มาฝึกหายใจเพื่อฟื้นฟูการทำงานของปอดให้กลับมาแข็งแรง พร้อมช่วยระบายเสมหะ ทำให้หายใจสะดวกขึ้น
การหายใจที่ถูกต้องนอกจากจะช่วยให้เราหายใจดีขึ้นแล้ว ยังช่วยขับเสมหะที่ค้างอยู่ในปอด และยังเป็นการบริหารปอดให้แข็งแรง ส่งผลให้การทำงานของปอดดีขึ้นด้วย ยิ่งในช่วงที่โควิด 19 ระบาด เชื้อโคโรนาไวรัสจะส่งผลกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง ทั้งยังทำลายเนื้อปอดได้อีก เราก็ยิ่งต้องดูแลปอดให้ดีขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดทำคลิปวิดีโอฝึกหายใจฟื้นฟูปอด แนะนำวิธีหายใจที่ถูกต้อง พร้อมทั้งสอนวิธีระบายเสมหะ ซึ่งมีประโยชน์ต่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้ป่วย COVID-19 ที่นอนในโรงพยาบาลนาน ๆ เนื้อปอดได้ถูกทำลายไปบางส่วน และมีเสมหะอุดกั้นถุงลมปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้การหายใจไม่ดีเหมือนปกติ หากฝึกหายใจได้ถูกวิธีจะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดให้ดีขึ้น
- ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการ สามารถฝึกการหายใจได้ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ และฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
- คนไข้ที่มีเสมหะ ช่วยให้ขับเสมหะที่คั่งค้างอยู่ในปอดให้ออกมาได้ง่ายขึ้น
- ประชาชนทั่วไป ถือเป็นการบริหารปอดให้แข็งแรงอีกทางหนึ่ง
ข้อดีของการฝึกหายใจฟื้นฟูปอด
- ลดแรงที่ใช้ในการหายใจ
- เพิ่มความแข็งแรงและประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
- เพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอก
- ป้องกันภาวะปอดแฟบ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายเสมหะ
วิธีฝึกหายใจฟื้นฟูปอด สู้ COVID-19
1. หายใจแบบใช้กล้ามเนื้อกระบังลม
โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
วางมือบริเวณชายโครงทั้ง 2 ข้าง หายใจเข้าให้ชายโครงขยายดันมือออกมาด้านข้าง หายใจออกช้า ๆ ให้ชายโครงยุบกลับลงไป ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
3. หายใจแบบเป่าปาก
โดยหายใจเข้าท้องป่อง แล้วหายใจออกด้วยการเป่าลมออกทางปากช้า ๆ ให้ท้องค่อย ๆ ยุบลงไป ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
4. ฝึกหายใจร่วมกับการเคลื่อนไหวทรวงอก
ท่านี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังทรวงอก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหายใจชนิดเรื้อรัง มีทั้งหมด 2 ท่า คือ
ท่าที่ 1 : นั่งหลังตรง แล้วค่อย ๆ ยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้า ๆ เอาแขนลงพร้อมกับค่อย ๆ ปล่อยลมหายใจช้า ๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 2 : นั่งหลังตรง หงายมือ กางแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้า ๆ เอาแขนลงพร้อมกับหายใจออกช้า ๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 3 : ก้มตัว ไขว้มือไว้ด้านหน้า จากนั้นกางแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะเป็นรูปตัว V ลดแขนลง หายใจออกช้า ๆ พร้อมกับโน้มตัวลง และไขว้มือกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ข้อควรปฏิบัติในการฝึกหายใจ
- ควรฝึกหายใจ 3-5 ครั้งต่อชุด โดยพักรอบละ 1 นาที (สามารถทำได้บ่อยครั้งตามต้องการ)
- ควรฝึกเป็นชุด และมีช่วงหยุดพัก เพื่อป้องกันอาการเวียนศีรษะที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างฝึกหายใจ
- ไม่ควรผ่อนลมหายใจออกอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้หลอดลมตีบได้
- ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยขณะฝึกหายใจและระบายเสมหะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ควรหยุดฝึกหายใจ เมื่อมีอาการดังนี้
* เหนื่อยหอบ
* เจ็บหน้าอก
* วิงเวียนศีรษะ
* ใจสั่น
ทั้งนี้ หากหยุดพักแล้วอาการดังกล่าวไม่หายไป ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีขับเสมหะด้วยการฝึกหายใจ
1. หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ 2 รอบ
2. หายใจเข้าให้ลึกที่สุด แล้วพ่นลมหายใจออกทางปากให้ยาวที่สุด พร้อมโน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า
3. หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ 2 รอบ
4. หายใจเข้าให้ลึกที่สุด แล้วพ่นลมหายใจออกทางปากแรง ๆ 2 ครั้ง พร้อมโน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า
วิธีขับเสมหะด้วยการไอ
1. นั่งโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย หายใจเข้า-ออกลึก ๆ 2 ครั้ง
2. หายใจเข้าลึกสุด แล้วกลั้นหายใจค้างไว้ 3 วินาที
3. ไอออกมาแรง ๆ
เราสามารถขับเสมหะด้วยการฝึกหายใจก็ได้ หรืออยากจะขับเสมหะด้วยการไอก็แล้วแต่สะดวก ทว่าในการขับเสมหะก็มีข้อควรระวัง ดังนี้
* ไม่ควรฝึกหลังจากรับประทานอาหาร เพราะอาจทำให้สำลักอาหารเข้าหลอดลมได้
* ไม่ควรฝึกระบายลมหายใจติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดอาการเวียนศีรษะ
การฝึกหายใจแบบนี้สามารถทำได้ทั้งกับผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป โดยสำหรับผู้ป่วยก็จะช่วยฟื้นฟูปอดให้ดีขึ้น ส่วนในคนปกติก็ถือเป็นการบริหารปอดให้แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, Rehab Chula official, เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand
- ผู้ป่วย COVID-19 ที่นอนในโรงพยาบาลนาน ๆ เนื้อปอดได้ถูกทำลายไปบางส่วน และมีเสมหะอุดกั้นถุงลมปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้การหายใจไม่ดีเหมือนปกติ หากฝึกหายใจได้ถูกวิธีจะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดให้ดีขึ้น
- ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการ สามารถฝึกการหายใจได้ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ และฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
- คนไข้ที่มีเสมหะ ช่วยให้ขับเสมหะที่คั่งค้างอยู่ในปอดให้ออกมาได้ง่ายขึ้น
- ประชาชนทั่วไป ถือเป็นการบริหารปอดให้แข็งแรงอีกทางหนึ่ง
ข้อดีของการฝึกหายใจฟื้นฟูปอด
- ลดแรงที่ใช้ในการหายใจ
- เพิ่มความแข็งแรงและประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
- เพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอก
- ป้องกันภาวะปอดแฟบ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายเสมหะ
วิธีฝึกหายใจฟื้นฟูปอด สู้ COVID-19
1. หายใจแบบใช้กล้ามเนื้อกระบังลม
โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
2. ฝึกหายใจโดยเน้นการขยายตัวของปอดส่วนล่าง
วางมือบริเวณชายโครงทั้ง 2 ข้าง หายใจเข้าให้ชายโครงขยายดันมือออกมาด้านข้าง หายใจออกช้า ๆ ให้ชายโครงยุบกลับลงไป ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
3. หายใจแบบเป่าปาก
โดยหายใจเข้าท้องป่อง แล้วหายใจออกด้วยการเป่าลมออกทางปากช้า ๆ ให้ท้องค่อย ๆ ยุบลงไป ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
4. ฝึกหายใจร่วมกับการเคลื่อนไหวทรวงอก
ท่านี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังทรวงอก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหายใจชนิดเรื้อรัง มีทั้งหมด 2 ท่า คือ
ท่าที่ 1 : นั่งหลังตรง แล้วค่อย ๆ ยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้า ๆ เอาแขนลงพร้อมกับค่อย ๆ ปล่อยลมหายใจช้า ๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 2 : นั่งหลังตรง หงายมือ กางแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้า ๆ เอาแขนลงพร้อมกับหายใจออกช้า ๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ท่าที่ 3 : ก้มตัว ไขว้มือไว้ด้านหน้า จากนั้นกางแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะเป็นรูปตัว V ลดแขนลง หายใจออกช้า ๆ พร้อมกับโน้มตัวลง และไขว้มือกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ข้อควรปฏิบัติในการฝึกหายใจ
- ควรฝึกหายใจ 3-5 ครั้งต่อชุด โดยพักรอบละ 1 นาที (สามารถทำได้บ่อยครั้งตามต้องการ)
- ควรฝึกเป็นชุด และมีช่วงหยุดพัก เพื่อป้องกันอาการเวียนศีรษะที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างฝึกหายใจ
- ไม่ควรผ่อนลมหายใจออกอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้หลอดลมตีบได้
- ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยขณะฝึกหายใจและระบายเสมหะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ควรหยุดฝึกหายใจ เมื่อมีอาการดังนี้
* เหนื่อยหอบ
* เจ็บหน้าอก
* วิงเวียนศีรษะ
* ใจสั่น
ทั้งนี้ หากหยุดพักแล้วอาการดังกล่าวไม่หายไป ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีขับเสมหะด้วยการฝึกหายใจ
1. หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ 2 รอบ
2. หายใจเข้าให้ลึกที่สุด แล้วพ่นลมหายใจออกทางปากให้ยาวที่สุด พร้อมโน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า
3. หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ 2 รอบ
4. หายใจเข้าให้ลึกที่สุด แล้วพ่นลมหายใจออกทางปากแรง ๆ 2 ครั้ง พร้อมโน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า
วิธีขับเสมหะด้วยการไอ
1. นั่งโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย หายใจเข้า-ออกลึก ๆ 2 ครั้ง
2. หายใจเข้าลึกสุด แล้วกลั้นหายใจค้างไว้ 3 วินาที
3. ไอออกมาแรง ๆ
เราสามารถขับเสมหะด้วยการฝึกหายใจก็ได้ หรืออยากจะขับเสมหะด้วยการไอก็แล้วแต่สะดวก ทว่าในการขับเสมหะก็มีข้อควรระวัง ดังนี้
* ไม่ควรฝึกหลังจากรับประทานอาหาร เพราะอาจทำให้สำลักอาหารเข้าหลอดลมได้
* ไม่ควรฝึกระบายลมหายใจติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดอาการเวียนศีรษะ
การฝึกหายใจแบบนี้สามารถทำได้ทั้งกับผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป โดยสำหรับผู้ป่วยก็จะช่วยฟื้นฟูปอดให้ดีขึ้น ส่วนในคนปกติก็ถือเป็นการบริหารปอดให้แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, Rehab Chula official, เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand