หมอธีระวัฒน์ เผยผลการวิจัย การใช้กัญชา - กัญชง รักษาโควิด 19 ลดความเสียหายของปอดได้จริงหรือไม่ ชี้ ไม่มีผลต่อระบบประสาทและสภาพจิตใจ
วันที่ 7 มกราคม 2564 เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ของ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการโพสต์ถึงเรื่องการใช้กัญชาและกัญชง รวมถึงสารออกฤทธิ์ในกัญชา ที่เรียกว่า "เธอปีน" ในการรักษาโควิด 19 มีข้อความทั้งหมดดังนี้
เรียนย้ำ นี่เป็นการใช้กัญชาเป็นยาในทางการแพทย์ ไม่ใช่เป็นการเสพเพื่อความสนุกเฮฮา
เรื่องการใช้ทางการแพทย์มีการอบรมต่อเนื่องมาตลอด สำหรับผู้ขาดความรู้และความเข้าใจ จำเป็นต้องศึกษาทั้งหลักฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และหลักฐานประจักษ์ในผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขได้นำไปใช้ในชุมชนเกือบ 20,000 ราย และทำการติดตามหนึ่งปี
ข้อมูลดังกล่าวมาจากคณะผู้วิจัยหลายแห่ง โดยตั้งเป้าในการลดการอักเสบอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในโควิด-19 และเป็นต้นตอให้เกิดปอดเสียหายอย่างรุนแรงและตามมาด้วยการเกิดเยื่อพังผืด และทำให้ปอดเสียหายถาวรแม้ว่าจะกำจัดไวรัสตายหมดแล้ว
ทั้งหมดเป็นการใช้กัญชาทางการแพทย์ไม่ใช่เป็นการใช้กัญชาแบบที่เสพเพื่อความเฮฮา
การศึกษาในหนูที่ติดเชื้อโควิด 19 รักษาโดยการให้สารที่กระตุ้นการสร้าง interferon หรือให้กัญชง CBD เมื่อเทียบกับไม่ให้อะไรเลยพบว่ากลุ่มที่ให้ CBD มีอาการดีกว่าและปอดถูกทำลายน้อยกว่า รวมทั้งการอักเสบจะลดลง และดูว่าจะสัมพันธ์กับระดับของ apelin ที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ผู้วิจัยอีกคณะได้ทดสอบโดยใช้สารออกฤทธิ์ THC ในรูปแบบการทดลองที่ทำให้เกิดสภาพปอดเสียหายในระดับวิกฤต ARDS จากการได้รับ Staphylococcal Enterotoxin B Exposur
เรียนย้ำ นี่เป็นการใช้กัญชาเป็นยาในทางการแพทย์ ไม่ใช่เป็นการเสพเพื่อความสนุกเฮฮา
เรื่องการใช้ทางการแพทย์มีการอบรมต่อเนื่องมาตลอด สำหรับผู้ขาดความรู้และความเข้าใจ จำเป็นต้องศึกษาทั้งหลักฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และหลักฐานประจักษ์ในผู้ป่วยที่กระทรวงสาธารณสุขได้นำไปใช้ในชุมชนเกือบ 20,000 ราย และทำการติดตามหนึ่งปี
ข้อมูลดังกล่าวมาจากคณะผู้วิจัยหลายแห่ง โดยตั้งเป้าในการลดการอักเสบอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในโควิด-19 และเป็นต้นตอให้เกิดปอดเสียหายอย่างรุนแรงและตามมาด้วยการเกิดเยื่อพังผืด และทำให้ปอดเสียหายถาวรแม้ว่าจะกำจัดไวรัสตายหมดแล้ว
ทั้งหมดเป็นการใช้กัญชาทางการแพทย์ไม่ใช่เป็นการใช้กัญชาแบบที่เสพเพื่อความเฮฮา
การศึกษาในหนูที่ติดเชื้อโควิด 19 รักษาโดยการให้สารที่กระตุ้นการสร้าง interferon หรือให้กัญชง CBD เมื่อเทียบกับไม่ให้อะไรเลยพบว่ากลุ่มที่ให้ CBD มีอาการดีกว่าและปอดถูกทำลายน้อยกว่า รวมทั้งการอักเสบจะลดลง และดูว่าจะสัมพันธ์กับระดับของ apelin ที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ผู้วิจัยอีกคณะได้ทดสอบโดยใช้สารออกฤทธิ์ THC ในรูปแบบการทดลองที่ทำให้เกิดสภาพปอดเสียหายในระดับวิกฤต ARDS จากการได้รับ Staphylococcal Enterotoxin B Exposur
เนื่องจากพยาธิสภาพมีลักษณะคล้ายกันกับที่พบในโควิด 19 ที่มีมรสุมภูมิวิกฤติ cytokine storm ดังนั้น จึงมีทางเป็นไปได้ในการใช้กัญชาในการลดการอักเสบที่จะนำไปสู่ความเสียหาย รวมทั้งการเกิดเยื่อพังผืดในเนื้อปอด ทั้งนี้การใช้กัญชาดังกล่าวไม่ใช่เป็นรูปแบบของการสูบกัญชาอย่างที่เข้าใจกัน แต่เป็นการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อการรักษา
คณะผู้วิจัยจากอิสราเอลเสนอใช้การรักษาด้วย CBD (กันชง) ร่วมกับ เธอปีน terpenes ในโควิด 19 เพื่อลดการอักเสบที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง โดยการทดสอบในหลอดทดลองนำเม็ดเลือดขาวของคนปกติ และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบจากการใส่ Lipopolysaccharides หลังจากนั้นเปรียบเทียบการใช้กันชงร่วมกับเธอปีนเทียบกับสเตียรอยด์ ใน cytotoxicity assay พบว่าได้ผลในการลดการอักเสบดีกว่าสเตียรอยด์ ทั้งนี้ ยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลอง
และเนื่องจากสารออกฤทธิ์ดังกล่าว ไม่มีผลต่อสภาวะทางจิตใจและเป็นการใช้ทางการแพทย์ โดยที่กันชงไม่ผิดกฎหมายอีกทั้งสารออกฤทธิ์เธอปีน ไม่มีผลต่อจิตประสาทเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรนำมาใช้ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันในผู้ป่วยโควิด 19 ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
คณะผู้วิจัยจากอิสราเอลเสนอใช้การรักษาด้วย CBD (กันชง) ร่วมกับ เธอปีน terpenes ในโควิด 19 เพื่อลดการอักเสบที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง โดยการทดสอบในหลอดทดลองนำเม็ดเลือดขาวของคนปกติ และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบจากการใส่ Lipopolysaccharides หลังจากนั้นเปรียบเทียบการใช้กันชงร่วมกับเธอปีนเทียบกับสเตียรอยด์ ใน cytotoxicity assay พบว่าได้ผลในการลดการอักเสบดีกว่าสเตียรอยด์ ทั้งนี้ ยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลอง
และเนื่องจากสารออกฤทธิ์ดังกล่าว ไม่มีผลต่อสภาวะทางจิตใจและเป็นการใช้ทางการแพทย์ โดยที่กันชงไม่ผิดกฎหมายอีกทั้งสารออกฤทธิ์เธอปีน ไม่มีผลต่อจิตประสาทเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรนำมาใช้ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันในผู้ป่วยโควิด 19 ได้
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha