โรค COVID-19 ที่เกิดจากโคโรนาไวรัสกำลังระบาดในหลาย ๆ ประเทศ แล้วอย่างนี้ในกรณีที่เราเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ จะต้องไปตรวจหาความเสี่ยงว่าร่างกายเรามีเชื้อด้วยไหม แม้เราจะไม่มีอาการไข้ก็ตาม
ภาพจาก 1000 Words / Shutterstock.com
สำหรับใครที่เพิ่งกลับจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 อย่างจีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิหร่าน และอิตาลี อาจจะกำลังว้าวุ่นใจว่าเรามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโคโรนาไวรัสกลับมาหรือเปล่า และแม้ว่าจะผ่านด่านคัดกรองมาได้อย่างไม่มีสัญญาณผิดปกติใด ๆ แต่ก็อย่างที่ข้อมูลบอกมาว่าเชื้อจะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวกว่า 14 วัน ดังนั้น ที่ร่างกายเราปกติอยู่นี่ก็อาจไม่ปลอดภัยอย่างที่เห็นหรือไม่ และถ้าอยากมั่นใจ เราควรไปตรวจอาการที่โรงพยาบาลเลยดีไหม มาไขข้อสงสัยประเด็นนี้กัน
ไปต่างประเทศกลับมา จำเป็นต้องไปตรวจโรค COVID-19 ไหม
ในกรณีที่เราเพิ่งกลับมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 แต่ผ่านด่านคัดกรองเบื้องต้นมาอย่างไร้รอยขีดข่วนใด ๆ และตอนนี้ก็ยังไม่มีอาการป่วยไข้ให้เห็น เคสนี้ยังไม่จำเป็นต้องไปตรวจหาเชื้อโคโรนาไวรัสที่โรงพยาบาล เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ตรวจไปก็เสียเงินฟรี-เจ็บตัวฟรี
อย่างที่บอกว่าระยะฟักตัวของโรคอยู่ที่ประมาณ 14 วัน ดังนั้น ในช่วงแรก ๆ ที่เราไปตรวจจะมีโอกาสพบเชื้อน้อยมาก ซึ่งการตรวจหาเชื้อนอกจากจะมีค่าใช้สูงหลักพันบาทขึ้นไปแล้ว ยังเจ็บตัวอีกต่างหาก จึงไม่แนะนำให้ไปตรวจหากยังไม่มีอาการป่วย เพราะถ้าตรวจรอบแรกไปแล้วไม่ติดเชื้อ แต่พอผ่านไปอีก 10 กว่าวันแล้วอาการไข้มา เริ่มไม่สบาย ก็ต้องกลับมาตรวจใหม่ซ้ำอีกครั้ง ทำให้ผลตรวจในครั้งแรกถือเป็นโมฆะเลย ดังนั้น รอจนกว่าจะมีอาการผิดปกติแล้วค่อยไปตรวจทีเดียวเลยดีกว่า
2. เปลืองอุปกรณ์ในการตรวจไปเปล่า ๆ
สิ่งที่น่าเสียดายอีกอย่างของการไปตรวจหาเชื้อโคโรนาทั้งที่ยังไม่แสดงอาการ คือ อุปกรณ์ เคมี น้ำยา ที่สถานพยาบาลต้องใช้ในการตรวจหาเชื้อโรค ก็จะสูญเสียไปอย่างไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร ดังนั้น อย่าเพิ่งใจร้อนกันเลย
3. ผลตรวจเป็นลบ ยิ่งอาจเพิ่งความเสี่ยงให้คนอื่น
ถ้าผลตรวจตอนที่ยังไม่มีอาการออกมาว่าเราไม่เสี่ยง ไม่เป็น COVID-19 แล้วเรายังใช้ชีวิตตามปกติ ไปไหนมาไหนแบบไม่ระวังตัวเอง ไม่รับผิดชอบต่อสังคม เราอาจกลายเป็นผู้แพร่เชื้อรายใหญ่ (Super spreader) ของเมืองไทย เพราะผลตรวจครั้งแรกที่เชื้อยังไม่ฟักตัวนั้นเป็นผลลวงก็ได้
4. เสี่ยงรับเชื้อจากในโรงพยาบาล
การไปโรงพยาบาลโดยไม่มีความจำเป็น จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการได้รับเชื้อจากโรงพยาบาล หรือเราอาจนำเชื้อต่าง ๆ ไปติดผู้ป่วยในโรงพยาบาลซึ่งมีร่างกายไม่แข็งแรงได้
จากเหตุผลข้างต้นก็ทำให้เห็นว่า แม้เราจะเพิ่งกลับจากประเทศเสี่ยงมา แต่ตราบใดที่เราไม่มีอาการป่วย ไม่เป็นไข้ ก็ยังไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ เพราะตรวจหาเชื้อไปก็ไม่ได้ช่วยให้เราป้องกันโรค COVID-19 ได้ แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่นก็คือ การดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำแนวทางปฏิบัติตัวของผู้ที่เพิ่งกลับจากต่างประเทศไว้ ดังนี้
แนวทางปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ (พื้นที่เสี่ยง COVID-19)
- เฝ้าระวังอาการอย่างน้อย 14 วัน โดยหยุดเรียน หยุดไปทำงาน
- พยายามอยู่แต่ในที่พัก ไม่ควรออกจากบ้าน เพราะเชื้อสามารถแพร่ได้แม้ไม่มีอาการ
- งดไปในที่ชุมชน หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก
- งดใช้ขนส่งสาธารณะ
- ใส่หน้ากากอนามัยแม้อยู่ในที่พัก และวัดไข้ทุกวัน
- อยู่ห่างจากคนอื่น ๆ ในบ้านอย่างน้อย 2 เมตร และพยายามอย่าใกล้ชิดผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ
- แยกห้องนอนจากคนอื่น แม้แต่การใช้ห้องน้ำก็ควรแยกห้อง แต่ถ้าไม่สามารถแยกห้องน้ำได้ ควรเข้าห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายและทำความสะอาดทุกซอกทุกมุมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ปิดฝาชักโครกทุกครั้งที่กดล้าง
- ปิดฝาชักโครกทุกครั้งที่กดล้าง
- รับประทานอาหารแยกจากคนอื่น
- ล้างจานด้วยน้ำยาล้างจานก่อนใช้เสมอ
- ล้างจานด้วยน้ำยาล้างจานก่อนใช้เสมอ
- ทิชชู หรือหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ให้พับ ม้วน ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิท ทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิด จากนั้นล้างมือทันที เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่สู่คนอื่น
- งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- เปิดหน้าต่างในบ้าน เพื่อให้อากาศถ่ายเท
- ทำความสะอาดบริเวณที่พัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบ ๆ ตัว รวมถึงห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 99 ส่วน)
- ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 องศาเซลเซียส โดยต้องซักแยกจากเสื้อผ้าของคนอื่นด้วย
- หากมีอาการไข้หลายวัน หรือมีอาการไอ จาม หายใจลำบากร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ หรือโทร. สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศให้เจ้าหน้าที่ทราบ
- กรณีไม่สบายแล้วเดินทางมาพบแพทย์โดยรถยนต์ส่วนตัว ให้เปิดหน้าต่างรถยนต์ไว้ตลอด หากขึ้นแท็กซี่ ต้องแจ้งให้คนขับแท็กซี่ทราบด้วย ไม่ควรเดินทางด้วยรถเมล์ รถไฟฟ้า ขนส่งสาธารณะ
เช็กอาการ COVID-19 สังเกตจากอะไรได้บ้าง
ถ้ามีอาการป่วยจะไปตรวจหาโรค COVID-19 ได้ที่ไหน ?
หากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงมาแล้วสักพัก ระหว่างกักตัวเองอยู่บ้านเกิดมีอาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียส ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย จึงอยากตรวจหาเชื้อโคโรนาไวรัส สามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาลต่อไปนี้
1. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000-6,000 บาท (หากไม่มีอาการ ไม่รับตรวจ)
2. โรงพยาบาลราชวิถี ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000-6,000 บาท
3. โรงพยาบาลเปาโล ทุกสาขา ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 (รวมค่าบริการแล้ว) ทราบผลวันรุ่งขึ้น
4. โรงพยาบาลรามาธิบดี ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาท รับตรวจวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. ทราบผลหลังจากตรวจ 6 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น
5. โรงพยาบาลพญาไท 1 ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,300 บาท (ยังไม่รวมค่าบริการอื่น ๆ)
6. โรงพยาบาลพญาไท 2 ค่าใช้จ่ายประมาณ 6,500 บาท
7. โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ค่าใช้จ่ายประมาณ 8,000 บาท (รวมค่าบริการแล้ว) รู้ผลไม่เกิน 2 วัน
8. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 9,900 บาท
9. โรงพยาบาลนวมินทร์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,300 บาท (ยังไม่รวมค่าบริการอื่น ๆ)
2. โรงพยาบาลราชวิถี ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000-6,000 บาท
3. โรงพยาบาลเปาโล ทุกสาขา ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 (รวมค่าบริการแล้ว) ทราบผลวันรุ่งขึ้น
4. โรงพยาบาลรามาธิบดี ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาท รับตรวจวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. ทราบผลหลังจากตรวจ 6 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น
5. โรงพยาบาลพญาไท 1 ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,300 บาท (ยังไม่รวมค่าบริการอื่น ๆ)
6. โรงพยาบาลพญาไท 2 ค่าใช้จ่ายประมาณ 6,500 บาท
7. โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ค่าใช้จ่ายประมาณ 8,000 บาท (รวมค่าบริการแล้ว) รู้ผลไม่เกิน 2 วัน
8. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 9,900 บาท
9. โรงพยาบาลนวมินทร์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,300 บาท (ยังไม่รวมค่าบริการอื่น ๆ)
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 2 มีนาคม 2563
กรมควบคุมโรค, กรมควบคุมโรค, เฟซบุ๊ก กรมควบคุมโรค, สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, เฟซบุ๊ก เข็นเด็กขึ้นภูเขา, เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha, เฟซบุ๊ก Infectious ง่ายนิดเดียว, เฟซบุ๊ก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข