยาบาล

ไทม์ไลน์ผู้ป่วยโควิด 19

          นอกจากนี้ ยังมีนักร้อง นักแสดงชาย ที่ไปร่วมงานวันเกิดดีเจมะตูม ก็ไม่ได้บอกชื่อของตัวเอง และปกปิดไทม์ไลน์ส่วนหนึ่งในวันที่ 14-20 มกราคม เช่นกัน

ไทม์ไลน์ผู้ป่วยโควิด 19

          ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยรายที่ 645 ของกรุงเทพฯ ประกอบอาชีพเชฟร้านอาหาร ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลในวันที่ 17-18 มกราคม 2564 อย่างไรก็ตาม ภายหลัง ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เปลี่ยนข้อมูลตรงจุดนี้เป็น อาศัยอยู่ที่พักตลอดวัน ในเขตภาษีเจริญ แล้ว


ภาพจาก เฟซบุ๊ก เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง

          จนทำให้โลกออนไลน์ ออกมาตั้งคำถามว่า การปกปิดข้อมูลแบบนี้ ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 เรื่อง ข้อกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 17 ซึ่งมีข้อความตอนท้าย ระบุว่า

          "ผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทางหรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรค เป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ด้วย"

ดีเจมะตูม
ภาพจาก Instagram dj_matoom

>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ออนไลน์สวดยับ เพื่อนดีเจมะตูม ปกปิดไทม์ไลน์โควิด 19 สงสัย ผิดกฎหมายหรือเปล่า อัปเดตล่าสุด 27 มกราคม 2564 เวลา 14:56:30 14,748 อ่าน
TOP