หมอแล็บแพนด้า แจงปมสงสัย เหตุใดจำนวนผู้ป่วย โควิด 19 ในไทยจึงน้อยลง เป็นเพราะตรวจน้อยหรือไม่ พร้อมอธิบายวิธีตรวจ swab คืออะไร ทำอย่างไรบ้าง เตือนอย่าเพิ่งประมาท แม้สถานการณ์จะดีขึ้น

ภาพจาก เพจหมอแล็บแพนด้า
วันที่ 28 เมษายน 2563 ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์
และแอดมินเพจ หมอแล็บแพนด้า ได้โพสต์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถิติของผู้ป่วย COVID 19
ว่าเพราะเหตุใดจึงมีผู้ติดเชื้อน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ หรือเพราะในไทย
มีการตรวจหาโควิดน้อย
ทั้งนี้ ในปัจจุบันนี้ ไทยใช้วิธีการตรวจหา โควิด-19 ด้วย วิธีมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกในการตรวจโควิด 19 ก็คือการ swab (สะ-หวอบ) หรือทางการแพทย์เขาเรียกว่าวิธี RT-PCR โดยการ swab นั้นจะใช้วิธีการเก็บตัวอย่างจากไม้ที่สำลีอยู่ตรงปลาย มีลักษณะคล้ายไม้ปั่นหูที่มีขนาดยาว แหย่เข้าไปในโพรงจมูกจนสุด แล้วหมุนไม้ประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อกวาดเชื้อไวรัสให้ติดสำลีมา จากนั้นก็จะทำการแหย่ไม้อีกอันลงไปเก็บตัวอย่างที่ลำคอ ก่อนจะเอาไม้ที่เก็บตัวอย่างใส่ลงไปในหลอดที่มีสารละลายอยู่ข้างใน เพื่อนำไปตรวจหาดีเอ็นเอของ โควิด 19 ต่อไป
ทั้งนี้ ในปัจจุบันนี้ ไทยใช้วิธีการตรวจหา โควิด-19 ด้วย วิธีมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกในการตรวจโควิด 19 ก็คือการ swab (สะ-หวอบ) หรือทางการแพทย์เขาเรียกว่าวิธี RT-PCR โดยการ swab นั้นจะใช้วิธีการเก็บตัวอย่างจากไม้ที่สำลีอยู่ตรงปลาย มีลักษณะคล้ายไม้ปั่นหูที่มีขนาดยาว แหย่เข้าไปในโพรงจมูกจนสุด แล้วหมุนไม้ประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อกวาดเชื้อไวรัสให้ติดสำลีมา จากนั้นก็จะทำการแหย่ไม้อีกอันลงไปเก็บตัวอย่างที่ลำคอ ก่อนจะเอาไม้ที่เก็บตัวอย่างใส่ลงไปในหลอดที่มีสารละลายอยู่ข้างใน เพื่อนำไปตรวจหาดีเอ็นเอของ โควิด 19 ต่อไป

ภาพจาก เพจหมอแล็บแพนด้า
ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ DNA ของเชื้อไวรัสที่มันเกาะอยู่ในโพรงจมูก และลำคอ หากมีเชื้อโควิด 19 ติดมาเพียงนิดเดียว ก็สามารถตรวจหาดีเอ็นเอของโรคได้โดยใช้เวลาไม่นาน
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2563 ประเทศไทยได้มีการตรวจหาไวรัสโคโรนาไปแล้วกว่า 178,083 ตัวอย่าง และคาดว่าจะมีการตรวจได้มากขึ้นไปอีก เพราะตอนปัจจุบันมีห้องแล็บที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มากถูก 112 แห่งทั่วประเทศ เพราะฉะนั้น ตัวเลขติดเชื้อ 9 ราย เมื่อวาน จึงน่าดีใจและถือว่าน้อยมาก
ที่สำคัญขอให้ทุกคนอย่าเพิ่งประมาท และระลึกไว้เสมอว่า เจอ "ไวรัส" คงเป็น "ไข้" เจอคนที่ "ใช่" คงเป็น "เธอ"
อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจหมอแล็บแพนด้า