ราชกิจจาฯ เผยแพร่ 4 ข้อกำหนด ตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เข้มจัดการโควิด โดยเฉพาะ 5 จังหวัด สมุทรสาคร-จันทบุรี-ระยอง-ตราด-ชลบุรี ยกเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ประชาชนต้องโหลดแอปฯ หมอชนะ-ไทยชนะ หากไม่มี หรือปกปิดไทม์ไลน์เจ้าหน้าที่ อาจมีโทษตามกฎหมาย
วันที่ 7 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ขอกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) จำนวน 4 ข้อ โดยมีเนื้อหาสาระที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค : ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และผู้ดูแลรับผิดชอบสถานที่ กิจกรรม หรือกิจการต่าง ๆ ดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้บริการ ผู้เดินทาง และประชาชน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ด้วยการรักษาระยะห่าง การสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย การล้างมือ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และการติดตั้งระบบแอปพลิชันที่กำหนด ตลอดจนยอมรับการกักกันตนตามระยะเวลาและในสถานที่ที่กำหนด หากอยู่ในข่ายที่ต้องรับการกักกัน
โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน "หมอชนะ" ซึ่งเป็นการพัฒนาและประสานความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ โดยกรมควบคุมโรค และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ซึ่งประชาชนจะได้ประโยชนจากการได้รับแจ้งข้อมูล ข้อแนะนำการปฏิบัติตน หรือคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยงหรือเลี่ยงจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อยู่ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อให้การดำเนินการสอบสวนโรคและการเฝ้าระวังโรคเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ควบคู่กับการใช้แอปพลิเคชัน "ไทยชนะ" เพื่อให้การดำเนินการได้ผลสัมฤทธิ์ด้วยดี
2. การยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด : ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะของประชาชนในการเดินทางเข้า-ออกเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดระยอง และจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสกัดและยับยั้งการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด โดยให้ตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด เพื่อคัดกรองการเดินทางเข้า-ออกพื้นที่อย่างเข้มข้น และให้ผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าวติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน "หมอชนะ"
ส่วนผู้ที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ต้องแสดงเหตุผล ความจำเป็น โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่น ๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงมหาดไทย กำหนด
1. การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค : ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และผู้ดูแลรับผิดชอบสถานที่ กิจกรรม หรือกิจการต่าง ๆ ดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้บริการ ผู้เดินทาง และประชาชน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ด้วยการรักษาระยะห่าง การสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย การล้างมือ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และการติดตั้งระบบแอปพลิชันที่กำหนด ตลอดจนยอมรับการกักกันตนตามระยะเวลาและในสถานที่ที่กำหนด หากอยู่ในข่ายที่ต้องรับการกักกัน
โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน "หมอชนะ" ซึ่งเป็นการพัฒนาและประสานความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ โดยกรมควบคุมโรค และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ซึ่งประชาชนจะได้ประโยชนจากการได้รับแจ้งข้อมูล ข้อแนะนำการปฏิบัติตน หรือคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยงหรือเลี่ยงจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อยู่ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อให้การดำเนินการสอบสวนโรคและการเฝ้าระวังโรคเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ควบคู่กับการใช้แอปพลิเคชัน "ไทยชนะ" เพื่อให้การดำเนินการได้ผลสัมฤทธิ์ด้วยดี
2. การยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด : ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะของประชาชนในการเดินทางเข้า-ออกเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดระยอง และจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสกัดและยับยั้งการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด โดยให้ตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด เพื่อคัดกรองการเดินทางเข้า-ออกพื้นที่อย่างเข้มข้น และให้ผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าวติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน "หมอชนะ"
ส่วนผู้ที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ต้องแสดงเหตุผล ความจำเป็น โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่น ๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงมหาดไทย กำหนด
3. การปราบปรามและลงโทษผู้กระทำผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค : รัฐบาลมีเจตจำนงที่ชัดเจนและเด็ดขาดในการดำเนินการปราบปราม และลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบขนย้ายแรงงานต่างประเทศ รวมทั้งการปล่อยปละละเลย ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เอื้ออำนวย หรือสมรู้ร่วมคิดให้มีการเปิดบ่อนการพนันขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นต้นตอของการระบาดของโรคแบบกลุ่มก้อน โดยให้ผู้มีอำนาจเร่งตรวจสอบเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินการลงโทษตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว รวมทั้งจะได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการ และเสนอมาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้อีกต่อไป
ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง หน่วยงานความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ปฏิบัติการกวดขัน สอดส่องและเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมือง รวมถึงการเปิดให้มีการมั่วสุม ลักลอบเล่นการพนัน และให้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายทั้งทางวินัยและทางอาญาต่อไป
นอกจากนี้หากประชาชนพบเห็นการกระทำที่ส่งผลกระทบเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคอย่างรุนแรง สามารถแจ้งเบาะแสมาที่นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ทำเนียบรัฐบาล
4. โทษ : ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดซึ่งออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทาง หรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรค เป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง หน่วยงานความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ปฏิบัติการกวดขัน สอดส่องและเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมือง รวมถึงการเปิดให้มีการมั่วสุม ลักลอบเล่นการพนัน และให้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายทั้งทางวินัยและทางอาญาต่อไป
นอกจากนี้หากประชาชนพบเห็นการกระทำที่ส่งผลกระทบเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคอย่างรุนแรง สามารถแจ้งเบาะแสมาที่นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ทำเนียบรัฐบาล
4. โทษ : ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดซึ่งออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทาง หรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรค เป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558



ภาพจาก ราชกิจจานุเบกษา
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา