เฉลย ปมแล็บตรวจโควิด 19 ยะลา 40 คน ผลไม่ตรง ที่แท้ น้ำเปล่า ที่เป็นตัวเปรียบเทียบเจอผลบวก ชี้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้เสมอ ซึ่งจะไม่รายงาน ต้องตรวจสอบซ้ำเท่านั้น เตรียมส่งผู้เชี่ยวชายเร่งตรวจสอบหาสาเหตุละเอียด คาดรู้ผลอีกที 6 พฤษภาคม
จากกรณีที่มีการตรวจพบผู้ติดโรค โควิด-19 ที่ จ.ยะลา จำนวน 40 คน อย่างไรก็ตาม ทาง ศบค. ได้ขอให้ตรวจซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากตัวเลขค่อนข้างสูง และผู้ป่วยทั้งหมดไม่มีอาการ ซึ่งต่อมามีรายงานว่าผลตรวจโควิด 19 รอบ 2 ออกแล้ว ผลกลับจากบวกเป็นลบ ที่แท้การตรวจครั้งแรก มีความคลาดเคลื่อนการติดตั้งเครื่อง จนมีเชื้ออื่นปนมา จึงต้องมีการตรวจตัวอย่างยืนยันเป็นครั้งที่ 3 โดยส่งตัวอย่างมาตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่กรุงเทพฯ
อ่านข่าว : ผลตรวจ COVID-19 ที่ยะลา 40 คน รอบสองออกแล้ว ที่แท้ผลเป็นลบ ชี้ ครั้งแรกเครื่อง Errorl
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ระบุว่าการเก็บตัวอย่างของ จ.ยะลา ใช้การป้ายสารคัดหลั่ง หรือ Swab
และตรวจในห้องแล็บด้วยวิธีการหาสารพันธุกรรมของเชื้อ (RT PCR)
ซึ่งการตรวจด้วยวิธีการนี้ในห้องแล็บจะต้องมีตัวควบคุมหรือตัวเปรียบเทียบ 2
ตัวคู่กันเสมอ คือ
1. Positive Control ที่จะต้องให้ผลเป็นบวกเสมอ
2. Negative Control ที่จะต้องให้ผลเป็นลบเสมอ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นน้ำเปล่า ที่จะไม่ตรวจเจอเชื้อเลย
(อ่านเพิ่มเติมการผลิตชุดตรวจโควิด 19 rt pcr )
สำหรับกรณีห้องแล็บโรงพยาบาลศูนย์ยะลา นั้น เป็นการทำตามมาตรฐาน แต่กลับพบว่าตัวเปรียบเทียบที่เป็นลบ ซึ่งเป็นน้ำเปล่านั้น ตรวจเจอเชื้อ และแสดงผลเป็นบวก แสดงว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จึงหยุดตรวจและรายงานให้ทางจังหวัดทราบและตรวจสอบสาเหตุ
อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งอาจเกิดจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ เครื่องมือ หรือระบบ ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แล้ว จะต้องรผลอย่างละเอียดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงต่อไป
นพ.โอภาส ระบุยืนยันว่า ห้องแล็บโรงพยาบาลศูนย์ยะลาได้มาตรฐาน ส่วนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้เสมอในห้องแล็บ แต่หากตรวจเจอลักษณะที่ตัวเปรียบเทียบไม่แสดงผลเป็นบวก และตัวเปรียบเทียบไม่แสดงผลเป็นลบ จะต้องหยุดตรวจทั้งหมด เพราะผลที่เกิดขึ้นจะเชื่อถือไม่ได้ และห้องแล็บจะไม่รายงานผลเด็ดขาด จะต้องดำเนินการตรวจซ้ำเท่านั้น
ส่วนการตรวจซ้ำ 40 รายเป็นครั้งที่ 3 นั้น คาดว่าผลจะออกราววันที่ 6 พฤษภาคม 2563 แต่ไม่ได้ส่งผลใด ๆ ต่อการสอบสวนควบคุมโรคในพื้นที่ เพราะในทางปฏิบัติเมื่อมีการสงสัยว่าผลจะเป็นบวก การควบคุมโรคสามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งพื้นที่มีเรื่องการควบคุมโรคแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรุงเทพธุรกิจ
อ่านข่าว : ผลตรวจ COVID-19 ที่ยะลา 40 คน รอบสองออกแล้ว ที่แท้ผลเป็นลบ ชี้ ครั้งแรกเครื่อง Errorl
1. Positive Control ที่จะต้องให้ผลเป็นบวกเสมอ
2. Negative Control ที่จะต้องให้ผลเป็นลบเสมอ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นน้ำเปล่า ที่จะไม่ตรวจเจอเชื้อเลย
(อ่านเพิ่มเติมการผลิตชุดตรวจโควิด 19 rt pcr )
สำหรับกรณีห้องแล็บโรงพยาบาลศูนย์ยะลา นั้น เป็นการทำตามมาตรฐาน แต่กลับพบว่าตัวเปรียบเทียบที่เป็นลบ ซึ่งเป็นน้ำเปล่านั้น ตรวจเจอเชื้อ และแสดงผลเป็นบวก แสดงว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จึงหยุดตรวจและรายงานให้ทางจังหวัดทราบและตรวจสอบสาเหตุ
อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งอาจเกิดจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ เครื่องมือ หรือระบบ ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แล้ว จะต้องรผลอย่างละเอียดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงต่อไป
นพ.โอภาส ระบุยืนยันว่า ห้องแล็บโรงพยาบาลศูนย์ยะลาได้มาตรฐาน ส่วนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้เสมอในห้องแล็บ แต่หากตรวจเจอลักษณะที่ตัวเปรียบเทียบไม่แสดงผลเป็นบวก และตัวเปรียบเทียบไม่แสดงผลเป็นลบ จะต้องหยุดตรวจทั้งหมด เพราะผลที่เกิดขึ้นจะเชื่อถือไม่ได้ และห้องแล็บจะไม่รายงานผลเด็ดขาด จะต้องดำเนินการตรวจซ้ำเท่านั้น
ส่วนการตรวจซ้ำ 40 รายเป็นครั้งที่ 3 นั้น คาดว่าผลจะออกราววันที่ 6 พฤษภาคม 2563 แต่ไม่ได้ส่งผลใด ๆ ต่อการสอบสวนควบคุมโรคในพื้นที่ เพราะในทางปฏิบัติเมื่อมีการสงสัยว่าผลจะเป็นบวก การควบคุมโรคสามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งพื้นที่มีเรื่องการควบคุมโรคแล้ว
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรุงเทพธุรกิจ