นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยจุฬาฯ เริ่มทดลองฉีดวัคซีนโควิด 19 ในลิงแล้ว เบื้องต้นทดสอบในหนูเป็นที่น่าพอใจ คาดทดสอบในคนได้เดือน ส.ค. 63
ภาพจาก สำนักข่าว INN
วันที่ 23 พฤษภาคม 2563 สำนักข่าว INN รายงานว่า นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหาร ลงพื้นที่เตรียมการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้างานวิจัยวัคซีนชนิด mRNA ที่ศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ให้ทุนสนับสนุน ประสบความสำเร็จในระดับดีหลังทดสอบในหนูทดลอง และกำลังเตรียมจะทดสอบในลิง
ภาพจาก สำนักข่าว INN
นายสุวิทย์ กล่าวว่า การทดสอบในลิงจะฉีด 3 ครั้ง โดยจะใช้เทคโนโลยีใหม่คือ ใช้สารพันธุกรรมของเชื้อชนิด mRNA
- ครั้งที่ 1 ฉีดวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 เวลา 07.39 น.
- ครั้งที่ 2 นับไปอีก 4 สัปดาห์
- ครั้ง 3 นับไปอีก 8 สัปดาห์
ทั้งนี้ หลังการทดสอบในเข็มที่ 2 จะทำให้เห็นผลการป้องกันโรคโควิด 19 ได้แล้ว โดยขั้นตอนการทดสอบในลิง ถือเป็นสัตว์ที่ตอบสนองกับไวรัสได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ซึ่งการทดสอบในลิงจะดูเรื่องความปลอดภัย ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน และการตอบสนองคือ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้จริง คาดว่าจะเริ่มผลิตวัคซีนเพื่อทดสอบในคนได้ในเดือนสิงหาคม 2563
นายสุวิทย์ ระบุอีกว่า เราได้สั่งจองการผลิตวัคซีนกับโรงงานผลิต ซึ่งไม่เพียงแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นการแก้ปัญหาโรคระบาดในระดับมนุษยชาติ โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายการพัฒนาวัคซีนของไทย คือให้คนไทยมีวัคซีนใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกับประเทศชั้นนำทั่วโลก คาดว่า กระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน และที่สำคัญ ขณะนี้ ศูนย์ไพรเมท วางแผนในระยะยาวคือ การสร้างอาคารวิจัยวัคซีนโรคติดเชื้อทางอากาศ ซึ่งจะทำให้การวิจัยพัฒนาและการทดสอบวัคซีนมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น ครอบคลุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ เหมือนอย่างในกรณีโรค covid 19
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าว INN
ภาพจาก สำนักข่าว INN
วันที่ 23 พฤษภาคม 2563 สำนักข่าว INN รายงานว่า นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหาร ลงพื้นที่เตรียมการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้างานวิจัยวัคซีนชนิด mRNA ที่ศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ให้ทุนสนับสนุน ประสบความสำเร็จในระดับดีหลังทดสอบในหนูทดลอง และกำลังเตรียมจะทดสอบในลิง
ภาพจาก สำนักข่าว INN
นายสุวิทย์ กล่าวว่า การทดสอบในลิงจะฉีด 3 ครั้ง โดยจะใช้เทคโนโลยีใหม่คือ ใช้สารพันธุกรรมของเชื้อชนิด mRNA
- ครั้งที่ 1 ฉีดวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 เวลา 07.39 น.
- ครั้งที่ 2 นับไปอีก 4 สัปดาห์
- ครั้ง 3 นับไปอีก 8 สัปดาห์
ทั้งนี้ หลังการทดสอบในเข็มที่ 2 จะทำให้เห็นผลการป้องกันโรคโควิด 19 ได้แล้ว โดยขั้นตอนการทดสอบในลิง ถือเป็นสัตว์ที่ตอบสนองกับไวรัสได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ซึ่งการทดสอบในลิงจะดูเรื่องความปลอดภัย ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน และการตอบสนองคือ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้จริง คาดว่าจะเริ่มผลิตวัคซีนเพื่อทดสอบในคนได้ในเดือนสิงหาคม 2563
นายสุวิทย์ ระบุอีกว่า เราได้สั่งจองการผลิตวัคซีนกับโรงงานผลิต ซึ่งไม่เพียงแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นการแก้ปัญหาโรคระบาดในระดับมนุษยชาติ โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายการพัฒนาวัคซีนของไทย คือให้คนไทยมีวัคซีนใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกับประเทศชั้นนำทั่วโลก คาดว่า กระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน และที่สำคัญ ขณะนี้ ศูนย์ไพรเมท วางแผนในระยะยาวคือ การสร้างอาคารวิจัยวัคซีนโรคติดเชื้อทางอากาศ ซึ่งจะทำให้การวิจัยพัฒนาและการทดสอบวัคซีนมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น ครอบคลุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ เหมือนอย่างในกรณีโรค covid 19
ภาพจาก สำนักข่าว INN
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าว INN