กรมศุลกากร แจงปมส่งออกหน้ากากอนามัย 330 ตัน นั้น เป็นตัวเลขก่อนประกาศควบคุมสินค้าส่งออก ด้าน อธิบดีกรมการค้าภายใน ของขึ้น จ่อแจ้งจับให้ข้อมูลผิดพลาด

ภาพจาก กรมศุลกากร
จากกรณีข่าว นายชัยยุทธ คำคุณ โฆษกกรมศุลกากร ระบุถึงภาพรวมการส่งออกหน้ากากอนามัยในเดือนมกราคม 2563 อยู่ที่ 150 ตัน และเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ 180 ตัน รวม 2 เดือน ส่งออกหน้ากากอนามัยกว่า 330 ตัน มูลค่า 160 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกตามใบอนุญาตของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ การส่งออกดังกล่าวเป็นการดำเนินการของผู้ประกอบการไม่กี่ราย ส่งออกไปหลายประเทศ ทั้งจีน ฮ่องกง อเมริกา
ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 11 มีนาคม 2563 กรมศุลกากร ได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า หน้ากากอนามัยที่ส่งออก 330 ตันนั้น เป็นตัวเลขจากพิกัดศุลกากร ซึ่งรวมสินค้าชนิดอื่นนอกจากหน้ากากอนามัยอีกหลายชนิด เช่น ชุดผ้าหุ้มเบาะ เชือกผูกรองเท้า ผ้ากันเปื้อน ผ้าคลุม สายคล้องคอทำด้วยผ้าทอ เป็นต้น
ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ช่วงเดือนมกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2563 ก่อนที่จะมีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง การควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหน้ากากอนามัย ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อควบคุมการส่งออกหน้ากากอนามัย เพื่อลดการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในประเทศ
กรมศุลกากรได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยนับตั้งแต่กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศควบคุมการส่งออกหน้ากากอนามัยตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 มีปริมาณการส่งออกน้อยมาก
ทั้งนี้ กรุงเทพธุรกิจ รายงานเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลความผิดพลาดของโฆษกกรมศุลกากร และการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ในวันที่ 12 มีนาคม 2563 นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน จะดำเนินการแจ้งความจับกุมผู้ที่ให้ข้อมูลและสื่อสารที่ผิดพลาด
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID 19 << ได้ที่นี่
อ่ารายละเอียดเพิ่มเติมจาก